Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

บอร์ด สปสช. อนุมัติให้ยาลูโปรเรลิน และยาทริปโทเรลิน ซึ่งเป็นยากดฮอร์โมน บรรจุสิทธิประโยชน์บัตรทอง เพิ่มคุณภาพการรักษาผู้ป่วยเด็กที่โตเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วกว่าปกติด โดยจะให้เริ่มใช้ยาได้ปี 2562 

วันที่ 6 พ.ย.2561 ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบการเพิ่มสิทธิประโยชน์ยา จ.(2) จำนวน 2 รายการ คือ ยาลูโปรเรลิน (Leuprorelin) 11.25 mg inj. และยาทริปโทเรลิน (Triptorelin) 11.25 mg inj. เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 เป็นต้นไป เพื่อใช้ในการรักษาภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยอันควร (Central precocious puberty; CPP)

ทั้งนี้ ยาลูโปรเรลิน และยาทริปโทเรลิน เป็นยารักษาภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัยในรายที่พัฒนาการของโรคเร็ว หากไม่รักษาจะเติบโตเร็ว ทำให้มีผลต่อร่างกาย คือ โตเร็วและหยุดเติบโตก่อนวัย ทำให้ความสูงสุดท้ายน้อยกว่าที่ควรจะเป็นประมาณ 5 -10 เซนติเมตร ส่วนผลต่อจิตใจ คือ เด็กมีร่างกายเป็นสาวแต่จิตใจเป็นเด็ก จึงอาจมีโอกาสถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกข่มขืนกระทำชำเราหรือตั้งครรภ์ตั้งแต่วัยเด็ก

ปัจจุบันบัญชียาหลักแห่งชาติมียารักษา คือ ยาลูโปรเรลิน 3.75 mg ที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติได้พิจารณารายการยาเพื่อใช้รักษาเพิ่มเติม คือ ยาลูโปรเรลิน 11.25 mg inj. และยาทริปโทเรลิน 11.25 mg inj. ยาทั้ง 2 รายการ มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างกัน เป็นยาฉีดให้กับผู้ป่วยทุก 3 เดือน/เข็ม และผลจากการต่อรองราคา ได้ราคาต่ำสุดที่ 7,383 บาท/เข็ม เมื่อเปรียบเทียบกับยาลูโปรเรลิน 3.75 mg ราคาอยู่ที่ 4,889 บาท/เข็ม แต่ผู้ป่วยต้องได้รับการฉีดทุกเดือน รวม 3 เดือน เป็นราคาเกือบ 15,000 บาท เป็นค่ารักษาที่สูงกว่าเมื่อเปรียเทียบกับยาใหม่ โดยยา 2 รายการตามสิทธิประโยชน์ใหม่นี้ จะใช้กับผู้ป่วยกรณีที่เป็นเด็กหญิงอายุไม่เกิน 11 ปี และเด็กชายไม่เกิน 12 ปี และให้หยุดยาเมื่อกระดูกอายุเด็กหญิงอายุน้อยกว่า 13 ปี และเด็กชายอายุกระดูกน้อยกว่า 14 ปี

รายงานจากสถานการณ์ผู้ป่วยภาวะหนุ่มสาวก่อนวันอันควร พบว่ามีผู้ป่วยประมาณ 435 ราย เป็นผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 400 ราย และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ 35 ราย โดยมูลค่าการใช้ยาในสิทธิบัตรทอง กรณียาลูโปรเรลินและยาทริปโทเรลิน เมื่อคิดเป็นมูลค่าจะอยู่ที่ 29,532 บาท/คน/ปี หรือเป็นมูลค่ารวม 11,812,800 บาท ขณะที่ยาเดิมโดยมูลค่าการใช้ยาอยู่ที่ 58,668 บาท/คน/ปี หรือ 23,467,200 บาท ที่เป็นมูลค่าที่สูงกว่ามาก

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า