SHARE

คัดลอกแล้ว

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตถึงเอกสารจาก กกต.ที่รับรอง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ว่ามีการทำข้ามขั้นตอนการคำนวณสูตรปาร์ตี้ลิสต์ไป 1 ขั้นตอน คือการไม่แสดงผลลัพธ์ตารางการคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อตามมาตรา 128(5) พรป.สส.ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้นำมาสู่ผลการคำนวนรายชื่อ สส.ที่แตกต่างออกไปจากเดิม ซึ่งชี้ให้เห็นว่า กกต.ไม่ทำตามหลักกฎหมาย และทำให้พรรคการเมืองหลายพรรค ตลอดจนคะแนนเสียงของประชาชนได้รับความเสียหาย

https://youtube.com/watch?v=bDr8M2lH1XA

สมชัยกล่าวว่าไม่ทราบว่าที่กกต.ไม่แสดงผลลัพธ์สำคัญในเอกสารนี้ “เป็นเพราะความไม่รู้ ความสะเพร่า หรือความไม่รอบคอบ ไม่ตั้งใจ หรือเป็นความตั้งใจที่จะทำตารางนี้ตกหล่นไป”

ตารางการคำนวณในขั้นตอนหนึ่งหายไป

“ดูก็จะเห็นนะครับว่าการเขียนของเขา เขาจะมีการยกมาตราของกฎหมาย แล้วก็เอาผลประมวณ คือตารางของการคำนวณมาให้เห็น” นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กล่าวถึงหลักเกณ์และวิธีการคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อขนาดความยาว 14 หน้า ซึ่งแนบมาในข่าวสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 61/2562 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2562 พร้อมกับประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ความยาว 5 หน้า

หน้า 8 ของเอกสารหลักเกณ์และวิธีการคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งแนบมาในข่าวสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 61/2562

“แต่สิ่งซึ่งเป็นข้อบกพร่องก็คือว่า ในหน้า 8 หลังจากข้อ ข. เอาหลักกฎหมายมาใช้ แต่ว่าไม่มีการนำเสนอตารางซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่ขาดหายไป” นายสมชัยกล่าว โดยชี้ว่าตารางหน้า 8 นี้จะต้องมาจากหลักเกณฑ์ที่บอกว่า “ต้องไม่มีผลทำให้พรรคการเมืองใด มีส.ส. เกินกว่าจำนวนที่พึงจะมีได้” ตามที่ปรากฎในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 91(4) และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128(4)

อดีตกกต.ระบุในเอกสารประกอบการแถลงครั้งนี้ว่า “การขาดตารางสำคัญ ในหน้า 8 (ข) ทำให้ทุกตารางที่เกิดขึ้นต่อจากหน้านี้ เป็นตารางที่ไม่อาจนำมาใช้คำนวณได้” และเป็นการ “ผิดปกติวิสัย” เนื่องจากรูปแบบในการเขียนตลอด 7 หน้าที่ผ่านมาล้วนมีตารางตามหลังข้อกฎหมายเสมอ

ในโอกาสนี้ นายสมชัยจึงได้ลองทำตารางหน้า 8 ขึ้นมาด้วยตนเองโดยอิงกับตัวกฎหมายที่บัญญัติไว้ ผลปรากฎว่าพรรคการเมืองที่ผ่านหลักเกณฑ์ข้างต้นมีเพียง 16 พรรค ซึ่งเป็นพรรคที่มีคะแนนส.ส.ที่พึงมีเบื้องต้นตั้งแต่ 1 ขึ้นไป “ต่ำกว่า 1 ก็ถือว่าไม่มีสิทธิ”

“ตารางหน้า 8” โดยสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในเอกสารประกอบการแถลง

“ผลของการคำนวณในหน้าถัด ๆ ไปนั้น ก็ต้องยึดถือ 16 พรรคนี้เป็นตัวตั้ง ก็จะได้ตัวเลขของการคำนวณออกมาว่าในแต่ละพรรคนั้นจะได้ส.ส.เบื้องต้นเท่าไหร่” เขาอธิบายว่าต้องยึดข้อมูลในตารางหน้า 8 นี้โดยใช้ทศนิยม 4 หลัก แล้วใช้บัญญัติไตรยางค์คำนวณออกมาว่าด้วยจำนวนเท่านี้จะมีส.ส.พึงมีของแต่ละพรรคเท่าไหร่ รวมแล้วจึงจะได้ที่นั่งปาร์ตี้ลิสต์ทั้งหมด 149 ที่นั่ง หลังจากนั้นจึงเรียงเศษที่เหลือจากการหาร จะพบว่ามีที่นั่งเหลืออีก 8 พรรคแล้วจึงกระจายไปตามพรรคต่าง ๆ

เมื่อคิดตามสูตรนี้แล้ว จะทำให้พรรคพลังประชารัฐนั้นมีอยู่ 20 พรรคอนาคตใหม่มี 54 คน พรรคประชาธิปัตย์ 21 คน และรวมทั้งหมดเป็น 149 คน เนื่องจากยังต้องรอการเลือกตั้งซ่อมที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงจะคิดตำแหน่งส.ส.บัญชีรายชื่ออีก 1 ที่นั่งได้

หากคำนวณตาม “สูตรสมชัย” จะเกิดปรากฎการณ์ที่นั่งในสภา “เท่ากัน”

นายสมชัยกล่าวว่าหากคิดตามสูตรที่เขาได้กล่าวมาในข้างต้น จะทำให้การเมืองไทยมีความน่าสนใจมาก เนื่องจากการรวมตัวกันของแต่ละ “ค่าย” จะอยู่ในลักษณะ “ปริ่มน้ำ” มาก

“สมมติถ้าคุณไปลองรวมเล่นนะ ที่คุณบอกว่ามีฝั่งเพื่อไทยที่ประกอบด้วย 7 พรรคนะ การคำนวณแบบนี้จะมีตัวเลขของฝั่งเพื่อไทย 249 คน และรอผลการเลือกตั้งที่เชียงใหม่อีก 1 ที่ ถ้าเลือกตั้งเชียงใหม่ออกมา ฝั่งเพื่อไทยชนะ 250 ต่อ 250 พอดีเป๊ะเลย”

ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับการเลือกตั้งซ่อม ที่กำลังจะมีขึ้นในเขต 8 จ.เชียงใหม่ วันที่ 26 พฤษภาคม 2562 เพราะการชนะในเขตนี้จะทำให้ทราบว่าผลการจัดสรรส.ส.บัญชีรายชื่ออีก 1 ที่ที่เหลือให้กับใคร

“ผมลองสมมติตัวเลขแล้ว และผมรู้แล้วใครได้” สมชัยไม่ได้กล่าวชื่อพรรค แต่ทิ้งทวนไว้ว่า ตัวเลขคะแนนเสียงที่ได้ในการชนะครั้งนี้ก็ส่งผลเช่นเดียวกัน “ขึ้นอยู่กับตัวเลขว่าชนะเท่าไหร่ด้วย ถ้าชนะเท่าไหร่ขึ้นไป ฝ่ายไหนจะได้ หรือถ้าชนะเท่านี้อีกฝ่ายหนึ่งจะได้ เพราะฉะนั้นจะเป็น 250 ต่อ 250 หรือ 251 ต่อ 249 ไม่รู้ นี่คือตัวเลขที่อาจจะเกิดขึ้น”

ผลการเลือกตั้งที่กล่าวมาจะไม่เกิดขึ้น หากพรรคการเมืองที่เสียประโยชน์ไม่ฟ้อง

นายสมชัยชี้ว่า หากคำนวณตามวิธีข้างต้น ผลสุดท้ายจะมีพรรคใหญ่และพรรคกลางที่มีจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อแตกต่างไปจากที่กกต.ได้ประกาศ ทั้งหมด 8 พรรค โดยพรรคอนาคตใหม่ควรจะได้จำนวนส.ส.เพิ่มอีก 4 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐและประชาธิปัตย์ 2 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทย ชาติพัฒนา เสรีรวมไทย และรวมพลังประชาชาติไทย พรรคละ 1 ที่นั่ง ส่วนพรรคที่จำนวนส.ส.จะลดลง 1 ที่นั่ง ได้แก่พรรคประชาชาติ เนื่องจากจำนวนส.ส.พึงมีอยู่ที่ 6.7 และได้ที่นั่งไปแล้ว 6 ที่ นอกจากนี้ พรรคเล็กต่าง ๆ ที่ได้ประโยชน์จากการคำนวนส.ส.ของกกต.อีก 14 พรรคก็จะหมดสิทธิไป

ตารางเปรียบเทียบผลการคำนวณของกกต.และผลการคำนวณใน “สูตรสมชัย” ในเอกสารการแถลงข่าวพรรคประชาธิปัตย์

“ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับทางพรรคการเมืองที่เสียประโยชน์ ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนญให้มีการวินิจฉัยว่าการคำนวนของกกต.นั้นเป็นการคำนวนที่ผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่และขึ้นอยู่กับศาลรัฐธรรมนูญว่าจะชี้อย่งไร ถ้าชี้ว่ากกต.ถูกแล้วก็จบ แต่ถ้าชี้ว่ากกต.ผิดก็ต้องแก้กฎไปตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีวินิจฉัยออกมา” สมชัยกล่าวกับเวิร์คพอยท์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า