SHARE

คัดลอกแล้ว

สรรพสามิต ชี้แจงกรณีพ่อค้าขายน้ำข้าวหมาก จังหวัดบุรีรัมย์ ร้องเรียนต่ออธิบดีกรมสรรพสามิต หลังถูกจับกุมขณะขายสินค้าอยู่ในงาน O-TOP ระบุ การนำแป้งข้าวหมักมาทำเป็นข้าวหมากเพื่อบริโภคไม่มีความผิดตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต ส่วนน้ำข้าวหมาก ที่นำมาร้องเรียน เป็นของเหลวเช่นเดียวกับน้ำสุรา ทั้งหมดมีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 0.5 ดีกรี จึงมีคุณสมบัติเป็นสุราตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 

วันนี้ (28ส.ค.61) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีนายลภณ จันน้อย พ่อค้าขายน้ำข้าวหมาก จังหวัดบุรีรัมย์ และนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมได้นำน้ำข้าวหมากบรรจุขวดมาร้องขอความเป็นธรรมที่กรมสรรพสามิต หลังถูกเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตจับดำเนินคดีข้อหาจำหน่ายสุราแช่โดยไม่ได้รับอนุญาต ที่มีการวางจำหน่ายในงานแสดงสินค้าโอทอป อีกทั้งได้หยิบยกคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับแป้งข้าวหมาก นั้น

กรมสรรพสามิตขอชี้แจง ดังนี้

1.ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 กรมสรรพสามิตได้ยกเลิกการควบคุม “แป้งข้าวหมัก” (ข้าวหมาก) ว่าเป็นเชื้อสุรา หลังศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยว่าการกำหนดให้แป้งข้าวหมักกล่าวเป็นเชื้อสุราขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ สำหรับพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ที่เป็นกฎหมายใช้บริหารจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในปัจจุบันมีการควบคุมเฉพาะสินค้าสุรา โดยไม่ได้ควบคุมเชื้อสุราและมิได้มีการควบคุมแป้งข้าวหมักแต่อย่างใด ดังนั้น การนำแป้งข้าวหมักมาทำเป็นข้าวหมากเพื่อใช้ในการบริโภคกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันจึงไม่มีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต เนื่องจากข้าวหมากไม่ถือเป็นสุราและไม่อยู่ในการควบคุมของกรมสรรพสามิต

2.กรณีน้ำข้าวหมากที่นำมาร้องขอความเป็นธรรมนั้น มีลักษณะเป็นของเหลวเช่นเดียวกับน้ำสุรา จากตัวอย่างน้ำข้าวหมากที่นายลภณฯ นำมาแจกจ่ายที่กรมสรรพสามิตได้นำส่งตรวจวิเคราะห์ที่กลุ่มวิเคราะห์สินค้าและของกลาง กรมสรรพสามิต ทันที ซึ่งผลการวิเคราะห์ตัวอย่างทั้ง 3 ประเภท ปรากฏว่า (1) น้ำข้าวหมากสีม่วง มีแรงแอลกอฮอล์ 4.230 ดีกรี (2) น้ำข้าวหมากสีขาว มีแรงแอลกอฮอล์ 3.815 ดีกรี และ (3) น้ำข้าวหมากสีแดง มีแรงแอลกอฮอล์ 4.844 ดีกรี

ดังนั้น น้ำข้าวหมากตัวอย่างทั้งหมดมีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 0.5 ดีกรี จึงมีคุณสมบัติเป็นสุราตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ซึ่งตามกฎหมายภาษีสรรพสามิตนั้นไม่ได้มีข้อห้ามในการผลิตสุรา เพียงแต่กำหนดว่าจะต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อควบคุมการผลิตสุราให้มีคุณภาพมาตรฐานโดยไม่ให้มีผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่ประสงค์ผลิตสุราสามารถยื่นคำขอการผลิตสุราได้ที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาในท้องที่ที่จะทำการผลิตสุรา และหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการขออนุญาต สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่และสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาในวันและเวลาราชการ

3.สำหรับประเด็นการร้องเรียนต่อเจ้าหน้าที่ที่จับกุมว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้น กรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างดำเนินการแต่งตั้งกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติม>>>

พ่อค้าน้ำข้าวหมาก ร้องกรมสรรพสามิต หลังถูกจับกุมในงาน O-TOP ยันไม่ใช่เหล้า

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า