Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศาล รธน.วินิจฉัย ‘รุ้ง-ไมค์-อานนท์’ เข้าข่ายล้มล้างการปกครอง ตาม รธน.ม.49 สั่งหยุดการกระทำ

วันที่ 10 พ.ย. 2564 ศาล รธน.อ่านคำวินิจฉัยกรณีที่ นายณฐพร โตประยูร ร้องให้ศาล รธน.วินิจฉัยตาม รธน.ม.49 ว่า การกระทำของนายอานนท์ นำภา นายภาณุพงศ์ จาดนอก (ไมค์) น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง) นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ (เพนกวิ้น) น.สจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ (อั๋ว) น.ส.สิริพัชระ จึงธีรพานิช นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และ น.ส.อาทิตยา พรพรม รวม 8 ราย ในการชุมนุมปราศรัยเพื่อเสนอข้อเรียกร้อง เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่

โดยศาล รธน.รับคำร้องเฉพาะการกระทำในการชุมนุมปราศัยของ นายอานนท์ ผู้ถูกร้องที่ 1 นายภาณุพงศ์ ผู้ถูกร้องที่ 2 และ น.ส.ปนัสยา ผู้ถูกร้องที่ 3 ไว้พิจารณา และทั้ง 3 คน เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2563 ไว้พิจารณาและให้ทั้ง 3 คน ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ศาลไต่สวนโดยมีหนังสือเรียกเอกสารหลักฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

workpointTODAY สรุปคำวินิจฉัยมาให้

1.ประเด็นที่ศาล รธน.วินิจฉัย คือ การกระทำทั้ง 3 คน ใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตาม รธน. ม.49 วรรคหนึ่ง หรือไม่ โดยข้อเท็จจริงตามคำร้อง พยานหลักฐาน และบันทึกเสียงการปราศรัยของทั้ง 3 คน ในที่สาธารณะหลายครั้งหลายสถานที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค. 63 เรียกร้องให้ดำเนินการแก้ไขเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เมื่อวันที่ 10 ส.ค.2563 ทั้ง 3 คน อภิปรายเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงสถาบันพระมาหากษัตริย์ ด้วยข้อเรียกร้องรวม 10 ประการ

“พิจารณาแล้วเห็นว่า พระมหากษัตริย์กับชาติไทยดำรงอยู่คู่กันเป็นเนื้อเดียวกันนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน และจะต้องดำรงอยู่ด้วยกันต่อไปในอนาคตที่ธำรงความเป็นชาติไทยไว้ ปวงชนชาวไทยจึงถวายความเคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้”

2.การกระทำของทั้ง 3 คน เป็นการเซาะกร่อน บ่อนทำลายการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การออกมาเรียกร้องโจมตี ในที่สาธารณะโดยอ้างการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ นอกจากเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง ใช้ถ้อยคำหยาบคาย และยังไปละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชาชนอื่นที่เห็นต่างด้วย

3.ทั้ง 3 คน มีการดำเนินงานอย่างเป็นขบวนการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย หลังจากที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ยังปรากฎว่าทั้ง 3 คน ยังคงร่วมชุมนุมกับกลุ่มบุคคล กลุ่มต่าง ๆ โดยใช้ยุทธวิธีเปลี่ยนแปลงรูปแบบการชุมนุม วิธีการชุมนุม เปลี่ยนตัวบุคคลผู้ปราศรัย ใช้กลยุทธ์เป็นแบบไม่มีแกนนำที่ชัดเจน แต่มีรูปแบบ การกระทำอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มคนที่มีแนวคิดเดียวกัน

“มีพฤติการณ์กระทำซ้ำและกระทำต่อไปอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นขบวนการ มีลักษณะของการปลุกระดมและใช้ข้อมูลที่เป็นเท็จ แต่มีลักษณะของการที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายและใช้ความรุนแรงในสังคม ทำให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติอันเป็นการทำลายหลักความเสมอภาคและภราดรภาพ นำไปสู่การล้มล้างระบอบประชาธิปไตยในที่สุด ทั้งเป็นการกระทำที่มีเจตนาเพื่อทำลายหรือทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องสิ้นสลาย ไม่ว่าจะโดยการพูดการเขียน หรือการกระทำต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลเป็นการบ่อนทำลาย ด้อยคุณค่า หรือทำให้อ่อนแอลง
ย่อมแสดงให้เห็นถึงการมีเจตนาเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์อีกด้วย”

4.แม้เหตุการณ์ตามคำร้องผ่านพ้นไปแล้ว แต่หากยังคงให้ทั้ง 3 คน รวมทั้งกลุ่มในลักษณะองค์กรเครือข่ายกระทำการดังกล่าวต่อไป ย่อมไม่ไกลเกินเหตุที่จะนำไปสู่ การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคสอง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตได้

5.ศาล รธน.เสียงข้างมาก วินิจฉัยว่า การกระทำทั้ง 3 คน เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตาม รธน. ม.49 วรรคหนึ่ง และมีมติเอกฉันท์สั่งการให้ทั้ง 3 คน รวมทั้งกลุ่มองค์กรเครือข่ายเลิกกระทำการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย ตาม รธน.ม.49 วรรคสอง

ทั้งนี้ก่อนการอ่านคำวินิจฉัย ทนายผู้ได้รับมอบอำนาจจาก นายอานนท์ และนายภาณพงศ์ รวมถึง น.ส.ปนัสยา ได้ขอศาลออกนอกห้องพิจารณาคดี เนื่องจากเห็นว่าไม่มีการไต่สวนด้วยวาจาเพิ่มเติม โดยศาลได้บันทึกเหตุผลไว้และอนุญาตพร้อมชี้แจงว่าศาลมีกระบวนการพิจารณาแบบไต่สวน และให้มีการชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้นการแสวงหาข้อเท็จจริงเพียงพอแล้ว ถือว่ากระบวนพิจารณาถูกต้อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า