SHARE

คัดลอกแล้ว
วันที่ 26 ต.ค. 61 พรรคประชาธิปัตย์จัดดีเบตผู้สมัครชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่ เพื่อประกอบการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของสมาชิกพรรค หัวข้อ “ดีเบตประชาธิปัตย์ 61 คนไทยจะได้อะไร” โดยมีผู้สมัครชิงตำแหน่ง 3 คนร่วมดีเบต คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม และนายอลงกรณ์ พลบุตร 
ในการดีเบตมีการถาม 9 คำถามใหญ่ และมีคำถามย่อยต่อเนื่อง ทีมข่าวเวิร์คพอยท์สรุป บางคำถามคำตอบที่น่าสนใจทั้งนี้ ถึงจะเปิดให้รับฟังในวงกว้าง แต่ผู้ที่จะลงคะแนนหยั่งเสียงเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ จะต้องเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น โดยลงคะแนนทางแอพพลิเคชั่น ระหว่างวันที่ 1-3 พ.ย. และการลงคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งของพรรควันที่ 1 พ.ย. (กทม. ภาคเหนือ และภาคกลาง) และวันที่ 5 พ.ย. (ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ผลการลงคะแนนแม้จะไม่มีผลผูกมัด แต่จะเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการเลือกหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ในการประชุมใหญ่ของพรรค 11 พ.ย.

อภิสิทธิ์ – การเมืองยุคนี้เป็นการเมืองยุค 3 ก๊ก คนไทยควรมีสิทธิ์เลือกมากกว่าเผด็จการหรือคนขี้โกง ประชาธิปัตย์ต้องเป็นเส้นทางหลักของประชาธิปไตยและประเทศชาติ จุดยืนคือเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรควรมีสิทธิ์จัดตั้งรัฐบาล สมาชิกวุฒิสภาแม้เลือกนายกรัฐมนตรีได้ก็ไม่ควรฝืนเจตนารมณ์ของประชาชน และจุดยืนอีกเรื่องคือ ถ้าไม่สามารถนำนโยบายพรรคไปทำได้จะไม่ไปร่วมรัฐบาลด้วย

นพ.วรงค์ – คำถามที่ถามเป็นกระแสของสื่ที่เป็นเกมการเมือง ถ้าผมเป็นผู้นำพรรคต้องกำหนดเกมเล่น ผมจะไม่เล่นในเกมที่เขากำหนดเลือกซ้ายหรือขวา ถ้าผมชนะเลือกตั้ง ผมจะเป็นคนเลือกคนมาทำงานกับผม โดยไม่กำหนดว่าเป็นพรรคใด แต่มีข้อกำหนด 4 ข้อ ต่อต้านการทุจริต / ทุกพรรคต้องเคารพกฎหมาย / ไม่ส่งเสริมการใช้อำนาจในทางไม่ชอบ / จงรักภักดี

อลงกรณ์ – จุดยืนทางการเมืองต้องชัดเจน ถ้าประชาธิปัตย์ชนะเราจัดตั้งรัฐบาลเอง แต่ถ้าเราเป็นพรรคอันดับ 2 มีจุดยืนคือ ต้องให้พรรคอันดับ 1 จัดตั้งรัฐบาลก่อนเพื่อสร้างมาตรฐานที่ถูกต้อง ถ้าจัดตั้งไม่ได้ประชาธิปัตย์จึงจะจัดตั้ง นอกจากนี้ ผมไม่เอานายกฯ คนนอก เพราะจะเป็นชนวนก่อวิกฤติของชาติ

ในรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ มีอะไรที่ต้องเปลี่ยนไหม

อภิสิทธิ์ – เห็นด้วย 100% ว่าต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะมีความไม่เป็นประชาธิปไตย ทั้งหมวดสิทธิเสรีภาพ ให้อำนาจ ส.ว. ที่ไม่ได้มาจากประชาชน เรื่องบทบัญญัติที่เป็นอุปสรรคการแก้ไขปัญหาทุจริต แต่การแก้ไขจะต้องไม่เอามาเล่นเป็นการเมืองให้ ประชาชนขัดแย้ง โดยต้องหาฉันทามติร่วมกันว่าควรแก้ไข ไม่เอามาเป็นประเด็นความขัดแย้งการเมืองให้เกิดความวุ่นวาย

นพ.วรงค์ – รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ต่างจากคนมีแฟน ตอนตัดสินใจอาจจะมีเหตุผลอย่างหนึ่ง การที่ประชาชน 16 ล้านคน มีมติเห็นชอบ แต่ไม่ได้แปลว่าชอบทั้งหมด เหมือนเราชอบคน ๆ หนึ่งก็ไม่ได้ชอบทั้งหมด ผมมองว่าบางสิ่งบางอย่างก็ไม่ดี บางสิ่งก็ดี 
ดังนั้น ถ้าเป็นรัฐบาล อะไรเป็นอุปสรรคดูแลประชาชนต้องแก้ หรือ ประชาชนอยากให้แก้ตรงไหนต้องรับฟัง

อลงกรณ์ – อะไรที่ขัดหลักประชาธิปไตยและขัดหลักสิทธิเสรีภาพของประชาชนต้องแก้ไข ภายใต้แนวทางการเมืองสีขาวเราจะสร้างการเมืองใหม่ที่ไม่เหมือนในอดีต

อภิสิทธิ์ – ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นการทำสิ่งไม่สอดคล้องกับยุคสมัย เป้าหมายไม่ผิด แต่ประเด็นรายละเอียดเป็นอุปสรรค ดังนั้น นโยบายที่จำเป็นต้องแก้ปัญหาประชาชน ติดขัดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ถ้าผมเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องปรับแก้ยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นเรื่องทักษะการบริหาร แต่ต้องสื่อสารให้เกิดความเข้าใจว่าแก้เพื่ออะไร ไม่ใช่ดึงอำนาจกลับมาสู่พรรคการเมือง

นพ.วรงค์ – ตามความเห็น ไม่มีมองว่าเป็นปัญหาอุปสรรค เป็นหลักการที่ดี แต่ถ้ายุทธศาสตร์ใดเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศ ที่จะสร้างความอยู่ดีกินดีต้องแก้ไข แต่ตอนนี้ยังมองไม่เห็นปัญห

อลงกรณ์ – ยุทธศาสตร์ชาติไม่ใช่ของ คสช. แต่เกิดขึ้นโดยสภาปฏิรูปฯ ที่ผ่านมาประเทศไทย ไม่มีความต่อเนื่องของนโยบาย ยุทธศาสตร์จึงมีความจำเป็นในการสร้างความเข้มแข็งของประเทศตั้งแต่วันนี้ แต่จะปรับปรุงในเรื่องกลไกที่อาจทำให้เกิดความไม่คล่องตัว แต่เป้าหมายและทิศทางที่วางไว้คือสิ่งที่เราเดินไปได้

อภิสิทธิ์ – ต้องทำนโยบายตอบโจทย์ปัญหาประชาชน ที่ผ่านมาก็ได้ทำแล้ว เช่น นโยบายประกันรายได้ เรียนฟรี อสม. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และจะต่อยอดนโยบายเหล่านี้ รวมทั้งเรื่องหนี้นอกระบบ ระบบน้ำ ที่ทำกิน

“ผมเชื่อว่าเรามีนโยบายที่ตอบโจทย์คนอีสาน แต่ที่ผ่านมาเราถูกขัดขวางให้ไม่สามารถสื่อสารและลงพื้นที่ได้ แล้วก็มีการบิดเบือนข้อมูลใส่เรา วันนี้เรามีช่องทางการสื่อสารใหม่ๆ ผมมั่นใจว่าเมื่อชาวอีสานรู้ความจริงเกี่ยวกับพรรคประชาธิปัตย์จะสนับสนุนเรา”

นพ.วรงค์ – ชีวิตที่คลุกคลีกับพี่น้องอีสานหลายปี รับรู้ความต้องการจะนำมาเป็นนโยบายที่ทำได้ และจะทำงานเป็นทีม ไม่เน้นแค่คนใดคนหนึ่ง ให้สาขาร่วมดูแลประชาชน ทำให้ประชาธิปัตย์สัมผัสได้

อลงกรณ์ – หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต้องเป็นหัวหน้าของทุกภาคและทั้งประเทศให้ได้ ผมจะสร้างอนาคตใหม่ให้คนอีสานให้ได้ โดยใช้นโยบาย 4 เสาเศรษฐกิจ 5 ฐานการพัฒนา “ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์ที่จะสร้างคะแนนเสียงในภาคอีสานได้ต้องไม่ใช่คนที่เป็นคู่ขัดแย้ง” มั่นใจว่าถ้าได้เป็นหัวหน้าพรรค จะได้ ส.ส.ภาคอีสานอย่างน้อย 20 คน

อภิสิทธิ์ – ผมมีประสบการณ์นำพาประเทศไทยออกจากวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เร็วกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค และไม่หยุดเรียนรู้เพิ่มเติ

นพ.วรงค์ – ผมเป็นผู้แทนต่างจังหวัดคลุกคลีกับเกษตรกร รู้ความต้องการของประชาชน ไม่ได้รู้จากเอกสาร และมีความกล้าในการตัดสินใจ

อลงกรณ์ – จากการทำงานพบว่า ประเทศเกิดการเหลื่อมล้ำผูกขาดทางเศรษฐกิจ จะต้องแก้ปัญหาเรื่องนี้ทันทีด้วยการแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

อภิสิทธิ์ – ต้องแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจให้มาเชื่อมโยงกับการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบมีคุณภาพให้ได้ ต้องมุ่งไปที่ฐานราก แต่ต้องไม่ใช่การช่วยแบบประชานิยม ต้องสร้างความเข้มแข็งอย่างเป็นระบบ

นพ.วรงค์ – ปัญหาใหญ่คือการโกงและทุจริต ต้องทำเรื่องนี้ก่อน ไม่อย่างนั้นช่วยเหลือเรื่องอื่นจะไม่สำเร็จ จะให้สินบนในการจับโกง

อลงกรณ์ – มีนโยบายเศรษฐกิจสีขาว มีระบบเศรษฐกิจที่เสรี เป็นธรรม เสมอภาค ขจัดการผูกขาด สร้างเศรษฐกิจใหม่ และสร้างฐานเศรษฐกิจภูมิภาคไม่ให้กระจุกตัวแค่ที่ใดที่หนึ่ง

อภิสิทธิ์ – พรรคต้องทำงานการเมืองในช่วงสถานการณ์ต่าง ๆ คงเปรียบเทียบกันไม่ได้ ทุกคนมีคุณูปการต่อพรรค และหัวหน้าพรรค 4 คนที่เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่มีใครมีมลทินเรื่องทุจริ

นพ.วรงค์ – แต่ละท่านมีความเหมาะสมแต่ละช่วง แต่ผมสัมผัสคุณชวน หลีกภัย ด้วยตนเอง ท่านสอนให้ผมเป็นนักสู้ รวมทั้งสอนให้รักประชาชน และเคยสอนว่าเป็นมวยรองต้องขยัน

อลงกรณ์ – ผมศรัทธาทุกท่าน และสมาชิกทุกคนที่ร่วมก่อสร้างพรรคมา รวมทั้งปฐมอุดมการณ์ของพรรค ซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นประชาธิปไตย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า