SHARE

คัดลอกแล้ว

  • ที่มาของกระเเส ปลูกกัญชาเพื่อเป็นยารักษาโรคได้
  • อย.เเถลงการณ์ด่วน กฎกระทรวง อนุญาตให้ปลูกกัญชง ไม่ใช่กัญชา
  • นายกฯ ชี้ (ปลูกกัญชา) คนไทยยังรับไม่ได้

สร้างกระแสฮือฮาขึ้นมาในทันใด หลังจากมีข่าวออกมาว่า “จะมีการปลูกกัญชาเพื่อนำมาเป็นยารักษาโรค ในพื้นที่ 5,000 ไร่ บนเทือกเขาภูพาน จ.สกลนคร” จากการให้สัมภาษณ์ของประธานสภาเกษตรกร จ.สกลนคร

สอดคล้องกับข่าวก่อนหน้านี้ ที่นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้เข้าพบ นายศิรินทร์ยา สิทธิชัย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) และผู้บริหารระดับสูง เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 61

เเละมีความเห็นร่วมกันว่า พื้นที่กำหนดพื้นที่แรกคือ จ.สกลนคร เพราะเป็นต้นน้ำสงคราม เทือกเขาภูพาน เป็นแหล่งกำเนิดพันธุ์พืชกัญชาที่ดีที่สุด ทำให้กระแสข่าว “ปลูกกัญชาได้แล้วจ้า” มีความหนักแน่นและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

โดยอ้างถึงการออกกฎกระทรวง ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2560 ว่า ให้รัฐมนตรีสามารถอนุญาตให้มีการเพาะปลูกพืชชนิดนี้ เพื่อสกัดเป็นยารักษาโรคในพื้นที่ที่รัฐมนตรีกำหนด

แต่จากการตรวจสอบพบว่า กฎกระทรวงดังกล่าวน่าจะหมายถึง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เฉพาะเฮมพ์ โดยมีสาระสำคัญระบุว่า คือ “กัญชง” ซึ่งเป็นชนิดย่อยของกัญชา…”

นั่นก็หมายความว่า ไม่ใช่กัญชาน่ะเอง 

สรุปก็คือ ที่มาของดราม่านี้ เนื่องมาจากความเข้าใจผิดของสภาเกษตรกรแห่งชาติ ก่อนจะเกิดการรับลูกจาก สภาเกษตรกร สกลฯ ที่บอกเล่าถึงการเตรียมงาน การคัดเลือกเกษตรกร ฯลฯ ประกอบกับผู้ให้ข่าว เป็นเเหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ทำให้กระเเสข่าวจะปลูกกัญชาบนพื้นที่ 5,000 ไร่ กระหึ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

เเต่ต่อมาทาง อย.ได้เปิดแถลงการณ์ด่วน โดย นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ชี้แจงว่า “ตามกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ว่าด้วยการอนุญาตปลูกเฮมพ์ (Hemp) ซึ่งเป็นพืชชนิดย่อยของพืชกัญชา เพื่อรองรับการพัฒนาการปลูกในเชิงอุตสาหกรรม สนับสนุนการเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ

“เฮมพ์หรือกัญชง มีลักษณะทางกายภาพคล้ายพืชกัญชา แต่มีสารสำคัญคือ สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ไม่เกินร้อยละ 1.0

“ส่วนกัญชาเป็นพืชที่มีสาร THC สูงกว่า และกัญชาต้องขออนุญาตตามกฎกระทรวง ต้องของอนุญาตปลูกและผลิต หรือจำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 พ.ศ.2559 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้อนุญาต และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ

“ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้อนุญาตให้มีการครอบครองพืชกัญชาเพื่อใช้ในโครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาสารสกัดเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เเต่ยังไม่เคยอนุญาตให้ปลูกเป็นไร่ตามที่เป็นข่าว”

จึงเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า การปลูกกัญชาอย่างถูกกฎหมาย อย่างเป็นล่ำเป็นสัน บนเนื้อที่หลายพันไร่ แม้จะนำมาผลิตเป็นยารักษาโรค เเต่ก็ยังไม่สามารถทำได้ ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขเคยอนุญาตเพื่อการทำวิจัยทางการแพทย์ แต่อนุญาตให้ปลูกในเนื้อที่ที่ไม่มากนัก

และในวันนี้ 17 ม.ค. 61  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “เพิ่งได้ยิน และได้สอบถามไปทางกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ไม่มีการออกประกาศหรือกฎกระทรวงในเรื่องนี้ ใครไปคิดเองหรือไม่นั้นไม่รู้

“….ส่วนของไทย การจะทำอะไรต้องมีมาตรการควบคุมชัดเจนในการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดทุกประเภท และคนไทยยังรับไม่ได้ในเรื่องนี้ ต้องค่อยๆ ศึกษากันไปก่อน”

โดยการปลูกกัญชาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย หรือได้รับการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ เช่นนำมาผลิตเป็นยารักษาโรคนั้น เป็นที่ถกเถียงกันมาหลายปีเเล้ว

ในส่วนของผู้สนับสนุนก็ได้หยิบยกผลวิจัยที่ระบุว่าสารจากกัญชา สามารถนำมาสกัดเป็นยารักษาโรคร้ายเเรงได้ ฉะนั้นจึงควรมีการผ่อนปรน หรือเเก้กฎหมาย จากยาเสพติดประเภท 5 มาเป็นยาเสพติดติดประเภท 2 เพื่อให้มีช่องทางในการปลูก เเละนำมาใช้ในทางการเเพทย์ได้

ส่วนฝ่ายต่อต้าน ก็หยิบยกคุณสมบัติของกัญชา ที่นอกจากจะเป็นสารเสพติดเเล้ว ยังสามารถใช้เป็นสารตั้งต้นในการนำไปผลิตยาเสพติดประเภทร้ายเเรงได้อีกด้วย อีกทั้งหากไม่มีมาตราการควบคุมที่ดี ก็อาจจะทำให้ปัญหายาเสพติดระบาดหนักยิ่งขึ้นไปอีก

ซึ่งต่างก็มีเหตุผลหนักเเน่นด้วยกันทั้งสองฝ่าย จึงเป็นเรื่องยากยิ่งต่อการคาดการณ์ว่า ในอนาคต พืชชนิดนี้จะปลูกได้หรือไม่ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย…บนผืนเเผ่นดินไทย  

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า