SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์เฉพาะชั่วคราวในภาวะวิกฤติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สรุปสถานการณ์น้ำและพื้นที่เสี่ยงสำคัญ ประจำวันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม 2561 

วานนี้ (12 ส.ค. 61) เมื่อเวลา 22.00 น. พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งของประเทศจีนตอนใต้ ยังไม่เคลื่อนที่แต่คาดว่าจะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 15-16 สิงหาคม 2561 โดยจะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย มีกำลังแรงขึ้น

       ลุ่มน้ำเพชรบุรี มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนแก่งกระจาน และไหลผ่านทางระบายน้ำล้น (Spillway) ลดลง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพชรบุรี มีแนวโน้มลดลงตามการระบายน้ำจากเขื่อน
       แม่น้ำสายสำคัญ : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก ระดับน้ำเพิ่มขึ้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีระดับน้ำน้อย ภาคกลางและใต้มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก  ขณะที่แม่น้ำระหว่างประเทศ : แม่น้ำโขง ระดับน้ำลดลงปัจจุบันระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง

สถานการณ์ฝน
       • 13-14 ส.ค. 61 ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะ 21 จังหวัด ที่ต้องเฝ้าระวัง ภาคเหนือ เชียงราย พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร อุบลราชธานี ภาคกลาง กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด ภาคใต้ ระนอง พังงา
       • 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (04.00 น.) ฝนตกปานกลางถึงหนักในภาคเหนือ และภาคใต้ ส่วนภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคกลาง มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยมีฝนตกหนักในภาคเหนือ กำแพงเพชร 44 มิลลิเมตร พิจิตร 36.6 มิลลิเมตร พิษณุโลก 35 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุบลราชธานี 58 มิลลิเมตร ภาคตะวันออก ตราด 41.2 มิลลิเมตร ภาคใต้ ระนอง 126 มิลลิเมตร พังงา 102 มิลลิเมตร ชุมพร 67.5 มิลลิเมตร สุราษฎร์ธานี 35.8 มิลลิเมตร

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีระดับเกินเกณฑ์ควบคุม (Upper Rule Curve) และปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มีจำนวน 3 แห่ง ดังนี้

        1. เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00 น.) ปริมาณน้ำ 726 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 102% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 12.87 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายออกวันละ 14.12 ล้าน ลบ.ม. กรมชลประทานได้ติดตั้งกาลักน้ำ จำนวน 15 ชุด เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำออกจากอ่างฯ น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 36 ซม. (เมื่อวาน 40 ซม.) แนวโน้มปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างลดลง และจากการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ อาจมีฝนตกมากขึ้นส่งผลให้น้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ต่อไป

       สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ยังอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ระดับน้ำท้ายเขื่อน (06.00 น.) บริเวณ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 1.18 ม. (เมื่อวาน 1.03 ม.) ปริมาณน้ำไหลผ่าน 142.30 ลบ.ม./วินาที (เมื่อวาน 156.15 ลบ.ม./วินาที) ทำให้พื้นที่ริมสองฝั่งลำน้ำในบริเวณ อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด อ.เมือง และอ.บ้านแหลม ที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมมีแนวโน้มทรงตัว
การบริหารจัดการน้ำ มีการตัดยอดน้ำก่อนผ่านเขื่อนเพชรโดยเพิ่มการรับน้ำเข้าระบบชลประทาน และคลอง D9 ทำให้ระดับน้ำ (06.00 น.) อ.เมืองเพชรบุรีมีระดับลดลง ต่ำกว่าตลิ่ง 0.69 ม. (เมื่อวาน 0.52 ม.) แต่ยังต้องเฝ้าระวัง ทั้งนี้ ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดเสี่ยงที่อาจจะมีน้ำเอ่อเข้าท่วมพื้นที่และชุมชน จำนวน 31 เครื่อง (สำรอง 5 เครื่อง) ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำในจุดที่มีการระบายน้ำได้ช้า จำนวน 38 เครื่อง (สำรอง 8 เครื่อง) เตรียมพร้อมยานพาหนะและเครื่องจักรกล เช่น รถขุดตัก จำนวน 20 คัน ประจำในพื้นที่เพื่อขุดเปิดทางน้ำ
การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ออกประกาศฉบับที่ 3/2561 (10 ส.ค.61) เรื่องสถานการณ์แม่น้ำเพชรบุรี

          2. เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร  สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (06.00น.) ปริมาณน้ำ 534 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103 % ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 4.35 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 5.21 ล้าน ลบ.ม. สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ ยังคงปกติ คาดว่าจะไม่มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากไม่มีน้ำล้นตลิ่ง การบริหารจัดการน้ำ ติดตั้งกาลักน้ำ 25 ชุด เพื่อช่วยเร่งระบาย การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ มีการแจ้งให้ติดตามสถานการณ์น้ำในจังหวัดสกลนคร บึงกาฬ นครพนม ซึ่งลำน้ำอูนและลำน้ำสงคราม ไหลผ่าน

          3. เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ (00.00 น.) มีปริมาณน้ำ 7,583 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 86% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 57.68 ล้าน ลบ.ม. (แนวโน้มลดลง) มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 42.66 ล้าน ลบ.ม.  สภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำ จากการติดตามสภาพน้ำด้านท้ายน้ำไม่มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำ การบริหารจัดการน้ำ แผนการระบายน้ำอยู่ที่วันละ 43 ล้าน ลบ. ม. ตลอดเดือนสิงหาคมและกันยายน 2561 การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ มีการแจ้งให้พื้นที่ท้ายเขื่อนตามลำน้ำแควน้อยให้ทราบถึงแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ

สถานการณ์น้ำในแม่น้ำ- ลำน้ำ
       ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก ระดับน้ำในแม่น้ำสายสำคัญลำน้ำสายหลักเพิ่มขึ้น
       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่ฝนตกน้อยส่งผลให้แม่น้ำมูลตอนบนมีระดับน้ำต่ำ
       ภาคกลางและภาคใต้ มีระดับปานกลางถึงน้ำมาก ปัจจุบันมีน้ำล้นตลิ่งเล็กน้อยบริเวณลำน้ำอูน และลำน้ำก่ำ จ.สกลนคร แม่น้ำสงคราม จ.บึงกาฬ แม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี แม่น้ำเพชรบุรี อ.ท่ายาง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี แม่น้ำตาปี จ.สุราษฎร์ธานี แม่น้ำระหว่างประเทศ : แม่น้ำโขง มีระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำที่ไหลจากประเทศจีนคงที่ มวลน้ำจากประเทศลาวไหลลงแม่น้ำโขงลดลง

พื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วม : ริมแม่น้ำเพชรบุรี บริเวณ อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด อ.เมือง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี แม่น้ำกระบุรี อ.กระบุรี อ.ละอุ่น และอ.เมืองระนอง จังหวัดระนอง แม่น้ำตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

พื้นที่เฝ้าระวังจากการเร่งระบายน้ำ : อ่างฯ ขนาดใหญ่ที่มีระดับน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุม 8 แห่งและอ่างฯที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง เขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนวชิราลงกรณ และเขื่อนน้ำอูน รวมถึงอ่างขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีปริมาณน้ำ 100%

นายสิทธิพล เสงี่ยม หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดอุบลราชธานี รายงานข้อมูลจากศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย จังหวัดอุบลราชธานี ว่า ขณะนี้จังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่ง 6 อำเภอ 20 ตำบล 115 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเขมราฐ, โพธิ์ไทร ,โขงเจียม,นาตาล ศรีเมืองใหม่ และอำเภอเขื่องใน มีราษฎรได้รับผลกระทบ 2,528 ครัวเรือน 5,773 คน ราษฎรมีการขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง 47 ครัวเรือน 235 คน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ 15,186 ไร่

ด้านการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานั้น มีการมอบสิ่งของจำเป็นแก่ผู้ประสบภัย รวมทั้งจัดส่งกำลังเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องจักรกลลงในพื้นที่ประสบภัย เช่น ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำของกรมชลประทาน จำนวน 12 เครื่อง ที่ฝายธาตุน้อย เพื่อเร่งการไหลของน้ำในแม่น้ำชี ทำการสำรวจแหล่งน้ำธรรมชาติที่สามารถจะนำมาเปิดพื้นที่ช่วยการไหลของน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วม จัดการและบริหารศูนย์พักพิงชั่วคราว จัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลใกล้พื้นที่ประสบภัย

ติดตามสถานการณ์น้ำได้ที่เพจ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า