SHARE

คัดลอกแล้ว

จุดสำคัญที่สุดในการท่องเที่ยวทางน้ำ คือ มาตรฐานของเรือที่ต้องแข็งแรง ต้านคลื่นลมทะเล ล่าสุดมีผู้ประดิษฐ์ “เรือไม่จม” รายแรกของไทย ใช้นวัตกรรมในการสร้างเพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว และลดการสูญเสียได้มากที่สุด

ภาพจำลองเหตุการณ์เรือรั่วน้ำทะลักเข้าด้านในเรือโดยสารนำเที่ยวเต็มลำ แต่ผู้โดยสารประมาณ 80 คน ยังยืนอยู่บนเรือได้โดยไม่จมลง

เช่นเดียวกับเรือสปีดโบ๊ต ขนาด 5 เมตร ที่บรรจุถุงทรายหนักกว่า 10 ตัน เพื่อแทนทั้งเครื่องยนต์และจำนวนผู้โดยสาร แต่ยังสามารถลอยอยู่บนผิวน้ำ

เพราะเรือทั้ง 2 ลำนี้ ผลิตโดยเทคโนโลยีฉีดอลูมิเนียมชิ้นเดียวตลอดทั้งลำ เพื่อให้ทนแรงกระแทกจากคลื่นได้ 3 – 4 เมตร มีความยืดหยุ่นสูงในกรณีที่เรือเกิดการชน หรือกระแทกจากคลื่น ซึ่งแม้เรือจะได้รับแรงกระแทกก็จะไม่พลิกคว่ำโดยง่าย และใต้ท้องเรือฉีดโฟมพิเศษ ความหนาแน่นสูง หรือโฟมอีวีเอ ชนิดเดียวกับที่ใส่เสื้อชูชีพ จำนวน 27 ตัน มากกว่าน้ำหนักของผู้โดยสารรวมกัน 80 – 100 คน เฉลี่ยประมาณ 20 ตัน จึงทำให้เรือลอยน้ำได้ แม้ว่าจะเกิดเหตุเรือรั่ว ทำให้นักท่องเที่ยวออกจากเรือได้มากขึ้น

จากการทดสอบ เรือลำนี้จะลอยอยู่บนผิวน้ำ หรือลอยอยู่กลางทะเลได้ 3 วัน ผู้ผลิตเรือคาดว่าจะเพิ่มโอกาสช่วยชีวิตนักท่องเที่ยว หากเกิดเหตุเรือล่ม และดูแลความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว แต่ต้องยอมรับว่าปัจจุบันยังไม่มีผู้ผลิตเรือที่ใช้นวัตกรรมแบบนี้มากนักในไทย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหาวิธีสนับสนุน ให้ผู้ผลิตเรือและผู้ประกอบการเดินเรือหันมาผลิตและใช้เพิ่มขึ้น เพื่อดึงความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวกลับมา

“สกุลฎ์ซี” คือผู้ผลิตเรืออลูมิเนียมสัญชาติไทยดังกล่าว ที่ได้รับการลงบัญชีนวัตกรรมไทย ทางด้านความแข็งแรงของโครงสร้างและการประกอบที่ได้มาตรฐานสากล จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้ต่อยอดความปลอดภัยให้กับเรือสกุลฎ์ซี โดยมีการคำนวณการลอยตัวและใส่วัสดุช่วยลอยตัว เพื่อพยุงผู้โดยสารและตัวเรือ กรณีเกิดอุบัติเหตุน้ำเข้าเต็มลำ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อผู้โดยสารด้านความปลอดภัย จึงได้มีการจัดจำลองสถานการณ์กรณีน้ำเข้าเต็มเรือ และการทำงานของระบบช่วยลอยตัว ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งจะใช้ เรือโดยสารขนาด 19 m ความจุ 80 – 100 คน และเรือเร็วขนาด 5 m ในการจำลองสถานการณ์

วีรพลน์ เตชะผาสุขสันติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด

วีรพลน์ เตชะผาสุขสันติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงงานผลิตเรือนำเที่ยวแห่งนี้ ยืนยันว่า เรือลำนี้สามารถดัดแปลงให้ใหญ่เทียบเท่ากับเรือไดร์ฟวิ่งได้ แต่จะต้องลงทุนสูงขึ้นอีกในการผลิต โดยเฉพาะการขึ้นแม่พิมพ์เรือ จากปัจจุบันมูลค่าลงทุนเรือไม่จมน้ำ 10 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเรือไฟเบอร์กลาส เฉลี่ย 6 – 7 ล้านบาทต่อลำ

โดยในขณะนี้ มีผู้ประกอบการนำเที่ยวสั่งผลิตเรือไม่จมน้ำประมาณ 8 ลำ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

วิเชียร สุขสร้อย รองผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

วิเชียร สุขสร้อย รองผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ยอมรับว่า เรือนำเที่ยวที่ผลิตในจังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่ทำจากไฟเบอร์กลาส ซึ่งไม่มีความหยืดหยุ่น หรือทนแรงกระแทกคลื่นพายุได้มากนัก ขณะที่เรือขนาดใหญ่อย่างเรือไดร์ฟวิ่ง จะนำเข้าจากต่างประเทศ

เรือนำเที่ยวทั่วไป

ดังนั้น ภายใน 2 – 3 ปีนี้ จะเร่งเข้ามาสนับสนุนทั้งเงินทุน และการใช้นวัตกรรมเสริมความปลอดภัย ขณะเดียวกัน นักท่องเที่ยวก็ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่ง   แทนเรือสวยงาม เป็นแรงจูงให้ผู้ผลิตเรือหันมาใช้เทคโนโลยีเสริมความปลอดภัยสูงขึ้น และลดการนำเข้าเรือจากต่างประเทศด้วย

การสร้างเรือไม่จมน้ำสัญชาติไทย น่าจะเป็นนวัตกรรมนำร่องในการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวในประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคการท่องเที่ยวไทยไม่หดหายไป

นวัตกรรมเรืออะลูมิเนียมโครงสร้างชิ้นเดียว “ไม่จมน้ำ” ผลงาน บ.สกุลฎ์ซี

 

อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์ : workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว   
ยูทูบ: workpoint news   
ทวิตเตอร์: workpoint news   
อินสตาแกรม: workpointnews

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า