SHARE

คัดลอกแล้ว

ผลสำรวจเรื่องการหาเสียง เลือกตั้ง ส.ส. ยุค 4.0 ประชาชน กว่าร้อยละ 48 สนับสนุน “การหาเสียงผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย” พร้อมวิธีการหาเสียงที่ ถูกใจ และ ไม่ชอบ

วันที่ 23 ก.ย. สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง “คนไทยคิดอย่างไร? กับการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.” โดยดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,174 คน ระหว่างวันที่ 18-22 ก.ย. 2561 กรณีที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศคลายล็อก ให้พรรคการเมืองสามารถทำกิจกรรมได้ ยกเว้นการหาเสียง ที่กำหนดห้ามใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และโซเชียลมีเดีย กลายเป็นประเด็นร้อนที่ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจากเลือกตั้งอาจมีขึ้นเร็ว ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2562 ทำให้พรรคการเมืองต่างๆ จะต้องเร่งดำเนินการหาเสียงแข่งกับเวลาที่เหลืออยู่ไม่มาก เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการหาเสียงเลือกตั้ง สรุปผลได้ ดังนี้

  • ผู้สมัคร ส.ส. หาเสียงแบบใด? จึงจะ “ถูกใจ” ประชาชน
  1. ร้อยละ 41.93 เน้นสิ่งที่ทำได้จริง พูดแล้วทำจริง ทำตามที่พูด ไม่สร้างภาพ
  2. ร้อยละ 32.29 มีนโยบายที่ทำเพื่อประชาชน ไม่เป็นประชานิยม มีแนวทางการทำงานที่เป็นรูปธรรม
  3. ร้อยละ 23.27 ลงพื้นที่ จัดเวทีปราศรัย หาเสียงผ่านสื่อโซเชียลต่างๆ ไลฟ์สด
  4. ร้อยละ 21.80 เคารพกฎกติกา ไม่ใส่ร้าย โจมตีกัน พูดมีสาระ สุภาพ น่าฟัง
  5. ร้อยละ 15.51 ดีเบตแบบในต่างประเทศ แสดงวิสัยทัศน์ออกทีวี
  • ผู้สมัคร ส.ส.หาเสียงแบบใด? ที่ประชาชน “ไม่ชอบ”
  1. ร้อยละ 35.92 คุยโม้โอ้อวด อวดอ้าง ขายฝัน ทำไม่ได้ตามที่พูดไว้
  2. ร้อยละ 34.24 ซื้อเสียง ติดสินบน กระทำผิดกฎกติกาที่กำหนด
  3. ร้อยละ 25.84 หาเสียงด้วยวิธีการรบกวนผู้อื่น เช่น รถแห่เสียงดัง ติดป้ายสมัครบังทางรบกวนเวลาส่วนตัว
  4. ร้อยละ 18.28 ใส่ร้ายผู้สมัครฝั่งตรงข้าม โจมตี สาดโคลนกันไปมา
  5. ร้อยละ 14.92 ไม่ลงพื้นที่เอง ใช้หัวคะแนนลงพื้นที่ ไม่เข้าหาประชาชน
  • ประชาชนคิดอย่างไร? กับการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย
  1. ร้อยละ 48.15 เป็นวิธีการที่ดี ทันสมัย ช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณ
  2. ร้อยละ 34.57 ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย สะดวก สามารถแสดงความคิดเห็นถามตอบได้
  3. ร้อยละ 25.93 ควบคุมได้ยาก ตรวจสอบไม่ได้ อาจเกิดการใส่ร้ายโจมตีกัน
  4. ร้อยละ 17.04 สื่อสารได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เป็นการหาเสียงเจาะกลุ่มเฉพาะ
  5. ร้อยละ 13.58 ละเมิดพื้นที่ส่วนตัว ไม่สนใจอยากอ่าน แต่ต้องมาเห็นข้อความที่เข้ามา
  • วิธีการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.แบบใด? ที่ถูกใจประชาชนมากที่สุด
  1. ร้อยละ 29.32 ตั้งเวทีปราศรัย
  2. ร้อยละ 26 ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย
  3. ร้อยละ 25.13 เคาะประตูบ้าน
  4. ร้อยละ 9.08 มีขบวนรถหาเสียง
  5. ร้อยละ 6.98 ผ่านเว็บไซต์ของพรรคการเมือง
  6. ร้อยละ 6.81 ติดตั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่
  7. ร้อยละ 0.52 ส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ (SMS)
  • ประชาชนชอบการปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส.บนเวทีหรือไม่
  1. ร้อยละ 61.88 ชอบ เพราะ ได้เจอผู้สมัครตัวจริง ได้ฟังแนวคิด วิสัยทัศน์ นโยบายการทำงาน ได้เห็นท่าทาง อากัปกิริยา
  2. ร้อยละ 38.12 ไม่ชอบ เพราะ คนเยอะ เสียงดัง วุ่นวาย รบกวนผู้อื่น คุยโม้ โอ้อวด ต้องหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการปราศรัย
  • “สื่อ” ที่ใช้หาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ที่ประชาชนให้ความสนใจ
  1. ร้อยละ 33.85 โทรทัศน์
  2. ร้อยละ 27.55 สื่อบุคคล เช่น ตัวผู้สมัคร, หัวหน้าพรรค, ผู้สนับสนุน
  3. ร้อยละ 20.70 โซเชียลมีเดีย
  4. ร้อยละ 17.90 อื่นๆ ได้แก่หนังสือพิมพ์ วิทยุ รถหาเสียง แผ่นพับ ใบปลิว เป็นต้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า