Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
สังคมไทยในปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นเมือง (urbanization) กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ เกิดเมืองขนาดใหม่เพิ่มมากขึ้น ทั้งในระดับจังหวัดและอำเภอ โดยข้อมูลจากสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง พบว่า จำนวนชุมชนในกรุงเทพฯ มี 2,071 ชุมชน เป็นชุมชนแออัด 638 ชุมชน ชุมชนเมือง 537 ชุมชน หมู่บ้านจัดสรร 425 ชุมชน ชานเมือง 323 ชุมชน เคหะชุมชน และอาคารสูง 148 ชุมชน
ชุมชนคนในเมืองเหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต หรือสุขภาวะเขตเมือง (urban health) ทั้งหนาแน่น แออัด และสภาพแวดล้อมทรุดโทรม ใช้ชีวิตเร่งรีบ ขยะล้น ส่วนด้านสุขภาพพบผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs โดยวัยแรงงาน 8-10% ในชุมชนเป็นโรคความดันสูง และเบาหวาน น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกำลัง ขาดการออกกำลังกาย และยังพบผู้ป่วยติดเตียงจากความดันโลหิต และโรคหลอดเลือดในสมองตีบเพิ่มมากขึ้น
      
จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในเรื่องของสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ทางสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จับมือกับมูลนิธิช่วยไร้พรมแดน ดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดการระบบสุขภาวะชุมชนรอบศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ หรือรอบๆ ที่ตั้งสำนักงาน สสส. ซอยงามดูพลี แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร ซึ่งประกอบด้วย 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนหน้าสมาคมธรรมศาสตร์, ชุมชนบ้านมั่นคงสวนพลู และ ชุมชนบ้านเอื้ออาทรสวนพลูพัฒนา เพื่อนำร่องการจัดการสุขภาพของคนในชุมชนเมือง โดยใช้ต้นทุนชุมชนในการแก้ไขปัญหา และสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ได้ทำงานขับเคลื่อนสร้างสุขภาวะชุมชนร่วมกับ 3 ชุมชนตั้งแต่ปี 2553 อาทิ โครงการของบางกอกฟอรั่มทำงานกับเยาวชนและผู้นำของ 3 ชุมชน, โครงการ for Oldy พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อสส.ชุมชน “เพื่อนดูแลเพื่อน” สวนผักคนเมือง จัดการขยะ กลุ่มแม่บ้านชุมชน เป็นต้น ซึ่งจุดเด่นของทั้ง 3 ชุมชนที่ค้นพบคือมีต้นทุนกลไก อย่างคณะกรรมการชุมชน ซึ่งมีบทบาทสำคัญขับเคลื่อนงานชุมชน มีผู้นำที่มีบทบาทสำคัญต่อชุมชน และสมาชิกชุมชนที่ต้องการการแก้ไขปัญหาเชิงระบบ
“สสส. ได้ขับเคลื่อนส่งเสริมการจัดการระบบสุขภาวะชุมชนรอบศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ พัฒนาระบบการจัดการพื้นที่ นวัตกรรมจัดการปัญหาของชุมชน นํามาสู่การจัดการตนเอง บูรณาการเชื่อมโยงพัฒนาระบบสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน ด้วยแนวคิด 1.เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2.ใช้พื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา 3.คำนึงถึงสุขภาพในทุกงานหรือทุกนโยบาย และ 4.การเฝ้าระวังร่วมกันในละแวกบ้าน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน” นพ.พงศ์เทพ กล่าว
ด้าน ดร.นิสา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รักษาการผู้อำนวยการ สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สสส. ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการขับเคลื่อนและส่งเสริมการจัดการระบบสุขภาวะชุมชนที่เกิดขึ้นทั่วประเทศว่า ที่ผ่านมา สสส. พยายามแก้ปัญหานี้มาตลอด ทั้ง 3 ชุมชน รอบศูนย์เรียนรู้สุขภาวะเป็นหนึ่งพื้นที่นำร่อง ซึ่งคาดว่าในอนาคต จะเกิดการกระจายองค์ความรู้เหล่านี้ขึ้นในอีกหลายพื้นที่ ดังที่เกิดขึ้นไปแล้วที่แขวงทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา
จากการทำงานโครงการส่งเสริมการจัดการระบบสุขภาพชุมชนรอบศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะทั้ง 3 พื้นที่ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่สิงหาคม 2566 – มกราคม 2567 ได้ดำเนินการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนแบบมีส่วนร่วมของ 3 ชุมชน มีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนของแต่ละชุมชน และคณะทำงานร่วมของ 3 ชุมชน ตลอดจนการสานพลังผนึกหลอมสร้างความเป็น “ละแวกบ้านเดียวกัน” โดยมี สสส. ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านให้การสนับสนุนผ่านการทำงานของสำนัก 3 และศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่าย พื้นที่ภาคกลาง (ศวภ.กลาง) ในการร่วมพัฒนาเสริมสร้างสุขภาวะของคนใน 3 ชุมชนด้วย
ต่อมาได้มีการพัฒนาระบบข้อมูลของชุมชน เพิ่มทักษะการวิจัยชุมชนด้วยการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณาแบบเร่งด่วน (RECAP) และการพัฒนาระบบข้อมูล (TCNAP) เพื่อรวบรวมข้อมูลชุมชน ก่อนจะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ขณะเดียวกันมีการพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชน โดยสนับสนุนให้เข้าร่วมการอบรมสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่นที่จัดโดย สสส.สำนัก 3 ตามเวทีต่างๆ และยังวางเป้าหมายการพัฒนานวัตกรรมใน 4 เรื่อง คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, การพัฒนาเด็กและเยาวชน, การจัดการขยะ และ การเฝ้าระวังความปลอดภัยของชุมชนและละแวกบ้านร่วมกัน
ทางด้าน “ป้าแมว” หรือ สุนันทา ไพศาลมงคลกิช หนึ่งในคณะกรรมการชุมชนบ้านมั่งคงสวนพลู กล่าวว่า เมื่อได้ทำโครงการนี้ รู้สึกเหมือนกับการเปิดโลกกว้าง ได้รู้จักการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เห็นข้อมูลหมดเลยว่าในชุมชนมีผู้สูงอายุเท่าไหร่ ป่วยเป็นโรคอะไรบ้าง แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาออกแบบกิจกรรมที่เหมาะกับคนในชุมชน
“ใคร ๆ ก็เรียกเราว่า นักวิจัย ป.4 พอเราได้ทำงาน มีอาจารย์จาก สสส. มาแนะนำ ชี้แนวทางบอกกล่าว เราก็รู้สึกเก่งขึ้น นอกจากพัฒนาชุมชนเห็นความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจกันแล้ว เรายังได้พัฒนาตัวของเราด้วย” ป้าแมว เล่า
ขณะที่ “ป้าแต๋ว” หรือ จิตติมา ช่วงจั่น ประธานชุมชนบ้านเอื้ออาทรสวนพลูพัฒนา เล่าถึงบริบทของทั้ง 3 พื้นที่ที่มีความต่างกัน และการทำงานที่ผ่านมาว่า อย่างในของบ้านมั่งคง เรามีผู้อาศัยทั้งคนในชุมชนเองและกลุ่มคนเช่าอยู่ เมื่อได้มาเก็บข้อมูล เราเห็นตัวเลขของกลุ่มผู้สุงอายุในชุมชนชัดมาก พี่ ๆ น้อง ๆ อยู่ตึงไหน ส่วนไหน ใครเป็นโรคอะไร ใครเสี่ยงที่ต้องให้การดูแลเป็นพิเศษก็จะได้เฝ้าระวังมากเข้มข้นขึ้น
เมื่อชุมชนได้เติมเครื่องมือ แกนนำและผู้นำมีศักยภาพเพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชุมชนทุกช่วงวัย รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่ม และพัฒนากลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มอาชีพ และกลุ่มผู้สูงอายุ ให้มีความเข

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า