SHARE

คัดลอกแล้ว

สสส. ร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ เดินหน้าโครงการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุในเมือง ชู “ชุมชนสุภาพงษ์” เขตพระโขนง ต้นแบบชุมชนบูรณาการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนในระดับพื้นที่ สร้างการมีส่วนดูแลสุขภาพตนเองอย่างยั่งยืน

พญ.ขจีรัตน์ ปรักเอโก ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในปี 2565 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ คือมีผู้สูงอายุเกิน 20% ของประชากร และจะเพิ่มเป็น 28% ในปี 2574 สำหรับกรุงเทพมหานครจากการสำรวจสถิติในปี 2563 มีจำนวนผู้สูงอายุราวล้านกว่าคน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในประเทศไทย สสส. จึงได้ร่วมกับ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช สำนักงานเขตพระโขนง ศูนย์บริการสาธารณสุข 34 และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบการจัดบริการทางสังคมและสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนพื้นที่ชุมชนเมืองกรุงเทพมหานคร : กรณีผู้สูงอายุ ในพื้นที่เขตพระโขนง โดย สสส. ได้บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ร่วมกันส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ

“สสส. สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบบริการสุขภาพจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยเริ่มจากศึกษาสถานการณ์ทางสุขภาพของผู้สูงอายุทั้ง 50 เขตในกทม. ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.)สัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อนำมาประเมิน พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ด้านสุขภาพ ขาดกิจกรรมทางกาย ส่งผลให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง จึงออกแบบการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุภายใต้บริบทความเป็นชุมชนเมือง สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพแกนนำ อาสาสมัคร สร้างกลไกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ ให้ความรู้การพัฒนาพื้นที่ชุมชน ให้เป็นศูนย์สุขภาพในชุมชนและทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ลานออกกำลังกาย ห้องเรียนดนตรีบำบัดผู้สูงอายุ กิจกรรมทางศาสนา สร้างพื้นที่ให้คนทุกวัยในชุมชนได้ใช้ประโยชน์และทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้น” พญ.ขจีรัตน์ กล่าว

ด้านรศ.ดร.สุภาพ ไทยแท้ ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนารูปแบบการจัดบริการทางสังคมและสุขภาพฯ กล่าวว่า โครงการฯ มุ่งให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขาดกิจกรรมทางกาย และการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพตามความต้องการของตนเอง

เช่น แอโรบิก บาสโลบ เล่นอังกะลุง ทำให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกาย และเกิดแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตร่วมกับชุมชนอย่างมีความสุข พร้อมให้บริการการตรวจคัดกรองสุขภาพให้ผู้สูงอายุและประชาชนในพื้นที่เขตพระโขนง ติดตามผลทุก 3 สัปดาห์ หากพบผู้ป่วยจะส่งต่อให้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพ ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพดีขึ้น ทั้งนี้ ตั้งเป้าให้ชุมชนสุภาพงษ์ เขตพระโขนง เป็นต้นแบบชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุด้านการบูรณาการทำงานร่วมกัน และเตรียมขยายให้ครบ 50 เขตในกรุงเทพฯ

นางสาววรุณลักษม์ พลหาญ ผู้อำนวยการเขตพระโขนง กล่าวว่า เขตพระโขนงมี 44  ชุมชน ผู้สูงอายุในชุมชนเมืองส่วนใหญ่มีปัญหาทางสุขภาพกาย และสุขภาพใจ จึงได้อำนวยความสะดวกทางด้านข้อมูล การสำรวจสำมะโนประชากรในพื้นที่ เชื่อมต่อระหว่างโครงการกับชุมชน เพิ่มศักยภาพดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ สร้างความตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพของตัวเองให้ผู้สูงอายุ เพิ่มศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ในการเข้าถึงชุมชนเชิงรุกมากยิ่งขึ้น และช่วยพัฒนารูปแบบการจัดบริการในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเมือง

ในขณะที่ ดร.จุลศักดิ์ เปี่ยมทอง ประธานชุมชนสุภาพงษ์ เขตพระโขนง กล่าวว่า ในอดีตชุมชนสุภาพงษ์ เขตพระโขนง มีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ ไม่มีส่วนร่วมกันในชุมชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะอยู่เฝ้าบ้าน ไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในชุมชน ผู้สูงอายุส่วนใหญ่สุขภาพไม่ดี หลังจากเข้าร่วมโครงการการพัฒนารูปแบบการจัดบริการทางสังคมและสุขภาพฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ตลอดจนให้ความรู้ในการสร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วม ทำเกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนมากขึ้น ส่งผลให้คนทุกวัยในชุมชนได้ใช้ประโยชน์และทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้มีกิจกรรมทำร่วมกับลูกหลาน เกิดความภูมิใจในตนเอง ไม่ถูกทิ้งให้เป็นกลุ่มคนที่ถูกลืมของสังคมใช้เวลาหลังวัยเกษียณให้เกิดประโยชน์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า