SHARE

คัดลอกแล้ว

โฆษกกรมสุขภาพจิต เผย พบแนวโน้ม “คนทำสื่อออนไลน์” มีปัญหาความเครียดมากขึ้น เพราะปัจจัยที่ต้องทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน  ภายใต้ความกดดันเวลา และการแข่งขันอย่างดุเดือด แนะสำรวจสุขภาพกาย-ใจ บ่อยๆ อย่าปล่อยสะสม แต่หากคุกคามชีวิตประจำวันควรรีบปรึกษาจิตแพทย์

นายแพทย์อภิชาติ จริยาวิลาส จิตแพทย์และโฆษกกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวเวิร์คพอยท์ว่า ปัจจุบันพบแนวโน้มคนมาปรึกษาปัญหาความเครียดการใช้สื่อออนไลน์ และจากคนทำหรือผลิตสื่อออนไลน์มากขึ้น แบ่งเป็นส่วนของผูู้บริโภคสื่อออนไลน์ มักเกิดปัญหา เช่น อยู่กับสื่อออนไลน์มากเกินไป จนเสียเวลาในการทำกิจกรรมอย่างอื่น เสียเวลาเรียน มีปัญหาความสัมพันธ์ รวมทั้งปัญหาที่ใช้สื่อออนไลน์ในทางที่ผิด ที่เรียกว่า “กลั่นแกล้งทางไซเบอร์”   (Cyberbullying)

ขณะที่ “คนทำสื่อ หรือ ผู้ผลิตสื่อออนไลน์” นั้น ก็พบว่า มีความเครียดในระดับที่ไม่น้อยไปกว่าผู้บริโภคสื่อ เนื่องจาก สังคมมีการแข่งขันกันสูงมาก โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นเทรนด์พร้อมๆ กันทั่วโลก ทุกอย่างต้องอัปเดต แข่งขันกันดุเดือด จนทำให้มีความเครียดเกิดขึ้นตลอดเวลา จนกลายเป็นความเครียดสะสม

รวมถึงการใช้เวลาทำงานมากเกินไป กรณีเป็นผู้ผลิต หรือ คนที่ให้คอนเทนต์ (content) ในงานบางอย่างอาจผิดพลาด หรือไม่ตรงใจผู้บริโภคสื่ออาจเกิด Cyberbullying เช่น ถูกตำหนิ ด่าว่ารุนแรง คุกคาม แฮชข้อมูล ก็เป็นอีกส่วนที่ทำให้คนทำสื่อเกิดความเครียดไม่รู้ตัว

 

คนทำสื่อทุกสื่อมีความเครียดทั้งสิ้น แต่เพราะรูปแบบต่างๆ เปลี่ยนไปจากเดิม ความเร็ว เวลา ความกดดัน ในเวลากระชั้นสูง เนื้อหาต่างๆ ขณะเดียวกันบางข้อมูลต้องค้นหาเชิงลึกแต่มีเวลาจำกัด รวมถึงการตั้งรับกับคำถามที่จะต้องแก้ไขทันที ตรงนี้จึงกดดันค่อนข้างมาก ถ้าถามว่า คนสื่อออนไลน์จะเครียดน้อยกว่าคนทำสื่อประเภทอื่นหรือไม่ ตอบเลยว่า ไม่ใช่ และเผลอๆ ในบางกรณี จะเครียดกว่าด้วยซ้ำ!!

“คนทำสื่อออนไลน์ มีปัญหาสุขภาพจิตไม่น้อยไปกว่าสื่ออื่น เพราะการทำสื่อออนไลน์ต้องอัปเดตสม่ำเสมอตลอดเวลา สื่ออื่นไม่ต้องอัปเดตตลอดเวลา แต่ตอนนี้คนทำสื่อทุกประเภทยุคนี้ ก็มีความเครียดมากขึ้นเมื่อเทียบกับยุคอื่น เพราะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา ความกดดัน ทำให้ร่างกาย และจิตใจ ทำงานพร้อมกันๆ อย่างรวดเร็ว เครียดสะสม ร่างกายอ่อนล้า อารมณ์ฉุนเฉียว  บางคนเห็นสัญญาณเตือนในมือถือก็มีอาการผวา ถ้าเป็นหนักๆ จะซึมเศร้า วิตกกังวล”

นายแพทย์อภิชาติ บอกว่า ต้องสังเกตตัวเองบ่อยๆ โดยให้ดูจากอาการทางกายก่อน เช่น ปวดหัว มีอาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ปวดเนื้อปวดตัว สมาธิไม่ดี ถ้าเป็นมากๆ อาจมีอารมณ์ฉุนเฉียวขึ้นได้ ถ้ามากไปกว่านั้นอาจเกิดเป็นโรคบางอย่าง เช่น ออฟฟิศซินโดรม  เป็นลม พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือโรคเดิมที่เคยเป็นอยู่กำเริบ

ส่วนหาทางออกเมื่อเกิดความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิต ให้ขอคำปรึกษาจากคนรอบตัวที่ไว้ใจได้ หรือ โทรสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับคำแนะนำเบื้องต้น หรือ อาจเข้าไปพบจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือ ที่โรงพยาบาลศรีธัญญา จะมีทีมค่อยให้คำปรึกษาดูแล เพราะทุกวันนี้ มีผู้ผลิตสื่อออนไลน์ ผู้บริโภคสื่อออนไลน์ มาขอรับคำปรึกษาที่โรงพยาบาลศรีธัญญามากขึ้นจากแต่ก่อน โดยเฉพาะความเครียดจากการใช้ชีวิตในการทำงาน

รพ.ศรีธัญญาไม่น่ากลัว หากใครอยากรู้จักศรีธัญญามากขึ้น มาเจอกันได้ที่สยามสแควร์วัน ในวันที่ 1 ธ.ค. จะมีงานของมูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญา ตั้งแต่เวลา 16.00 – 21.00 น. เกี่ยวกับ รพ.ศรีธัญญาซึ่งได้เปลี่ยนไปแล้ว ไม่เป็นรพ.น่ากลัว แต่เป็นสถานที่ที่จะช่วยหาทางมอบความสุขให้สุขภาพจิตเราดีขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า