Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เลี่ยงกระทบต้นสังกัด “สังศิต พิริยะรังสรรค์” ประกาศยุติทำโพลในนาม ม.รังสิต หลังผลสำรวจล่าสุด “พล.อ.ประยุทธ์” ยังนำถูกโจมตีว่าไม่เป็นกลาง

จากกรณีที่ “รังสิตโพลล์” เปิดเผยผลการสำรวจความนิยมของประชาชนต่อบุคคลและพรรคการเมืองที่จะมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลหลังวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคะแนนมาเป็นอันดับที่ 1 ตามด้วย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (เพื่อไทย) ,นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ประชาธิปัตย์) , นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (อนาคตใหม่) และ นายอนุทิน ชาญวีรกูล (ภูมิใจไทย)

ภาพจาก FB สังศิต พิริยะรังสรรค์

วันที่ 29 ธ.ค. นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้อำนวยการโครงการสำรวจ หรือทำโพลในครั้งนี้ ได้ประกาศยุติการทำโพลในนามมหาวิทยาลัยรังสิตแล้ว หลังจากผลการสำรวจครั้งล่าสุดได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เป็นกลาง เพราะไม่น่าเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะได้รับคะแนนนิยมเป็นอันดับหนึ่ง

โดยเปิดเผยว่า เพื่อรักษาชื่อเสียงและความเป็นกลางทางการเมืองของมหาวิทยาลัยรังสิต ตนในฐานะผู้อำนวยการโครงการจัดทำโพลจึงขอประกาศยุติการทำรังสิตโพลล์นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หากในอนาคตจะทำการสำรวจโพลจะถือว่ามิได้เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยรังสิตแต่ประการใดทั้งสิ้น

สำหรับผลการสำรวจล่าสุดระบุว่า รวบรวมตัวอย่างจำนวน 8,000 ตัวอย่าง ตามโครงสร้างประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในวันที่ 24 ธันวาคม 2561 ตามภาคอาชีพ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ฯลฯ ใน 350 เขตเลือกตั้งใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ ด้วยระดับความน่าเชื่อมั่นทางสถิติ 90 % ผลการศึกษาสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1.ผลการสำรวจคะแนนนิยมที่ประชาชนต้องการบุคคลมาเป็นนายกรัฐมนตรีภายหลังการเลือกตั้งตามลำดับ คือ (1) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 26.04 % (2) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 25.28 % (3) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 22.68 % (4) นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 9.9 %  และ (5) นายอนุทิน ชาญวีรกูล 9.23 %  6) อื่น ๆ รวมกัน 6.86 %

ทั้งนี้ นายสังศิต เคยชี้แจงเรื่องคำวิจารณ์ต่อรังสิตโพลล์ ไว้ในเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุตอนหนึ่งว่า

“เป็นเรื่องน่าสนใจที่จะตั้งคำถามว่าในเมื่อมีสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่ทำโพลล์อยู่แล้วมาเป็นเวลาหลายปีอย่างเนื่อง แต่โพลล์เหล่านั้นเพียงแต่ถูกรายงานในสื่อมวลชนแต่มักไม่มีการถกเถียงกันอย่างเอาจริงเอาจังเหมือนรังสิตโพลล์ ผมคิดว่ารังสิตโพลล์แตกต่างจากโพลล์ทั่วไปอย่างน้อย 2 ประการคือ ประการแรก รังสิตโพลล์เป็นการทำโพลล์ตามหลักวิชาการจริง เพราะเราเอาโครงสร้างของประชากรทั้งประเทศที่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งเป็นฐาน มีการกระจายตัวอย่างตามภูมิภาค อาชีพ เพศ อายุ ระดับการศึกษาและอื่นๆ ระดับความเชื่อมั่นของเราสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ (เวลาออกข่าวถ่อมตัวว่า 90 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่โพลล์อื่นๆ นั้นใช้ตัวอย่างระหว่าง 1,200-2,000 โดยประมาณ สำหรับผมแล้วนี่ไม่ใช่โพลล์ในความหมายของมันจริงๆ แต่น่าจะเรียกว่าเป็นการสำรวจทัศนคติ (attitude) ของคนจำนวนหนึ่งอาจจะเป็น 2,000-3,000คน ในประเด็นหนึ่งๆ เท่านั้น”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า