SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่ออุปสรรคใหญ่ของภารกิจช่วยนักเตะทีมหมูป่าทั้ง 13 ชีวิต คือ ‘การต่อสู้กับธรรมชาติ’ ความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ‘ถ้ำหลวง’ จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าภารกิจครั้งนี้ จะสำเร็จลุล่วงและผ่านไปด้วยดี แต่ยังมีอีกภารกิจที่เจ้าหน้าที่ต้องสานต่อ คือการฟื้นฟูธรรมชาติถ้ำหลวงให้กลับคืนสู่สภาพเดิม

1. การสำรวจปล่องหรือโพรงถ้ำ 

การสำรวจปล่องหรือโพรงถ้ำตามธรรมชาติ เป็นหนึ่งในความเป็นไปได้ที่จะหาทางเข้าไปด้านในถ้ำ เพื่อค้นหาและพานักเตะทั้ง 13 ออกจากถ้ำ ซึ่งทำได้โดยใช้วิธีการโรยตัวลงไป และอาจใช้อุปกรณ์เจาะเพิ่มเติม เพื่อขยายปล่องให้มีขนาดใหญ่

การสำรวจปล่องหรือโพรงถ้ำได้ดำเนินการตั้งแต่วันแรกๆ ของการปฏิบัติภารกิจการค้นหานักเตะหมูป่า 13 ชีวิต ซึ่งจุดที่พบโพรง แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือบริเวณฝั่งซ้ายหรือฝั่งพัทยาบีช และฝั่งขวาหรือบริเวณดอยผาหมี

เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ที่ผ่านมา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เผยว่า จนท. ได้ทำการเจาะโพรงเพื่อสำรวจหาทางเชื่อมเข้าสู่ภายในถ้ำไปเป็นร้อยโพรงแล้ว แต่ใช้การได้เพียง 18 โพรง ซึ่งโพรงที่มีความเป็นไปได้สูงสุดมีความลึก 400 เมตร

2. การขุดเจาะน้ำบาดาล

การเจาะน้ำบาดาล เป็นวิธีสูบน้ำออกมาอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการใช้ปั๊มน้ำสูบน้ำออกโดยตรง จากรายงานพบว่า ได้ทำการขุดเจาะทั้งหมด 20 จุดเพื่อหาตาน้ำและเร่งระบายน้ำออกจากถ้ำ ได้แก่
– บริเวณปากทางเข้าถ้ำ 3 จุด
– บริเวณปากทางเข้าบ้านจ้อง ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย 13 จุด
– เหนือบริเวณจุดสามแยกไปทางขวา 2 จุด
– เหนือบริเวณเนินนมสาว 2 จุด

ข้อมูลจาก : สุรทิน ชัยชมภู นายกสมาคมน้ำบาดาลไทย

3. การเจาะผนังถ้ำหลวง

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. มีการเจาะผนังถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน บริเวณหน้าถ้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากถ้ำการเจาะผนังถ้ำต้องเจาะลงไปในชั้นหิน โดยใช้เครื่องเจาะหัวไจโร directional drill เจาะที่ผนังถ้ำจุดแรกในแนวเฉียง 45 องศาเข้าหาถ้ำ ลึก 70 เมตรแต่ไม่สำเร็จ จึงเปลี่ยนมาเจาะในแนวดิ่งแทน แต่ภารกิจต้องล้มเลิก เพราะเจอแต่โพรงน้ำ ไม่เจอตาน้ำตามที่ตั้งเป้าไว้

4. การทำทางเบี่ยงน้ำ/สร้างฝายชั่วคราว

นอกจากวิธีการสูบน้ำและเจาะน้ำบาดาลเพื่อระบายน้ำออกจากถ้ำ ยังมีการทำทางเบี่ยงน้ำ (Bypass) หรือดำเนินการสร้างฝายชั่วคราว เพื่อสกัดกั้น และเปลี่ยนช่องทางไหลของน้ำให้พ้นจากแนวรอยรั่วเข้าถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน

กรมชลประทาน ระบุว่า มีการสร้างฝายชั่วคราว 3 แห่ง ดังนี้

1. ฝายกั้นลำห้วยน้ำดั้น ใช้ท่อผันน้ำขนาด 4 นิ้ว ยาว 400 เมตร จำนวน 4 แถว ในการผันน้ำ
2. ฝายกั้นลำห้วยผาหมี ใช้ท่อขนาด 4 นิ้ว ยาว 400 เมตร จำนวน 3 แถว
3. ฝายกั้นลำหัวยผาฮี้ บริเวณบ้านมูเซอผาฮี้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ขนาด 4 นิ้ว ยาว 300 เมตร จำนวน 4 แถว

5. ใช้รถแบ็คโฮเปิดทางน้ำ

มีการใช้รถแบ็คโฮเปิดทางน้ำท้ายถ้ำหลวง หรือบริเวณถ้ำทรายทอง เพื่อติดตั้งเครื่องสูบน้ำพญานาคและขยายทางน้ำให้น้ำจากในถ้ำระบายออกมาได้แรงและเร็วขึ้น

6. การเปลี่ยนแปลงภายในถ้ำหลวง

เส้นทางเดินในถ้ำหลวงมีทั้งโถงกว้างและทางแคบ การปฏิบัติภารกิจครั้งนี้จึงมีอุปสรรค เมื่อนักประดาน้ำไม่สามารถขนถังออกซิเจนเข้าไปได้ ทำให้นักประดาน้ำหน่วยซีล ต้องขุดทะลวงทรายที่อุดช่องทางที่แคบให้กว้างขึ้น เพื่อไปยังจุด พัทยา บีช นอกจากนี้ ภายในถ้ำหลวงเป็นพื้นที่ปฏิบัติภารกิจมากที่สุด ซึ่งมีการติดตั้งอุปกรณ์และเครื่องมือมากมายตั้งปากทางเข้าถ้ำ ความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่จึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้

7. การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติโดยรอบ

แม้ว่าจะไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน แต่การปฏิบัติภารกิจร่วมหลายวัน พร้อมทั้งผู้คนที่มาเยือน และการติดตั้งขนย้ายเครื่องมือจำนวนมาก ย่อมส่งผลกระทบต่อธรรมชาติโดยรอบ เช่น ป่าไม้ หรือผิวดิน ทั้งในบริเวณที่ปรับปรุงเป็นลานจอดเฮลิคอปเตอร์ 2 จุด บริเวณปล่อง บริเวณที่มีการปิดกั้นเส้นทางน้ำและทำฝาย ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจครั้งนี้จะต้องเร่งฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิม

 

 

 

 

 

ติดตามข่าวที่น่าสนใจได้ที่ http://www.workpointnews.com

Facebook / https://www.facebook.com/WorkpointNews/

Instagram / https://www.instagram.com/workpointnews/

Twitter / https://twitter.com/WorkpointShorts

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า