SHARE

คัดลอกแล้ว

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/686690148383733/?v=686690148383733

ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น) แนะทางออก-แก้ไข-ป้องกัน หลังเกิดกรณีรุ่นพี่ทำร้ายรุ่นน้องอย่างรุนแรงภายในโรงเรียน ที่ จ.พะเยา ชี้ต้องสร้างระบบ “ป้องกันการรังแกกันระหว่างชั้นเรียน” เยียวสภาพจิตใจเด็กที่ถูกทำร้ายอย่างใกล้ชิด

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น) ให้สัมภาษณ์กับ ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ กรณีคลิปนักเรียนชั้น ม.2 จำนวน 8 คน รุมทำร้ายเด็กรุ่นน้องชั้น ป.4 ที่โรงเรียนบ้านดง อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยาว่า โรงเรียนสอบตก เรื่อง Classroom management หรือ การจัดการห้องเรียนให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดการไม่ต้องใช้อำนาจแต่ใช้วินัยเชิงบวก ใช้การเรียนรู้ระหว่างชีวิตต่อชีวิต ไม่รุกล้ำสิทธิเด็ก และการช่วยป้องกันแทนที่ถ่ายคลิปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

(รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น)

รศ.นพ.สุริยเดว แยกเรื่องการดูแลบุคคลในเหตุการณ์นี้ออกมาเป็น 2 กลุ่ม คือ “ฝ่ายถูกทำร้าย” ต้องใช้แผนพัฒนาเด็ก (IDP plan) ด้วยการเยียวยาที่ไม่ใช่เรื่องเงินทอง แต่หมายถึง สภาวะทางจิตใจให้เด็กคนนี้มีความรู้สึกว่า โรงเรียนมีความปลอดภัย พ่อแม่มีความรู้สึกว่า เมื่อเด็กก้าวเข้ามาในโรงเรียนแล้วปลอดภัย ต้องมีระบบป้องกันการรังแกกันระหว่างชั้นเรียนต่อชั้นเรียน หรือ การสร้างแล้ว Anti bullying programs (โปรแกรมต่อต้านการกลั่นแกล้ง)

“เด็กที่ถูกกระทำ จำเป็นต้องปรึกษานักจิตวิทยา จิตแพทย์ จำเป็นอย่างมาก เพราะว่า เขาถูกกระทำ และเขาเป็นเด็กที่ด้อยโอกาสด้วย เพราะอยู่ในสภาวะที่ยากลำบากของเขา พ่อแม่เองก็น่าจะมีโอกาสได้พบกับทางจิตแพทย์ เพื่อจะได้รับการเยียวยา สภาวะทางจิตใจ ระบบที่โรงเรียนสร้างขึ้นมาจะทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า เด็กจะไม่ถูกกระทำอีกแล้ว แล้วจะต้องมีครูคนนึงที่เด็กคนนี้รัก สนิท และอบอุ่น เป็นคนที่คอยติดตามอย่างใกล้ชิด”

กรณีครอบครัวของเด็กที่ถูกทำร้าย จะให้เด็กย้ายจากโรงเรียนเดิม รศ.นพ.สุริยเดว กล่าวว่า เป็นสิทธิ์ของเขา แต่เป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่จะต้องไปช่วยเยียวยาเด็กคนนี้ด้วย ปล่อยไม่ได้ อย่าหลุดจากความเป็นเจ้าภาพเด็ดขาด หมอขอย้ำขีดเส้นใต้ ไม่ใช่เห็นว่า เขาลาออกไปแล้วก็เป็นเรื่องของพ่อแม่ ไม่ได้ โรงเรียนต้องรับผิดชอบในส่วนนี้ด้วย ในการที่จะพาเด็กคนนี้ไปให้ได้รับกระบวนการเยียวยาให้เรียบร้อย

ส่วน “ฝ่ายที่กระทำ” รศ.นพ.สุริยเดว บอกว่า ให้นำเด็กทุกคนมาถามคำถาม โดยคุณครูและนักจิตวิทยา ด้วยชุดคำถาม 3-4 ข้อนี้ ให้เด็กทั้งหมดดูคลิปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีกครั้งแล้วถามเด็ก ดังนี้

  1. ดูคลิปแล้วรู้สึกอย่างไร
  2. คิดว่าได้เรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์นี้
  3. จะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร
  4.  จะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้อย่างไร

รศ.นพ.สุริยเดว บอกว่า วิธีตั้งคำถามนี้ครูจะรู้ได้ทันทีว่า แกนนำที่ไปก่อการต่างๆ มีคนไหนบ้างที่พอจะปรับทัศนคติไปในทิศทางบวกได้ ถ้าคนไหนได้ เราดึงคนนั้นมาเป็นแกนนำในการสร้างระบบเฝ้าระวังให้กับโรงเรียน พูดง่ายๆ เป็น หัวโจกฝ่ายดี ไม่ใช่เป็นหัวโจกฝ่ายร้าย โดยมีพันธสัญญาเลยว่า ต้องไปทำระบบเฝ้าระวังให้โรงเรียน ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะแบบนี้ ส่วนเด็กที่ถ่ายคลิป หมอเข้าใจว่าอันนี้จะต้องช่วยให้เขารู้จักเรื่องสิทธิเด็ก ดึงมาถามเหมือนกัน แล้วดึงให้เป็นแกนนำพัฒนาระบบเฝ้าระวังเกี่ยวข้องกับสื่อ ครูก็ต้องเป็นโค้ชชิ่งให้

“หมอเชื่อมั่นอยู่อย่างนึง คือ ทุกห้องมีเด็กดี ไม่ได้มีแต่เด็กแก่น หรือ เด็กเกเรเสมอ”

“ต้องเข้าใจธรรมชาติของเด็กวัยรุ่น เมื่อเขารวมตัวอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนขึ้นมาเมื่อไหร่ พลังเขาเยอะไง ถ้าชวนกันไปก่อการดี เขาก็เอาพลังไปใช้ในทิศทางที่ดี แต่ถ้าชวนกันไปก่อการร้าย พูดง่ายๆ เหมือนคล้ายๆ อย่างนี้ เขาก็จะทำโดยที่ไม่ยั้งคิด ว่า สิ่งที่ทำมันไม่เหมาะ มันไม่ควร”

“โรงเรียนไม่ได้มีระบบพวกนี้ไว้เลย ใช้ระบบเฝ้าระวังโดยใช้เด็กก่อการนี่แหล่ะ คือ อย่าไปคิดในมุมนึงว่า ถ้าอย่างนั้น เอาเด็กพวกนี้ไปกวาดขยะ ไปทำจิตอาสา น้ำใจแบ่งปันอะไรทั้งหลาย ไม่ได้ เด็กพวกนี้ แต่ไม่ใช่เลือกทุกคน ให้ใช้วิธีแยกมาคุย รายบุคคล แล้วโรงเรียนเองจะรู้เลยว่า คนไหนมีทัศนคติที่เป็นบวก ไม่ใช่เด็กที่ปรับทัศนคติยาก

ทัศนคติที่เป็นเชิงบวก มาทำให้เป็นแกนนำในการเฝ้าระวัง ไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้กับกรณีเคสอื่นๆ หมอเข้าใจว่า แบบนี้โรงเรียนน่าจะต้องติดอาวุธขึ้นมา Anti bullying programs ดึงนักจิตวิทยาของประจำท้องถิ่น มาดีไซน์โปรแกรมร่วมไปด้วยเลย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองว่า เหตุการณ์ในลักษณะนี้โรงเรียนก็ต้องออกมาขอโทษ ถูกไหมว่าได้ดูแลอาจจะไม่ครอบคลุมทั่วถึง คือระบบแบบนี้จะต้องเกิดขึ้น” รศ.นพ.สุริยเดว กล่าว

สำหรับความเห็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นโซเชียล รศ.นพ.สุริยเดว มองว่า โซเชียลมีสองอย่าง เป็นดาบสองคม อย่างแรกเราจะเห็นเลยว่า คนใช้โซเชียลกลับไม่รู้จัก สิทธิเด็ก และสิทธิมนุษยชน เรามีปัญหากับเรื่องนี้มาก ต้องยอมรับว่า ระบบการศึกษาก็ไม่ได้ไปพัฒนาส่วนนี้

อีกด้าน โซเชียลมีคุณประโยชน์ คือ ไม่เช่นนั้น เรื่องแบบนี้ไม่ถูกปรากฏออกมา แต่หมอมองว่า แทนที่เขาเผยแพร่ผ่านสื่อ ส่งไปให้กระทรวงศึกษาธิการทีมที่เขากำลังลงพื้นที่ดีหรือไม่ แล้วกระทรวงศึกษาธิการ หมอฝากนิดนึงว่า ช่วยเผยแพร่หมายเลขโทรศัพท์ที่สาธารณชนรับรู้เลยว่า หากมีเหตุเกิดให้ไปร้องที่นี่ ทำระบบร้องเรียนให้ชัดเจนหน่อยได้ไหม ระดับเขต จังหวัด ภูมิภาค ประเทศ ใครก็ตามที่เห็นคลิปไม่ดี แทนที่จะโพสต์ในสาธารณะ ส่งไปทางหน่วยเฉพาะกิจของทางกระทรวง เพื่อให้ช่วยเหลือเด็กต่อไปเลย และไปสอนเรื่องสิทธิเด็กด้วย วิชาพวกนี้ขอให้เกิดขึ้นในระบบการศึกษา ชั่วโมงการเรียนรู้ ไม่ใช่เร่งรัดแค่วิชาการ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า