SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ- รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามและเร่งรัดการทำเกษตรอินทรีย์สู่ครัวโลก นำร่องในพื้นที่ จ.มหาสารคาม 1 ใน 3 จังหวัด ที่รัฐบาลได้กำหนดเป้าหมายภายในปี 2564 จะเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 600,000 ไร่ และเกษตรกรไม่น้อยกว่า 30,000 ราย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (4 พ.ย. 60) นายธนิตย์ เอนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามและเร่งรัดการดำเนินงานการทำเกษตรอินทรีย์สู่ครัวโลก ที่กลุ่มเกษตรอินทรีย์ปลูกข้าวหนองหอย-เชียงส่ง ต.เลิงใต้ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม โดยมีส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สภาเกษตรกร มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการดำเนินงาน

นายธนิตย์ อเนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ภาคการเกษตร มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม เป็นสาขาการผลิตที่สร้างอาชีพให้กับประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ และมีบทบาทสำคัญยิ่งเกี่ยวกับความมั่งคงในด้านอาหาร พลังงานทดแทน เป็นวัตถุดิบภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหารในลำดับต้นๆ ของโลกตลอดมา

โดยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลกถดถอย ประเทศคู่ค้ามีกำลังซื้อลดลง การส่งออกมีการแข่งขันมากขึ้น และมีเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นหลายครั้ง ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยเป็นอย่างมาก ดั้งนั้นผู้เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร ทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และเกษตรกร จะต้องมีการปรับตัว ปรับกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน เพื่อรองรับสถานการณ์การค้าที่เปลี่ยนไป

ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายที่จะยกระดับสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น จึงจัดให้มีมาตรการในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร การแปรรูป การพัฒนาศักยภาพ การตรวจสอบและการรับรองมาตรฐานสินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศ สร้างความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคอื่นๆ เพื่อขยายตลาดให้มากขึ้น โดยรัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้เกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ ภายในปี 2564 จะเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 600,000 ไร่ และเพิ่มจำนวนเกษตรกรไม่น้อยกว่า 30,000 ราย

จ.มหาสารคาม เป็น 1 ใน 3 จังหวัดที่รัฐบาลได้กำหนดเป็นพื้นที่นำร่องในการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์บูรณาการ ที่จะต้องนำแผนงานโครงการและงบประมาณ ให้การสนับสนุน ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ และประมง  การปรับปรุงบำรุงดิน และการตรวจประเมินมาตรฐานแปลง รวมถึงแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

สำหรับ จ.มหาสารคาม ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 2.3 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์กว่า 20,000 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่จะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ซึ่งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ปลูกข้าวหนองหอย-เชียงส่ง ต.เลิงใต้ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม  เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่จังหวัดจะให้การสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่ม ให้ไปสู่เป้าหมายตามนโยบายรัฐบาลต่อไป

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า