SHARE

คัดลอกแล้ว

ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ลงพื้นที่ติดตามเหตุแผ่นดินไหวที่เกาะลอมบอกของประเทศอินโดนีเซีย ที่สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง บ้านเรือนนับพันหลังพังพินาศ มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 14 คน บาดเจ็บหลายร้อยคน ด้านสถานทูตไทย เร่งส่งเฮลิคอปเตอร์ ไปรับนักท่องเที่ยวไทยที่ไปติดอยู่บนภูเขาไฟรินจานี

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า เหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.4 บนเกาะลอมบอก ที่อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 14 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 5 คน มีผู้บาดเจ็บเบื้องต้น 162 คน ขณะที่บ้านเรือนประชาชนพังเสียหายหลายพันหลังคาเรือน มีทางการท้องถิ่นประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นเวลา 3 วัน โดยวันนี้ (30 ก.ค. 61 ) นายโจโก วีโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย จะเดินทางไปที่เกาะลอมบอก เพื่อติดตามการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย

กระทรวงการต่างประเทศของมาเลซีย แถลงว่า ในจำนวนผู้เคราะห์ร้ายของเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเกาะลอมบอก มีชาวมาเลเซียเสียชีวิต 1 คนและบาดเจ็บ 6 คน

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของอินโดนีเซีย รายงานว่า ได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกมากกว่า 130 ครั้ง บนเกาะลอมบอกความรุนแรงวัดได้สูงสุด 5.7 แมกนิจูด หลังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.4 เมื่อวันอาทิตย์ และไม่มีการเตือนภัยสึนามิ

(ภาพจาก FB : หนูภา แว่น)

ส่วนกรณีนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่ติดอยู่บริเวณด้านล่างของภูเขาไฟรินจานี (Mount Rinjani) ที่เกาะลอมบอก (Lombok) ประเทศอินโดนีเซีย หลังจากแผ่นดินไหวขนาด 6.4 บนเกาะลอมบอก ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ชื่อ หนูภา แว่น หนึ่งในนักท่องเที่ยวคนไทยที่ติดอยู่บริเวณภูเขาไฟรินจานี ได้โพสต์ข้อความในเช้าวันนี้ (30 ก.ค. 61) ส่วนหนึ่งระบุว่า “เมื่อคืนมีเสียงหินร่วงทุกชั่วโมง มีแผ่นดินไหวช่วงตีสาม อากาศ 12” หนาวเหน็บ…ขณะนี้จุดที่มีคนไทยอยู่ 3 ใน 4 จุด ทางเจ้าหน้าที่อินโดนิเซียได้ทำการอพยพนักท่องเที่ยวออกมาเรียบร้อยแล้ว เหลืออีกหนึ่งจุดที่เป็นจุดใหญ่สุด ที่มีนักท่องเที่ยวไทยอยู่ประมาณ 300 คน ยังไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ทางบก แต่ทางเจ้าหน้าที่กำลังเข้าพื้นที่ทางอากาศโดยเฮลิคอปเตอร์ ผช.ทูตทหารบกไทย ที่จากาตาร์จะเดินทางเข้าพื้นที่พรุ่งนี้เช้าไฟล์ทแรก”

https://www.facebook.com/duannapa.nokhook/posts/2175724969115549

ขณะที่ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Supaporn Bangmoung โพสต์เฟซบุ๊กล่าสุดว่า คนไทยที่ติดอยู่ที่ภูเขาไฟริจานีได้เริ่มออกเดินออกไปหาความช่วยเหลือ

https://www.facebook.com/supaporn.bangmoung/posts/2297149546978306

ขณะที่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา Royal Thai Embassy, Jakarta ระบุว่า ตามที่มีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางท่องเที่ยวบริเวณภูเขาไฟรินจานีที่เกาะลอมบอก และติดอยู่บริเวณภูเขาไฟฯ เนื่องจากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา อยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อคนไทยที่ติดอยู่บริเวณภูเขาไฟดังกล่าวได้จำนวน 239 คน (ณ เวลา 20.00 น. ของวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา) ซึ่งส่วนใหญ่ได้เดินทางไปเป็นกลุ่ม และมีไกด์ชาวอินโดนีเซียนำไป

สถานเอกอัครราชทูตฯ และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองเดนปาซาร์ (บาหลี) ติดต่อกับกลุ่มคนไทยอยู่โดยตลอด และได้ประสานหน่วยงานในพื้นที่ของอินโดนีเซีย กระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย และหน่วยงานกู้ภัยของทหารอินโดนีเซีย เพื่อหาทางให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ติดอยู่

ล่าสุด เจ้าหน้าที่กู้ภัยในพี้นที่ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยวที่ติดอยู่ในพื้นที่ 4 จุด ได้แก่ Bayan (North Lombok) / Sembalun / Sambelia / Brang Rea (East lombok) และกำลังให้ความช่วยเหลือในจุดอื่นต่อไป อย่างไรก็ดี ยังมีบางจุดที่ยังไม่สามารถเข้าไปให้ความช่วยเหลือได้

กระทรวงท่องเที่ยวอินโดนีเซียได้ออกประกาศเตือนให้นักท่องเที่ยวติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตามแนวทางของรัฐบาลอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ท่าอากาศยานลอมบอกยังเปิดให้บริการตามปกติ

ทั้งนี้ สามารถติดต่อหมายเลขฉุกเฉินของสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองเดนปาซาร์ +62 813 37316669 และหมายเลขฉุกเฉินของสถานทูตฯ +62 811 186253 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และลงทะเบียนรายชื่อออนไลน์ ได้ที่ (https://goo.gl/forms/fWfrWhWb9ZlU1AjG3)

ภูเขาไฟรินจานี (Mount Rinjani) เป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับสนิท ซึ่งมีทิวทัศน์สวยงามมากอีกแห่งของอินโดนีเซีย จนได้รับสมญานามว่า Queen of Lombok มีความสูงประมาณ 3,726 เมตร สูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศอินโดนีเซีย “รินจานี” เป็นจุดหมายปลายทางของนักปีนเขา และผู้ที่ชื่นชอบการเดินป่าทั่วโลก

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์ : workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว   
ยูทูบ: workpoint news   
ทวิตเตอร์: workpoint news   
อินสตาแกรม: workpointnews

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า