SHARE

คัดลอกแล้ว

ร่าง พ.ร.บ.ข้าวฉบับใหม่ กำลังอยู่ระหว่างพิจารณาในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่สองและสามของสนช.ในเวลาอันใกล้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าวมีปริมาณและคุณภาพเพียงพอต่อการบริโภคและคุ้มครองชาวนาให้ได้รับความเป็นธรรม
ทีมข่าวเวิร์คพอยท์พามาสำรวจเสียงสะท้อนต่อร่าง พ.ร.บ.นี้กัน

หมายเหตุ: ข้อกฎหมายอ้างอิง ร่าง พ.ร.บ.ข้าว ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2561 จาก http://web.senate.go.th/bill/bk_data/455-1.pdf เนื่องจากเป็ฯร่างที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของสนช.ในวันที่เผยแพร่บทความนี้

ร่างพรบ.ข้าวมาตราที่ 20 กำหนดให้ผู้รับซื้อข้าวเปลือกต้องออกใบรับซื้อข้าวเปลือกทุกครั้งเพื่อเป็นหลักฐานในการรับซื้อข้าวเปลือก โดยต้องมีรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่อธิบดีกรมการข้าวกำหนด โดยต้องเก็บรักษาหลักฐานนี้เป็นเวลา 5 ปี เพื่อยืนยันหากถูกสุ่มตรวจสอบ

คณะกรรมาธิการพิจารณาให้เหตุผลในเอกสารประกอบการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่า เป็นไปเพื่อแก้ปัญหาผู้ขายข้าวเปลือกไม่มีหลักฐานในการขอคืนภาษี นอกจากนี้ยังแก้ปัญหาการนำข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ และแก้ปัญหาการรับซื้อในราคาไม่เป็นธรรม และจะทำให้รัฐมีข้อมูลในการกำหนดนโยบายหรือยุทธศาสตร์ด้านข้าวอย่างครบถ้วน

อย่างไรก็ดี ข้อกำหนดนี้สร้างความกังวลในกลุ่มโรงสี โดยเชื่อว่าจะสร้างภาระให้โรงสีเกินจำเป็นและหากมีการบันทึกไม่ตรงกับข้อเท็จจริงก็มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีและปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังมีเสียงจากกลุ่มอื่น ๆ แสดงความกังวลว่าหากโรงสีต้องรับภาระต้นทุนการตรวจสอบคุณภาพและจัดทำใบรับรอง ภาระตรงนี้อาจถูกผลักไปยังชาวนาที่ขายข้าว เป็นผลให้ราคาซื้อข้าวถูกกดลงต่ำกว่าเดิมหรือไม่

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์สืบค้นเพิ่มเติมพบว่าคณะกรรมาธิการพิจารณาให้เหตุผลในเอกสารประกอบการพิจารณาร่างพ.ร.บที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของอสนช. ว่า การตรวจสอบคุณภาพข้าวอย่างละเอียดที่ต้องระบุทั้งความชื้น เปอร์เซ็นต้นข้าว เปอร์เซ็นความงอก และสิ่งเจอปนหรือพันธุ์ปนอื่นจะบังคับใช้กับข้าวเปลือกที่ทำเมล็ดพันธุ์หรือตามที่คณะกรรมการกำหนดเท่านั้น ไม่ได้บังคับใช้กับการขายข้าวเปลือกทั่วไปแก่โรงสี

ทั้งนี้สมาคมโรงสียืนยันว่ากฎหมายนี้ควบคุมโรงสีเข้มงวดเกินความจำเป็น เนื่องจากการประกอบการโรงสีอยู่ใต้พ.ร.บ.การค้าข้าวของกระทรวงพาณิชย์อยู่แล้ว

มาตราที่ 22, 26 และ 30 ของร่างพ.ร.บ.ข้าว ระบุว่าไม่ให้มีการจำหน่ายเม็ดข้าวที่ไม่ได้รับการรับรองสายพันธุ์และไม่ได้รับใบอนุญาตของผู้ตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือก ก่อให้เกิดกระแสความห่วงใยว่าต่อจากนี้ไปชาวนาที่ทำนาด้วยวิถีดั้งเดิม เก็บเมล็ดไว้ใช้เองโดยไม่ลงทะเบียนเป็นระบบจะยังทำได้หรือไม่? เนื่องจากหากฝ่าฝืนกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อนี้รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ว่าอาจจะลดแรงจูงใจของการพัฒนาพันธุ์ข้าวแบบพื้นบ้านด้วยเนื่องจากการพัฒนาพันธุ์ข้าวของชาวนาไม่ใช่ระบบบริษัทที่มีกำหนดการขึ้นทะเบียนรับรองชัดเจน แต่จะค่อย ๆ ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนที่ผ่านมาก็ได้ข้าวพันธุ์ดีอย่างข้างสังข์หยดและข้าวเสาไห้

สอดคล้องกับความเห็นของ ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ที่เผยในเวทีเสวนา “ร่าง พ.ร.บ.ข้าว พ.ศ. …. : ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง” ว่าการวางโทษที่สูงทำให้การพัฒนาพันธุ์ข้าวสะดุดลง ข้าวไทยอาจพัฒนาไม่ทันการแข่งขันกับนานาชาติ

นอกจากนี้ยังมีกระแสในโลกออนไลน์ว่าการออกกฎหมายเช่นนี้เป็นการเอื้อให้ทุนใหญ่ผูกขาดการค้าเมล็ดพันธุ์ได้ง่ายขึ้นหรือไม่ ซึ่งในประเด็นนี้ นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ กรรมาธิการวิสามัญที่พิจารณาร่างพ.ร.บ.ข้าว ให้สัมภาษณ์แก่สื่อในวันนี้ (14 กุมภาพันธ์ 2562) ว่าบทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ห้ามเฉพาะกลุ่มนายทุนเท่านั้น แต่ถ้าเป็นกลุ่มชาวนาที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการมีการเก็บเมล็ดพันธุ์เอาไว้ และทำการแลกเปลี่ยนกันในเครือข่ายชาวนาด้วยกันจะไม่มีความผิด


ทีมข่าวเวิร์คพอยท์สำรวจร่างพรบ.ดังกล่าว พบว่าในวรรค 2 ของมาตรา 26 ระบุว่า กฎหมายข้อนี้จะไม่บังคับใช้กับชาวนาที่ขายหรือแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มาจากที่นาของตัวเอง อย่างไรก็ดีมีข้อสังเกตว่าจในกรณีที่ชาวนาหลายคนปลูกข้าวบนที่ดินที่เช่าทำนาร่างกฎหมายนี้จะงดเว้นด้วยหรือไม่?

พ.ร.บ. ข้าวมาตราที่ 15 ให้กรมการข้าวทำหน้าที่และใช้อำนาจสนับสนุนเลขานุการคณะกรรมการข้าว โดยขยายอำนาจกรมการข้าวให้มีหน้าที่กำกับ ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าวและเมล็ดข้าว จากเดิมที่มีหน้าที่วิจัย

รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการจาก TDRI ให้ความเห็นว่าผ่านหนังสือพิมพ์ประชาชาติว่าทำให้เกิดปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนเนื่องจากกรมการข้าวอาจต้องวิจัยพันธุ์ข้าวและรับรองพันธุ์ข้าวของตัวเองด้วยตัวเอง

สมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวก็มีความเห็นเช่นกันว่าการให้จดทะเบียนตามที่ร่างพ.ร.บ.กำหนดนั้น ซ้ำซ้อนกับการขึ้นทะเบียนและขอใบอนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร โดยส่งหนังสือผ่านทางกรมการข้าวให้คณะกรรมการร่างพ.ร.บ.

ซึ่งทางคณะกรรมการได้ชี้แจงกลับไปว่าปัจจุบันการทำงานของกรมวิชาการเกษตรกับกรมการข้าวทับซ้อนกันอยู่แล้ว โดยกรมวิชาการเกษตรทำหน้าที่ออกใบรับรอง ส่วนกรมการข้าวมีความเชี่ยวชาญในพันธุ์ข้าว และยังระบุในเอกสารประกอบการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์สนช.ว่า การรวบหน้าที่ไว้ที่กรมการข้าวจะลดความซ้ำซ้อนและสร้างความสะดวกให้ผู้ประกอบการในการกำกับดูแลของรัฐเป็นที่เดียวแบบ One Stop Service

พ.ร.บ.ข้าวมาตรา 18 กล่าวว่าให้เจ้าพนักงานที่แต่งตั้งโดยรมต.ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มีอำนาจเข้าไปในที่นา เคหสถาน โรงงาน โรงสีข้าว สถานที่เก็บข้าวเปลือก ฯลฯ เพื่อเก็บตัวอย่าวข้าวเปลือก ข้าวสาร ลายข้าว รำ แกลบ ตรวจค้น ยึด อายัดสมุดบัญชีและเอกสารหรือหลักฐานใดเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการฝ่าฝืนพรบ.นี้เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งในกรณีนี้รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการจาก TDRI ก็ให้ความเห็นว่าผ่านหนังสือพิมพ์ประชาชาติว่า “เสี่ยงต่อการเรียกรับ (การทำมาหากิน) ของเจ้าหน้าที่ ทำเสมือนว่าโรงสีเป็นผู้ประกอบอาชญากรรม”

แม้ข้อชี้แจงของสนช.กล่าวว่าการบังคับดังกล่าวมุ่งให้บังคับใช้พรบ.นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการกระทำของเจ้าหน้าที่จะถูกจำกัดจากกฎหมายปกครองไม่ให้กระทำมิชอบได้ แต่ดร.นิพนธ์ก็ได้ชี้ว่า “กฎหมายนี้ออกโดยความคิดที่ล้าสมัยเรียกว่า กฎหมายยุคสงครามโลก หากต้องการปรับกฎหมายต้องลดเรื่องการให้อำนาจกำกับ ควบคุม และหันไปเน้นการทำวิจัยและพัฒนา เราทำได้เพียงเตือนถ้าผ่านร่างกฎหมายนี้ไปไทยจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันภาคเกษตรแน่นอน”

ร่างพ.ร.บ.ข้าวนี้กำลังจะเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในเวลาอันใกล้ ทิศทางของกฎหมายนี้จะช่วยเหลือชาวนามากน้อยแค่ไหนก็คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า