Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชี้แจง บัตรเลือกตั้งปีหน้าอาจไม่มี “โลโก้-ชื่อพรรค” เพื่อความสะดวกในการขนส่งบัตรไปใช้เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์พามาสำรวจรูปแบบบัตรเลือกตั้งของต่างประเทศกัน

บัตรเลือกตั้ง ส.ส.ของอังกฤษเรียบง่ายมาก เนื่องจากการเลือกตั้งของอังกฤษใช้ระบบหนึ่งเขตเลือกหนึ่งคน โดยบนบัตรมีแค่ชื่อผู้สมัครและที่อยู่สำนักงาน ผู้สมัครบางคนเป็นผู้สมัครอิสระ ไม่สังกัดพรรค แต่หากผู้สมัครรับเลือกตั้งคนไหนสังกัดพรรค จะมีชื่อและโลโก้พรรคกำกับ

วิธีการเลือกคือกากบาทในช่องที่กำกับคนที่ถูกใจเพียง 1 คนเท่านั้น

ที่มา: https://www.legislation.gov.uk/ukdsi/2015/9780111126998

บัตรเลือกตั้ง ส.ส.นิวซีแลนด์ แบ่งออกเป็นสองฝั่ง เนื่องจากคนนิวซีแลนด์ต้องเลือก 2 อย่าง คือ 1.เลือกพรรคที่ใช่เพื่อนับคะแนนแบ่งสัดส่วนส.ส. ที่แต่ละพรรคควรได้ 2.เลือกคนที่อยากให้เป็นตัวแทนในเขตของตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องเลือกตัวเลือกทั้งสองด้านให้มาจากพรรคเดียวกัน

ที่นิวซีแลนด์ไม่มีระบบเลขผู้สมัคร ในบัตรเลือกตั้งมีชื่อพรรคและชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตนั้น ๆ กำกับด้วยโลโก้พรรค

วิธีเลือกก็ง่าย ๆ เพียงแค่ “ติ๊ก” ในวงกลมที่กำกับอยู่ทั้งสองด้าน โดยคนที่เลือกและพรรคที่เลือกไม่จำเป็นต้องมาจากพรรคเดียวกัน หรือหากทำเครื่องหมายถูกแค่ข้างเดียว เลือกแค่พรรคที่ชอบแต่ไม่อยากเลือกคน หรือเลือกคนที่ชอบแต่ไม่มีพรรคที่ชอบ คะแนนที่เลือกก็จะยังถูกนับอยู่เหมือนเดิม

ที่มา: https://www.elections.org.nz/

บัตรเลือกตั้ง ส.ส.ออสเตรเลีย มีชื่อ-สกุลของผู้สมัคร หากสังกัดพรรคก็จะกำกับด้วยชื่อและโลโก้พรรคที่สังกัด

แต่จุดเด่นอยู่ที่วิธีเลือก ส.ส.ของออสเตรเลีย จะใช้วิธีเรียงลำดับความชอบผู้สมัครจาก 1 ไปจนเลขสุดท้าย หากเข้าระบบคำนวณแล้วใครได้รับความนิยมสูงสุดก็จะได้เก้าอี้ไป

ที่มา: https://www.aec.gov.au/Voting/How_to_Vote/Voting_HOR.htm

บัตรเลือกตั้งของอินโดนีเซียขึ้นชื่อเรื่องขนาด เนื่องจากบัตรเลือกตั้งใหญ่ถึงขนาดกระดาษ A2 เมื่อโหวตเสร็จต้องพับทบจนเหลือแค่ฝ่ามือจึงจะหย่อนบัตรได้
ที่ต้องใหญ่ขนาดนี้เพราะอินโดนีเซียมีหลายพรรค บัตรเลือกตั้งระบุหมายเลขประจำพรรค ชื่อและโลโก้พรรค ไม่พอ ยังต้องระบุรายชื่อ ส.ส.ที่ลงสมัครประจำเขตของแต่ละพรรค ซึ่งพรรคหนึ่งมักส่งลงเลือกตั้งไม่ต่ำกว่า 5 คนต่อเขต เนื่องจากเขตหนึ่งอาจมีเก้าอี้ส.ส. 3-10 ที่นั่งได้ทีเดียวเพราะจำนวนประชากรมาก

วิธีการเลือกใช้วิธีการ “เจาะ” โดยอุปกรณ์ที่มีในคูหา ปกติแล้วผู้สมัครมักจะรณรงค์ให้คนเจาะรูที่ชื่อของตนเพียง 1 รู ซึ่งจะหมายความว่าผู้ใช้สิทธิเลือกผู้สมัครคนนั้น ใครมีผู้ใช้สิทธิเลือกด้วยวิธีนี้มากสุดก็มีโอกาสครองเก้าอี้ไป แต่หากผู้ใช้สิทธิมีพรรคในดวงใจแต่ไม่รู้จะเลือกผู้สมัครคนไหนก็ใช้วิธีเจาะรูที่ชื่อพรรค พรรคที่ได้คะแนนมากที่สุดจะได้สัดส่วน ส.ส.ในเขตนั้นมากที่สุด แต่ต้องดูอีกทีว่าผู้สมัครคนไหนได้คะแนนโหวตมากที่สุดถึงจะได้ตัวผู้แทน

*ใช้ข้อมูลของการเลือกตั้งทั่วไปปี 2014

บัตรเลือกตั้ง ส.ว.อินโดนีเซีย ก็คงคอนเซปความใหญ่ด้วยขนาด A2 เหมือนเดิม เพียงเปลี่ยนจากรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.สังกัดพรรค เป็นผู้สมัคร ส.ว.ที่ไม่สังกัดพรรค

นอกจากนี้ยังเล่นใหญ่ด้วยการปริ้นรูปถ่ายใบหน้า 4 สีของผู้สมัครแต่ละคนให้ประกอบการตัดสินใจชัดๆด้วย ประกอบไปกับหมายเลขผู้สมัครและชื่อ-สกุล

ส่วนวิธีการเลือกก็ใช้การเจาะในกรอบของผู้สมัครที่ถูกใจด้วยเครื่องมือที่จัดไว้ให้ในคูหา

ที่มา: http://carnegieendowment.org/2013/10/24/how-indonesia-s-2014-elections-will-work/gr87

แต่ละพรรคจะมีบัตรประจำพรรคเป็นของตัวเอง ซึ่งกฎหมายฝรั่งเศสเปิดโอกาสให้ทางพรรคออกแบบได้เองในกรอบของกฎหมายเลือกตั้ง ก่อนส่งให้ กกต.จัดพิมพ์เพื่อใช้ในการเลือกตั้ง
โดยกำหนดให้มีเพียงสีเดียวและพิมพ์บนกระดาษขาว อย่างน้อยต้องมีชื่อของผู้สมัคร และชื่อผู้สมัครสำรองเผื่อฉุกเฉินว่าผู้สมัครที่รับเลือกไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ในบัตรนี้สามารถมีชื่อหรือโลโก้พรรค หรือแม้แต่สโลแกนประจำพรรค
การเลือกตั้งสภานิติบัญญัติครั้งที่ผ่านมาในปีเดือนมิถุนายน 2017 ถึงกับมีบัตรเลือกตั้งประจำพรรคของเขตเลือกตั้งหนึ่งแปะรูปนายมาครง หัวหน้าพรรคซึ่งได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีหมาดๆ ในเดือนก่อนหน้าไว้ที่มุมซ้ายด้วย การกระทำแบบนี้กฎหมายก็ไม่ได้ห้ามไว้ แต่ก็สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม

การเลือกตั้งด้วยบัตรเลือกตั้งเหล่านี้มีหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งคือผู้ใช้สิทธิ์ต้องไปที่คูหา หลังลงทะเบียนแล้ว จะมีโต๊ะวางบัตรประจำพรรคเรียงรายให้เลือกหยิบบัตรประจำพรรคซึ่งตามธรรมเนียมแล้วควรหยิบ 2 พรรคที่ต่างกันเพื่อเข้าคูหา แล้วพับพรรคที่เลือกใส่ซองที่จัดให้แล้วหย่อนลงกล่อง
ที่มา:
https://www.lasemainedespyrenees.fr/2017/06/19/legislatives-pour-la-france-insoumise-les-bulletins-de-vote-de-j-b-sempastous-netaient-pas-conforme/
https://www.legifrance.gouv.fr/affichCode.do?idSectionTA=LEGISCTA000006164053&cidTexte=LEGITEXT000006070239&dateTexte=20181209

เนื่องจากการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา จัดแยกกันแต่ละรัฐ บัตรเลือกตั้งของแต่ละรัฐก็จะต่างกัน ทีมข่าวเวิร์คพอยท์จึงนำมาเสนอแค่ของรัฐโอคลาโฮมา
บัตรเลือกตั้งนี้เหมือนแบบสอบถาม เนื่องจากเลือกหลายตำแหน่งในรอบเดียว โดยในบัตรที่เห็นนี้เลือกตั้งแต่ผู้ดำรงตำแหน่งภายในรัฐ ส.ว.และ ส.ส.ที่จะประจำสภาคองเกรสในกรุงวอชิงตัน ดีซี เลือกเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่่น และเลือกผู้พิพากษาตลอดจนเจ้าหน้าที่ตุลาการ

ผู้สมัครหลายตำแหน่งจะสังกัดพรรค บัตรใบนี้เลยมีให้เลือกตั้งแต่ต้น ว่าจะโหวตพรรคใดพรรคหนึ่งในทุกตำแหน่งหรือไม่ พร้อมแปะโลโก้พรรคให้ดู

ที่ยกมามีแค่หน้าเดียว เพราะความจริงแล้วบัตรเลือกตั้งของรัฐนี้มีสองหน้า โดยอีกหน้าหนึ่งจะให้เลือกทำประชามติในหัวข้อต่าง ๆ ที่กฎหมายของรัฐกำหนดด้วย

การลงคะแนน ผู้เลือกตั้งมีหน้าที่ต้องฝนในช่องสี่เหลื่ยมเพื่อเลือกพรรคหรือผู้สมัครในแต่ละส่วน โดยแต่ละส่วนจะกำกับไว้ว่าฝนได้กี่ช่อง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า