SHARE

คัดลอกแล้ว

หญ้าทะเลอาหารพะยูนวิกฤติหนัก เน่าตายขยายเป็นวงกว้าง คาดเกิดจากดินขุดลอกร่องจากแม่น้ำตรังมาทิ้งชายฝั่ง และจากเหตุเรือบรรทุกปูนซีเมนต์ล่ม 3 ลำ ก่อนหน้านี้ วอนหน่วยงานลงพื้นที่ดูแลด่วน หวั่นกระทบแหล่งอาหารพะยูน

วันที่ 9 เม.ย. 2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านหมู่ที่ 4 ต.เกาะลิบง  อ.กันตัง จ.ตรัง ร้องเรียนผ่านสื่อ หลังพบหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารของพะยูนล้มตายและขยายเป็นวงกว้างอย่างไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งจากพื้นที่ชายฝั่งประมาณ 1 กิโลเมตรที่เดินเท้าลงสำรวจพบว่า พื้นที่ที่หญ้าทะเลเคยอุดมสมบูรณ์เริ่มลดลงเหลือเพียงพื้นดินที่มีสภาพค่อนข้างแข็งกระด้าง มีหญ้าหลายชนิดที่เริ่มสูญหาย เช่น หญ้าชะเงาใบใหญ่ ซึ่งเป็นอาหารหลักของพะยูน หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าในมะกรูด หญ้าคา

ทั้งนี้จากการตรวจสอบดูพบว่าบริเวณลำต้นและใบหญ้าทะเลถูกปกคลุมไปด้วยคราบตะกอนที่ค่อนข้างหนา ซึ่งเมื่อจับมาล้างออกพบว่าใบหญ้าเริ่มมีการเน่าเปื่อย และเมื่อลองขุดลงไปดูรากของต้นหญ้าทะเลพบว่าเริ่มเน่าเปื่อยชาวบ้านหลายรายบอกว่ายังไม่เคยเห็นปรากฎการณ์แบบนี้ ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรก ที่พบบริเวณเกาะมุกด์ เกาะลิบง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของฝูงพะยูน

นางรมิดา สารสิทธิ์ ชาวบ้านในพื้นที่ กล่าวว่า ผลกระทบทำให้หญ้าพะยูนเริ่มลดจำนวนลง ยืนต้นตายขยายเป็นวงกว้าง ส่งผลให้กุ้ง หอย ปู ปลา ลดจำนวนลงจากเมื่อก่อนมาก ซึ่งอย่างหอยชักตีนที่เมื่อก่อนมีจำนวนมากสร้างรายได้ให้ชาวบ้านวันละ 100-300 บาท แต่เดี๋ยวนี้มีเพียงขนาดตัวเล็ก ๆ เนื่องจากหญ้าทะเลใบใหญ่เริ่มตายหมดซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ซึ่งในช่วง 3 ค่ำ-4 ค่ำ ชาวบ้านจะออกมาหาสามารถยังชีพได้ แต่ตอนนี้ชาวบ้านไม่สามารถออกมาหาได้เนื่องจากไม่มีแล้วเนื่องจากหญ้าทะเลตายหมด

ซึ่งหญ้าทะเลตายส่งผลกระทบมากทำให้สัตว์น้ำในทะเลลดลง ทำให้ชาวบ้านขาดรายได้ในการครองชีพ หลังจากเสร็จจากอาชีพหลักคือกรีดยางแล้ว ลงเก็บหอยหารายได้เสริมแต่ตอนนี้ขาดรายได้ไปเลย อย่างที่เห็นในวันนี้มีเพียงเด็กๆ เท่านั้น ที่ลงมาหาหอยเพื่อนำไปให้พ่อแม่ทำอาหาร

นางรมิดา กล่าวอีกว่า ไม่มีผู้ใหญ่ลงมาหาหอยเลยเพราะมันไม่มีให้เก็บแล้ว จากสาเหตุที่หญ้าพะยูนเน่าตายลดลงเป็นบริเวณกว้างในตอนนี้ยังไม่มีผลกระทบต่อพะยูน แต่จะมีผลต่อไปในอนาคต เพราะไม่มีหญ้าและจะไม่มีพะยูน นางรมิดา มองว่าสาเหตุที่ทำให้หญ้าพะยูนเน่าตายลดจำนวนลงคาดว่ามาจากสาเหตุการขุดลอกร่องจากแม่น้ำตรังและนำมาทิ้งที่ไฝขาวก็เริ่มมีผลกระทบอย่างที่เห็นในวันนี้ และอีกสาเหตุหนึ่งคาดว่าจากเหตุเรือบรรทุกปูนซีเมนต์ล่ม 3 ลำเมื่อหลายปีที่ผ่านมาส่งผลกระทบ เพราะมีชาวบ้านที่ดำน้ำบริเวณแถบนั้นบอกว่าก่อนหน้านี้มีหญ้าทะเลมากสมบูรณ์ แต่ตอนนี้ไม่มีแล้วตรงบริเวณเรือปูนล่ม

ทางด้านนายพิศิษฐ์ ชาญเสนาะ ประธานมูลนิธิสมาคมหยาดฝน กลุ่มองค์กรอิสระ อนุรักษ์พะยูนทะเลตรัง เผยว่า หญ้าทะเลเป็นอาหารหลักของพะยูน ซึ่งเกาะลิบงจะเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีหลายพันธุ์หลายชนิด ส่วนหญ้าทะเลเสื่อมโทรมตายได้อย่างไรนั้นขึ้นอยู่สภาพแวดล้อมและขึ้นอยู่กับสภาพดิน ความลึกตื้นของน้ำ ความขุ่น ความใสของน้ำ

หากมีขุ่นตะกอนมาเกาะติดทำให้การเจริญเติบโตของหญ้าเปลี่ยนไป หญ้าทะเลไม่ได้ขึ้นทุกที่ในทะเลตรัง เพราะจะเกิดในดินที่ไม่ใช่ทรายแท้ๆ หรือ โคลนแท้ ๆ  ปัจจุบันยังโชคดีที่มีป่าชายเลนที่เติบโตฟื้นฟูขึ้นมา ส่วนผลกระทบต่อพะยูนหากไม่มีหญ้าทะเลปลาพะยูนต้องไปแสวงหาอาหารที่อื่น เพราะพะยูนไม่ใช่สัตว์ที่อยู่ประจำที่ทีเดียว เมื่อหญ้าทะเลหายไปสภาพดินก็แปรเปลี่ยนไป ระบบนิเวศน์สัตว์น้ำก็ลดน้อยถอยลง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า