SHARE

คัดลอกแล้ว

(แฟ้มภาพ)

ประเด็นคือ – เกิดกระแสข่าวว่า สนช.ได้มีการตัดสินใจที่จะยื่น ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ แม้ก่อนหน้านี้ไม่ติดใจ แต่เมื่อร่างกฎหมายถึงมือรัฐบาล กลับเปลี่ยนแปลงหรือไม่

หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ส่งร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ร่างกฎหมายลูก ส.ส.)  ไปยังรัฐบาลแล้ว มีรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาว่าจะส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความในประเด็นที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ แย้งว่าอาจขัดรัฐธรรมนูญ และมีความเห็นว่า ควรเป็นความรับผิดชอบของสนช. ซึ่งมีรายงานต่อมาว่า สนช.ได้ตัดสินใจ ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความร่างกฎหมายลูก ส.ส.

เช้าวันนี้ (27 มี.ค. 61) ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีการประชุมคณะรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ คสช. โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ได้เดินทางมาที่ตึกบัญชาการ 1 แต่ปฏิเสธที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับ กระแสข่าว สนช. ตัดสินใจจะยื่นตีความ ร่างกฎหมายลูก ส.ส.

ขณะที่ช่วงเช้า นายกรัฐมนตรี ยังไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ ในเรื่องนี้เช่นนี้

ทั้งนี้ นายมีชัย เคยทำเห็นส่งสนช.ว่า ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. อาจขัดรัฐธรรมนูญ มี 2 ประเด็น คือ มาตรา 35 ตัดสิทธิเป็นข้าราชการการเมืองหากไม่ไปเลือกตั้ง เพราะการที่ผู้ใดจะเข้ารับตำแหน่งไม่ใช่สิทธิ แต่เป็นเสรีภาพ จึงกังวลว่า เป็นการเขียนเกินขอบเขตการจำกัดสิทธิ ตามมาตรา 95 วรรค 3 ของรัฐธรรมนูญ

และการให้บุคคลอื่น หรือ กรรมการประจำหน่วยลงคะแนนแทนผู้พิการ และให้ถือเป็นการออเสียงโดยตรงและลับ กรธ.กังวลว่า จะขัดต่อมาตรา 85 ของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ ส.ส.มาจากกำารลงคะแนนโดยตรงและลับ การกำหนดแบบนี้ จึงเป็นการยอมรับว่า การลงคะแนนดังกล่าวไม่ตรงและลับ อีกทััั้งเคยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 9 /2549 ที่ระบุหลักการเลือกตั้งโดยลับว่า จะต้องดำเนินการเลือกตั้งโดยไม่ให้ผู้ใดทราบเลยว่า ผู้ลงคะแนนตัดสินใจเลือกใคร

 

ขอบคุณภาพปก Thai PBS

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า