SHARE

คัดลอกแล้ว

แรงงานไทยอาหารเป็นพิษนอนไม่ได้สติเป็นเจ้าชายนิทรา ที่ รพ.ในไต้หวัน หลังกินหอยจากคลอง ครอบครัวเผยเพราะต้องประหยัด วอนผู้ใจบุญช่วยนำตัวกลับบ้าน

จากผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า “เจ้าหญิง เจ้าชาย” โพสต์ภาพผู้ป่วยนอนสวมท่อออกซิเจน ไม่ได้สติอยู่บนเตียงของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศไต้หวัน ตามร่างกายมีสายไฟที่ใช้ทางการแพทย์ระโยงระยางทั่วร่างกาย และภาพบัญชีธนาคารที่เป็นแม่ของแรงงานคนดังกล่าว

พร้อมระบุข้อความว่า “คนไทยด้วยกัน ช่วยกัน คนงานไทยในไทหนาน เขตชินหยิงกินอาหารเป็นพิษ นอนหมดสติรับการรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล ฉีแหม๋..เหลียวหยิง นานเกือบสองเดือนแล้วค่ะ ซึ่งการเจ็บป่วยของคนงานคนนี้ไม่ได้เกิดในเวลางาน

การรักษาของประกันสังคมจึงมีขีดจำกัด ค่ารักษาพระยาบาล ค่าหมอ ค่ายา บางส่วนคนไข้ต้องจ่ายเอง และค่าตั๋วเครื่องบินที่จะพาคนป่วยกลับไปรักษาตัวต่อที่เมืองไทยเราไม่มีเงินพอค่ะ พ่อแม่คนป่วยก็แค่ชาวนาธรรมดาคนหนึ่ง ไม่มีเงินจะรับลูกชายกลับได้ จึงใคร่ขอความเมตตาจากผู้ใจบุญมานะที่นี้ค่ะ เราคนไทยด้วยกันช่วยกันนะคะ หากผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคกับน้องได้ที่ โรงพยาบาล ฉีแหม๋ แผนกสงเคราะห์ หรือกรมแรงงานช่วยเหลือคนงานไทยค่ะ ขอบคุณค่ะ” มีผู้แชร์เพจดังกล่าวไปแล้วหลายครั้ง

ล่าสุด (20 เม.ย. 2561) ผู้สื่อข่าว จ.อุดรธานี ได้เดินทางไปที่บ้านเลขที่ 125 หมู่ 12 บ้านเทื่อมน้อย ต.เขือน้ำ อ.บ้านผือ บ้านของแรงงานไทยที่ป่วยที่ไต้หวันคนดังกล่าว โดยผู้สื่อข่าวพบ นายประยงค์ ขุริดี อายุ 59 ปี นางทองวัน ขุริดี อายุ 55 ปี น.ส.อภิญญา เยาวลักษณ์ อายุ 39 ปี พ่อแม่และภรรยาของแรงงานไทยคนดังกล่าวทราบชื่อคือ นายฉัตรชัย ขุริดี

น.ส.อภิญญา ภรรยานายฉัตรชัย เล่าว่า หลังสามีไปทำงานโรงงานที่ไต้หวัน จะติดต่อพูดคุยกันทางไลน์ทุกวัน กระทั่งเดือนมีนาคม สามีโทรมาบอกว่าปวดท้อง และปวดหัว หลังจากวันหยุดสามีและเพื่อนคนงานไทย 9 คน ออกไปหาเก็บหอยคล้ายกับหอยเชอรี่ในคลอง นำมาทำก้อยกินกัน ทั้งที่หัวหน้างานเคยอบรมแจ้งแรงงานไทยแล้วว่า อย่ากินปลาและหอยในคลองธรรมชาติ เพราะมีสารเคมีเยอะ ซึ่งคนไต้หวันจะกินปลาเลี้ยง และปลาทะเลเท่านั้น

หลังจากนั้น 2 วัน สามีและเพื่อนอาการก็ยังไม่ดีขึ้น จึงพากันไปหาหมอของโรงงาน ได้ยามากินประมาณ 1 สัปดาห์ อาการยังไม่หาย จึงไปหาหมอที่โรงพยาบาล ขณะนอนอยู่ในโรงพยาบาลยังไลน์คุยกันอยู่ โดยตนบอกสามีให้ขอนายจ้างกับบ้าน แต่นายจ้างยังไม่อนุญาต หลังจากก็ไม่สามารถติดต่อสามีได้

“ขณะรอโทรศัพท์สามี เพื่อนคนงานไทยโทรศัพท์มาบอกว่า สามีหมดสติไม่รู้สึกตัว รักษาตัวในห้องไอซียู ส่วนเพื่อนคนงานอีก 8 คน ก็อาการหนักแต่ไม่เท่าสามี ทางพ่อแม่เป็นห่วง จึงยืมเงินกู้นอกระบบ 5 หมื่นบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 10 เป็นค่าตั๋วเครื่องบินและค่ากินอยู่ให้ไปดูอาการสามีที่ไต้หวัน

เมื่อไปถึงพบว่าสามีนอนไม่ได้สติในห้องไอซียู ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เจาะคอให้อาการทางสายยาง หมอบอกว่าสามีกินหอยดิบทำให้พยาธิเข้าไปในร่างกาย เส้นเลือด และขึ้นสมอง พยาธิได้กัดกินสมองไปแล้วบางส่วน ไม่มีโอกาสฟื้น แต่ยังไม่ตาย ต้องกลายเป็นเจ้าชายนิทรา เพราะเป็นคนหนุ่มร่างกายแข็งแรง แพทย์บอกให้ตนและพ่อแม่ทำใจ ตนอยู่ดูแลสามี 1 เดือนวีซ่าหมดอายุ จึงต้องเดินทางกลับ”

น.ส.อภิญญา เล่าอีกว่า เพื่อนสามีอีก 8 คน อาการดีขึ้น เพราะกินหอยสุก หมอให้ออกจากโรงพยาบาล นายจ้างอนุญาตให้กลับมารักษาตัวที่บ้านในไทย เมื่อหายดีจึงจะให้กลับไปทำงาน แต่ทั้งหมดยังมีอาการขาอ่อนแรง ส่วนสามีของตนกินหอยดิบอาการจึงหนัก หมอบอกว่าหากไม่ต้องการให้ทรมาน ก็สามารถดึงออกซิเจนออก แต่ตนรักสามี อีกทั้งพ่อแม่ยังทำใจไม่ได้ อยากจะนำตัวกลับมารักษาที่บ้าน ถึงจะเป็นเจ้าชายนิทราก็จะดูแลกันเอง แต่ค่าเดินใช้จ่ายเดินทางกลับแพง เพราะต้องเดินทางแบบคนป่วยทางเครื่องบิน เช่าเหมาลำราคา 5 แสนบาท ค่ารักษาพยาบาลอีกจำนวนหนึ่ง

“สามีก็รู้ว่าเขาไม่ให้กินหอยกินปลาในคลอง แต่ก็ต้องกิน เพราะต้องการประหยัดเงินค่าอาหาร เพื่อจะได้มีเงินส่งกลับมาใช้หนี้ทางบ้าน เงินเดือนรวมโอทีได้เพียง 2 หมื่นกว่าบาท ที่ไปทำงาน เพราะว่ายังได้เป็นเงินก้อนดีกว่าอยู่บ้านที่ได้เงินไม่แน่นอน จึงต้องประหยัดทุกทาง ที่เขากินหอย เพราะก็มีคนงานไทยเคยกินอยู่แต่ไม่เป็นอะไร สามีจึงหากินบ้าง

ตอนนี้สิทธิในการรักษาตัวจากโรงงานก็หมดแล้ว แต่ยังมีมูลนิธิแรงงานไทยที่ไต้หวัน และกลุ่มแรงงานไทยได้บริจาคเงินช่วยเหลือมาบ้าง ซึ่งเงินส่วนเกินจากการประกันสังคมที่นั่น เราต้องจ่ายเอง โดยทางบริษัทที่จัดส่ง หน่วยงานจัดหางาน และสถานฑูตก็มาดูแลให้บางส่วน จึงอยากวอนรัฐบาล ผู้ใจบุญช่วยเหลือ ช่วยเหลือนำสามีกลับมารักษาตัวที่บ้าน ให้ภรรยา พ่อแม่ และญาติพี่น้อง ได้ดูแลกันในวาระสุดท้าย”

ด้านนางยุทธศาสตร์ ทูลกลาง นักวิชาการแรงงานชำนาญการ สนง.จัดหางาน จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า กรณีดังกล่าว มีการสอบถามไปยังบริษัทจัดหางานที่ส่งตัวนายฉัตรชัยไปทำงาน ซึ่งทางบริษัทแจ้งว่า ได้ประสานงานติดต่อให้การช่วยเหลือ โดยให้เอเย่นต์เป็นผู้ประสานงานให้ตลอด ส่วนเรื่องการรักษาคนงานใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพ คนงานจะต้องรับผิดชอบจ่ายค่าส่วนต่างในการรักษาเอง

ส่วนในการส่งตัวกลับมารักษาที่บ้าน บริษัทแจ้งว่า แพทย์ที่ไต้หวันให้ความเห็นว่าหากมีการส่งตัวกลับมารักษาที่ประเทศไทย จะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจตลอด ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก แต่หากถอดเครื่องช่วยหายใจ คนงานอาจเสียชีวิตทันทีในระหว่างการเคลื่อนย้าย จึงให้ทำการรักษาที่โรงพยาบาลต่อ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า