SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – จนท.บ้านพักเด็กภูเก็ตเข้าช่วยเหลือเด็กน้อยชาวเมียนมาถูกล่ามโซ่ เบื้องต้นแม่เด็กยอมรับเป็นคนทำ เพราะความเป็นห่วง เหตุเด็กดื้อ ไม่เชื่อฟัง ชอบไปวิ่งเล่นนอกบ้านเกรงถูกรถชน เหตุมีลูกเล็กต้องดูแลอีกคน

จากกรณีที่บนโลกออนไลน์ ได้มีการนำภาพเด็กผู้หญิงชาวเมียนมา ถูกล่ามด้วยโซ่ที่ข้อเท้า พร้อมข้อความเชิงสอบถามสรุปได้ว่า เด็กในภาพดังกล่าวถูกแม่ล่ามโซ่ เดินไปเดินมาที่หน้าห้องพักแห่งหนึ่ง ในอาคารพูนผลไนท์พล่าซ่า อ.เมือง จ.ภูเก็ต แบบนี้จะทำอะไรได้บ้าง เขาไม่ใช่คนไทย มีอยู่สองคนพี่น้อง พูดไทยไม่ได้ อยากช่วยแต่ไม่รู้ทำอย่างไร ขอความช่วยเหลือเด็กหน่อย

https://www.youtube.com/watch?v=KKeK9q31iXA

ล่าสุด วันที่ 5 ธ.ค. 60 น.ส.อัจฉรา สุระกุล หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่บริเวณห้องย่านอาคารพูนผลไนท์พลาซ่า ตามที่มีการระบุผ่านโซเซียล เพื่อตรวจข้อเท็จจริง และได้พบกับครอบครัวของเด็กหญิงที่ถูกล่ามโซ่  จึงได้มีการเข้าไปพูดคุยทำความเข้าใจกับแม่ของเด็กโดยผ่านล่ามชาวเมียนมา ว่าการล่ามโซ่เด็กนั้นไม่สามารถทำได้ จากนั้นจึงนำตัวแม่ พ่อเลี้ยง และเด็ก มาลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานก่อนที่จะนำเด็กหญิงวัย 7 ขวบ พร้อมด้วยพี่ชายวัย 9 ขวบ ไปดูแลที่บ้านพักเด็กและครอบครัวชั่วคราว

โดย น.ส.อัจฉรา กล่าวว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา (4 ธ.ค.) เจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กฯ ได้รับแจ้งว่ามีแม่ชาวเมียนมาล่ามโซ่ลูกไว้ จึงได้เดินทางลงพื้นที่ ซึ่งได้รับความมือจากชาวบ้านบริเวณนั้นพาไปพบเด็กและครอบครัวดังกล่าว

และจากการพูดคุยกับแม่เด็ก ซึ่งมีอายุ 33 ปี ผ่านล่าม ยอมรับว่า เป็นคนเอาโซ่มาล่ามขาลูกสาววัย 7 ขวบ ไว้จริง แต่ทำไปเพราะความรักและเป็นห่วง โดยอ้างว่าที่ทำอย่างนั้นเพราะเด็กซนมาก อยู่ไม่นิ่ง พูดไม่ฟังและชอบออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน จึงกลัวว่าอาจจะถูกรถเฉี่ยวชนได้ ประกอบกับตัวเองยังมีลูกเล็กวัยเพียง 1 เดือน เป็นลูกที่เกิดจากสามีใหม่ชาวเมียนมา ซึ่งมีอาชีพทำงานก่อสร้างเช่นกัน จึงทำให้ดูแลลูกไม่ทัน จึงต้องเอาโซ่มาล่ามไว้

ส่วนที่เห็นเป็นรอยช้ำแดงนั้นยอมรับว่า เกิดจากการตีเพราะลูกไม่เชื่อฟังและดื้อมาก จึงทำให้ตนค่อนข้างเครียด ซึ่งที่ทำไปทั้งหมดนั้น ไม่ใช่เพราะไม่รักแต่กลัวลูกเป็นอันตราย และไม่ต้องการให้ลูกไปอยู่ที่อื่น

ทั้งนี้ น.ส.อัจฉรา ยังบอกอีกว่า แม่ชาวเมียนมาคนนี้บอกว่าอยากจะดูแลลูกต่อไป และเราก็ไม่ได้ต้องการจะแยกเด็กออกจากครอบครัว แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น การช่วยเหลือเบื้องต้น ต้องแยกเด็กออกมาก่อน

ส่วนของเด็กนั้นยังไม่สามารถพูดคุยได้ เนื่องจากยังอยู่ในอาการหวาดกลัวและไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ระหว่างนี้จะนำเด็กมาดูแลที่บ้านพักเด็กและครอบครัวฯ ก่อน พร้อมทั้งจะมีการหารือในคณะกรรมการสหวิชาชีพฯ เพื่อสรุปแนวทางการช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า