SHARE

คัดลอกแล้ว

องค์การเภสัชกรรมทุ่ม 10 ล้านปลูกกัญชาในอาคารนำร่องใช้ในโครงการผลิตสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์ระยะที่ 1 เพื่อการแพทย์และการวิจัย โดยคาดว่าจะเป็นโรงเรือนตัวอย่างในการผลิตกัญชามาตรฐานการแพทย์เพื่อนําไปใช้ใน การศึกษาวิจัย พัฒนา ด้านต่างๆ ทั้งด้านการศึกษาวิจัยการปลูก พัฒนาสายพันธุ์ ด้านเทคโนยีการสกัดเป็นสารสกัด ต้นแบบกัญชาทางการแพทย์

วันที่ 27 ธันวาคม 2562 องค์การเภสัชกรรมเปิดพื้นที่ทดลองปลูกกัญชาถูกกฎหมายแห่งแรกของเอเชียที่จะนำมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์กัญชาใช้กับผู้ป่วยในโครงการผลิตสารสกัดต้นแบบกัญชาทางการแพทย์ระยะที่ 1

พื้นที่ปลูกกัญชาตัวอย่างมีขนาด 100 ตารางเมตร มีการควบคุมสภาพแวดล้อมอย่างรัดกุมและปลูกด้วยระบบ Aeroponics หรือระบบรากลอย ทางองค์การเภสัชกรรมชี้แจงว่าได้นำเข้าเมล็ดกัญชา 300 เมล็ดจากประเทศฝรั่งเศส และทำการปลูก 140 ต้น เพื่อผลิตกัญชาอย่างน้อย 700 กิโลกรัมในรอบแรก โดยเชื่อว่าจะมีการเก็บเกี่ยวภายในต้นปีและนำมาผลิตเป็น”น้ํามันหยดใต้ลิ้น (Sublingual Drop) ” ล็อตแรก จํานวน 2,500 ขวดภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และจะใช้ทดลองทางคลินิกในผู้ป่วยที่ร่วมโครงการวิจัย

“สิ่งที่เราทำในวันนี้เพื่อให้กัญชาของประเทศไทยนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้อย่างแท้จริงตาม พรบ.กัญชาที่ได้ออกมา โดยจะใช้เพื่อการวิจัยและการแพทย์ กัญชายังเป็นพืชเสพติดตามที่ระบุไว้ในอนุสัญญาองค์การสหประชาชาติ การใช้นอกเหนือจากนี้ก็ยังคงผิด” ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวในการแถลงข่าว

“เราต้องเร่งสร้างประโยชน์จากกัญชา เพราะในปัจจุบันมีหลายประเทศนำเราไปแล้ว เช่น อิสราเอล ในเวลา 5 ปีเราจเร่งนำกัญชามาใช้ประโยชน์ในแพทย์แผนปัจจุบัน ในขณะเดียวกันทางแพทย์แผนไทยเราก็จะมีกระบวนการให้นำไปใช้ได้

ก่อนหน้านี้เมื่อกลางปีที่แล้ว คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ช.) เคยส่งมอบกัญชาของกลางที่ได้มาจากการจับกุมเพื่อใช้วิจัยทางการแพทย์ แต่นายแพทย์โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า คุณภาพของกัญชากลุ่มดังกล่าวมีสารปนเปื้อนสูงกว่ามาตรฐาน มียาฆ่าแมลงและโลหะหนัก คณะกรรมการยาเสพติดให้โทษจึงได้อนุญาตให้องค์การเภสักรรมดำเนินการปลูกภายใต้การควบคุมมาตรฐานขององค์การอาหารและยา

กัญชาไทยยังต้องได้รับการพัฒนา

นอกจากป้องกันสารปนเปื้อนแล้ว การทดลองปลูกครั้งนี้ยังมุ่งสร้างให้คุณภาพกัญชาเหมาะสมกับการนำมาผลิตยา เพราะจะทําให้สามารถควบคุมสารอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานและได้ปริมาณสารสําคัญตามสัดส่วนและปริมาณ DHC และ CBD ที่เหมาะสมสําหรับมาใช้ทางการแพทย์

“ในส่วนของการทำยามีอยู่ 3 ส่วน คือ 1. เราต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพ จึงต้องคำนึงว่าปลูกพันธุ์ไหน ใช้รักษาอะไร ข้อสองคือต้องปลอดภัย ไม่มีโลหะหนัก ข้อสามคือคุณภาพต้องคงที่ ค่า THC และ CBD ต้องคงที่ วันนี้ที่ต้องลงทุนเร่งด่วนเพื่อทดแทนการใช้ของกลางซึ่งควบคุมคุณภาพตรงนี้ไม่ได้” นายแพทย์โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรมกล่าว

เรื่องนี้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้องค์การเภสัชกรรมเลือกนำเข้าสายพันธุ์ผสมจากประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากกัญชาไทยมีค่า THC ซึ่งทำให้มึนเมาสูง แต่ค่า CBD ต่ำ เหมาะแก่การรักษาผลข้างเคียงของผู้ป่วยมะเร็ง แต่ไม่เหมาะกับการรักษาผู้ป่วยลมบ้าหมูซึ่งต้องการค่า CBD

เมล็ดที่นำมาปลูกครั้งนี้จึงแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

– ประเภทสารTHCสูง มีฤทธิ์ต่อจิต ประสาท แก้ปวด ต้านอาเจียน และลดการอักเสบ

– ประเภทสาร CBD สูง มีฤทธิ์ระงับอาการวิตกกังวลและมีฤทธิ์ต้านการชัก

– และประเภทที่มีอัตราส่วนTHCและCBD 1:1

โดยทั้ง 3 ชนิดจะนำมาวิจัยการรักษาโรคโรคภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบําบัด โรคลมชักรักษา ยากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาการปวด ประสาทที่รักษาด้วยวิธีต่างๆไม่ได้ผล กหรือใช้ควบคุมอาการโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรค ปลอกประสาทอักเสบ โรควิตกกังวล ผู้ป่วยที่ดูแลแบบประคับประคอง ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

อย่างไรก็ดีจะมีการปรับปรุงพันธุ์ไทยอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจใช้เวลา 1-2 ปี

กัญชาสามารถเป็นพืชเศรษฐกิจได้ แต่ต้องได้มาตรฐานทางการแพทย์

หลังจากโครงการนี้ องค์การเภสัชกรรมยังได้มีโครงการการปลูกกัญชาทางการแพทย์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม (Pilot Phase) ระยะที่ 2 ใช้งบประมาณ 164.04 ล้านบาท ที่อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี บนพื้นที่ 1000 ตารางเมตร มีทั้ง ปลูกในอาคาร indoor และโรงเรือนปลูกพืช (greenhouse) เพื่อวิจัย และพัฒนาสายพันธุ์ ที่ให้สารสําคัญสูง และทนต่อโรคต่างๆ และสามารถปลูกในโรงเรือนปลูกพืช ที่ลดต้นทุนลงมาได้ต่อไป การผลิตสารสกัดกัญชา ทางการแพทย์ ระยะที่ 3 การผลิตสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ในระดับอุตสาหกรรม (Industrial Phase) โดยเริ่มการปลูกและผลิตสารสกัดระดับอุตสาหกรรมแบบครบวงจรภายในเดือนมกราคม 2564 ที่พื้นที่อ.หนอง ใหญ่ จ.ชลบุรี

ส่วนจะมีการขยายการปลูกไปยังภาคเอกชนหรือไม่ วิเชียร กีรตินิจกาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกกัญชา กล่าวว่า การปลูกกัญชาที่จะส่งออกได้จำเป็นต้องมีมาตรฐานระดับการแพทย์ (Medical Grade) ตามกฎขององค์การสหประชาชาติเท่านั้น ดังนั้นหากเราจะช่วยกันเราก็ต้องช่วยกันปลูกให้เป็น Medical Grade เพื่อขายให้แก่องค์การเภสัชกรรมผลิตยาใช้ ก่อนขยายไปการส่งออกได้

ส่วนเรื่องการปลูกให้ได้มาตรฐานการแพทย์เพื่อจะส่งออกต้องใช้ต้นทุนสูงเกินกว่าที่เกษตรกรจะลงทุนได้หรือไม่

“จริง ๆ เทคโนโลยีที่เราทำเป็นเทคโนโลยีที่สูงสุดเลย การปลูกด้วยระบบรากลอยนี่นักปลูกกัญชาทั่วโลกจะถือว่ามีความเสี่ยงมาก เพราะหากตายก็จะตายทั้งห้อง แต่เราก็ทำได้เพราะนำมาแก้ไขระบบและจะจดอนุสิทธิบัตรด้วย การปลูกจริง ๆ เราเริ่มศึกษาแล้วว่าไม่ต้องลงทุนขนาดนี้ คือปลูกในเรือนกระจกได้ สมมติปลูกในโรงเรือนนี่โรคและแมลงจะน้อยมากเพราะแมลงไม่เข้า แต่ปลูกในเรือนกระจกแมลงจะเข้าบ้างซึ่งคุณจะทำยังไงไม่ให้ฉีดยา เพราะถ้าจะทำเกรดการแพทย์ต้องไม่มียาฆ่าแมลง … ” วิเชียรกล่าว

“หลังจากนี้องค์การเภสัชกรรมจะมีการอบรมและบรรยายส่งต่อความรู้ให้มหาวิทยาลัยที่อยากปลูก แล้วผมจะยินดีมากถ้าวิสาหกิจชุมชนจะปลุก แต่ว่าเราควรมาร่วมมือกันว่าถ้าจะทำกัญชาทางการแพทย์จะทำอย่างไร เรามาร่วมมือกันโดยลงทุนไม่สูงแล้วก็อาจจะขายองค์การเภสัชฯ เราต้องการอีกมาก มาร่วมมือกัน”

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า