SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีที่ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  ตอบคำถามผู้สื่อข่าวการที่พรรคการเมืองเสนอนโยบายยกเลิกการเกณฑ์ทหารและปรับลดงบประมาณกลาโหม โดยให้ไปฟัง “เพลงหนักแผ่นดิน” นั้น

วันที่ 18 ก.พ. พล.ท.พงศกร รอดชมภู รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ระบุแนวทางการปฏิรูปกองทัพของพรรคอนาคตใหม่ มีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า การปฏิรูปกองทัพไทยของพรรคอนาคตใหม่ ใช้แนวทางของประเทศยุโรปในการดำเนินการ มีตัวแบบจากเยอรมนี เนื่องจากเป็นหัวขบวนของสหภาพยุโรปที่เผชิญภัยคุกคามจากยุโรปตะวันออกหรือรัสเซีย แต่มีขนาดกองทัพเล็กกะทัดรัดมีกำลังประจำการประมาณเกือบ 1 แสน 8 หมื่นนาย ใช้งบประมาณอยู่ที่ 1.13% ของ GDP และมีการใช้ระบบคณะเสนาธิการร่วม ที่สามารถเห็นสภาพการรบและสั่งการลงไปในพื้นที่ได้โดยตรง ขณะที่ไทยมีกำลังประจำการและกำลังสำรองใกล้เคียงกับอิสราเอลที่มีภัยคุกคามอยู่ตลอดเวลา คือราว 6 แสนนาย

หากประเมินจากความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน กรณีทางทะเลและทางบกเป็นความขัดแย้งระดับต่ำ ถ้ากำลังทางอากาศและจรวดหลายลำกล้องหรือขีปนาวุธเหนือกว่ามากพอแล้ว การก่อสงครามในอาเซียนกับไทยจะเป็นไปได้ยาก

 

“การปฏิรูปกองทัพไทยให้เป็นกองทัพในศตวรรษที่ 21 ให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานมากขึ้นกว่าการมีชั้นยศสูงๆ จำนวนนายพลก็ลดลงเป็นสัดส่วนตามลงไปได้ในที่สุด จึงควรเป็นการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น โดยโอนเงินที่เป็นงบประจำมาเป็นยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยและมีคุณภาพสูง แทนการมีอาวุธจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีต่ำกว่า สงครามในยุคปัจจุบัน การมีอาวุธจำนวนมากไม่จำเป็นเท่ากับการมีอาวุธคุณภาพสูง การจัดหาอาวุธต้องมั่นใจว่า มีขีดความสามารถสูงกว่าอย่างน้อยในอาเซียน ได้แก่การมีระยะปฏิบัติการหรือระยะยิงไกลกว่า แม่นยำกว่า รวดเร็วกว่า และมีเทคโนโลยีที่เหนือกว่า ทั้งนี้ ต้องไม่มากเกินไปจนทำให้เกิดการแข่งขันกันทางอาวุธจนทำให้เป็นภาระทางเศรษฐกิจ” พล.ท.พงศกร ระบุ

โดยก่อนหน้านี้ พล.ท.พงศกร โพสต์รายละเอียดข้อเสนอการปฏิรูปกองทัพและระยะเวลาดำเนินการ เช่น
– ลดกำลังจากขนาด 330,000 นายเหลือ 170,000 นาย นายพลจาก 1,600 นายเหลือ 400 นาย โดยกำหนดเป็นกฎหมายใช้เวลา 5-10 ปี เริ่มจากปฏิรูประดับกลางและปิดอัตราระดับนายพลหลังมีผู้เเกษียณอายุราชการ
– ยกเลิกการเกณฑ์ทหารแบบปัจจุบัน ใช้สมัครใจ เกณฑ์เฉพาะเมื่อเกิดสงคราม (แก้กฎหมายใช้เวลา 1 ปี เปลี่ยนผ่านอีก 3 ปี)
– รับราชการเป็นพลอาสาสมัคร เงินเดือนและเงินตอบแทนทั้งหมดประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน (หลังแก้กฎหมายเสร็จ 1 ปี) ระหว่างรับราชการมีทุนการศึกษาสายวิศวกรรมหรืออาชีพ ปลดแล้วมีทุนประกอบอาชีพ
– พลอาสาสมัคร จะเติบโตรับราชการเป็นนายทหารชั้นประทวนและสัญญาบัตรไม่เกินพันโท อายุ 45 ปี ( 5 ปีหลังเริ่มดำเนินการ ทำการสอบบรรจุจากพลอาสาสมัคร)
– การลดกำลังพลและปรับระบบการส่งกำลังบำรุงจะทำให้ประหยัดงบประมาณได้ปีละ 50,000 ล้านบาทหรือมากกว่า โดยจะลดงบประมาณจาก ร้อยละ 1.5 เหลือ 1.13 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (เริ่มต้นได้ในปีงบประมาณที่ 2 และ มีผลในปีงบประมาณที่ 5)
– การจัดซื้ออาวุธอย่างโปร่งใส โดยเชิญประชาชน และสื่อมวลชน ร่วมกำหนดสเปคและราคากับกองทัพ เพื่อให้ได้อาวุธที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เหมาะกับการรบ ประหยัดและคุ้มค่าที่สุด (กำหนดเป็นนโยบายและปฏิบัติได้ใน 3 เดือน)

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2204732856258066&id=100001641182657

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2207602879304397&id=100001641182657

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า