SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมงานสัมมนา พลังโซเชียล เปลี่ยนการเมืองไทย…ได้จริงหรือ? เชื่อ “พลังโซเชียล” ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ ยกตัวอย่าง กรณี ป้าทุบรถ และฆ่าเสือดำ

วันที่ 17 มี.ค. 2561 สถาบันอิศรามูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จัดงานสัมมนาสาธารณะในหัวข้อ “พลังโซเชียล เปลี่ยนการเมืองไทยจริงหรือ?” โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายอธึกกิต แสวงสุข คอลัมนิสต์ เจ้าของนามปากกาใบตองแห้ง และนายปราบ เลาหโรจนพันธ์ ผู้ก่อตั้งโครงการ Rethink Thailand โดยการจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อเปิดเวทีให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับกระแสในปัจจุบัน ที่ทุกคนต่างใช้โซเชียลมีเดียในการแสดงความเห็นของตนเอง รวมถึงใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามและเผยแพร่ข้อมูล

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ หากไม่มีโซเชียลมีเดียบางเรื่องราวอาจไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น กรณีของป้าทุบรถ ฆ่าเสือดำ และกระแสการตรวจสอบนาฬิกาหรู ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่เพจ CSI lA ได้เปิดเผยข้อมูลจนนำมาสู่การตรวจสอบจากภาคประชาชน แต่จากการที่รัฐบาลออกมาโต้และแก้ปัญหา ทำให้กระแสโซเชียลมีการแชร์และวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของโซเชียล ประชาชนเชื่อมั่นในข้อมูลที่รับข่าวสารจากโซเชียล แสดงถึงศักยภาพสื่อวิชาชีพมีบทบาทน้อยลง

ขณะเดียวกันยกตัวอย่าง ข่าวที่เขียนข้อความว่า ตนเป็นฆาตกร แม้ว่าศาลมีคำตัดสินแล้ว ซึ่งข่าวที่แชร์นั้นเป็น fake news วนเวียนในโซเชียล จึงต้องมีกระบวนการกลั่นกรอง หรือกลไกลคัดเลือกข้อมูลข่าวสารให้ประชาชน

“ในการเลือกตั้งครั้งหน้า สำหรับประเทศไทย ทีห่างจากการเลือกตั้งครั้งเดิม ไม่ต่ำกว่า 6-7 ปี ถือเป็นครั้งแรกที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกเกือบ 7 ล้านคน โซเชียลมีเดียก็จะมีผลต่อการหาเสียงทางการเมือง อาจเป็นสมรภูมิต่อสู้หลักเลยก็ว่าได้” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

ด้านนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่าโซเชียลมีเดีย ทำให้ประชาธิปไตยของไทยนำไปสู่การเป็น “Smart Democracy” ที่พรรคการเมืองจะถูกลดความสำคัญจะน้อยลง เพราะมีข้อจำกัดหลายประการตั้งแต่การเริ่มกำหนดนโยบาย เพราะประชาธิปไตยยุคใหม่ จะกลับมาสู่ประชาชนโดยตรง ไม่มีเพศ หรือชนชาติ เปลี่ยนรูปแบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน แบบมีส่วนร่วม มาเป็น Smart Democracy และการชุมนุมทางการเมืองในอนาคต ก็อาจจะเปลี่ยนรูปแบบไปด้วยเช่นกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า