Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจาก https://derangedphysiology.com

ท่ามกลางความเป็นห่วงของ ปชช. ที่มีต่อทีมหมูป่าอะคาเดมี ซึ่งติดอยู่ในถ้ำหลวง จ.เชียงราย ว่าป่านนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง จะมีอาหารอะไรกินไหม ล่าสุด อาจารย์หมอได้อธิบาย เมื่อร่างกายขาดอาหารเป็นเวลานานจะเป็นเช่นไร

วันที่ 2 ก.ค. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเหตุการณ์ที่ชาวไทยทั้งประเทศร่วมส่งแรงจิตอธิษฐาน และขอพรต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้เจ้าหน้าที่พบเด็กชายทีมนักเตะหมูป่าอะคาเดมี่และโค้ช รวม 13 ชีวิต ที่หายเข้าไปในถ้ำหลวง จ.เชียงราย ตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ผ่านมา 9 วันแล้วก็ยังหาไม่พบ แต่ถึงกระนั้น เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนก็มิได้ย่อท้อต่อการค้นหา และยังคงระดมความคิดในการค้นหากันอย่างต่อเนื่องนั้น

ทางด้านประชาชนต่างก็ร่วมสวดมนต์ และแสดงพลังสามัคคีส่งใจถึงทีมหมูป่าอะคาเดมีทั้ง 13 คน ให้เจ้าหน้าที่พบตัวและพาออกมาอย่างปลอดภัย ซึ่งหลายคนอดเป็นห่วงเด็กๆ ไม่ได้ว่า การติดอยู่ในถ้ำหลายๆ วัน หากไม่มีอาหารให้รับประทานเลย จะเป็นอย่างไรกันบ้าง

ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Rungsrit Kanjanavanit หรือ “หมอหม่อง” นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อาจารย์แพทย์โรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ได้อธิบายถึงเรื่องดังกล่าว ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยใช้ชื่อหัวข้อว่า “เกิดอะไรกับร่างกายมนุษย์ เมื่อต้องขาดอาหารเป็นเวลานาน” โดยได้โพสต์ภาพประกอบพร้อมข้อความอธิบาย ระบุว่า…

“ในช่วงยุคน้ำแข็งหลายครั้งที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาอันเลวร้ายของมนุษยชาติที่ต้องพบกับความอดอยากแสนสาหัส แต่เป็นช่วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่มีวิวัฒนาการ โดยการคัดเลือกสายพันธุ์ทางธรรมชาติ (natural selection) ให้ร่างกายเราปรับตัว มีกลไกมากมายเพื่อมีชีวิตรอด เมื่อต้องขาดอาหารเป็นเวลานาน

เมื่อเริ่มขาดอาหาร น้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด อันเป็นเชื้อเพลิงหลักของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย (ยกเว้นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ที่ภาวะปกติใช้กรดไขมันเป็นเชื้อเพลิงหลัก) เริ่มลดต่ำลง สิ่งที่เกิดขึ้นสิ่งแรกคือ อาการหิว สมองสั่งให้เราหาอาหารมากินเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือด

แต่หากไม่มีอาหารกิน ร่างกายก็จะสลาย Glycogen ซึ่งเป็นเหมือนตู้กับข้าว ที่สะสมเก็บน้ำตาลในตับและกล้ามเนื้อสลายออกมาเป็นน้ำตาลในกระแสเลือด (กระบวนการ glycogenolysis) ให้อวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมองใช้

แต่หากยังคงขาดอาหารต่อไปเป็นวันๆ Glycogen ที่สะสมในตับและกล้ามเนื้อเริ่มร่อยหรอ ร่างกายก็มีแผนสำรอง โดยเริ่มหันมาสร้างน้ำตาลให้สมอง (Gluconeogenesis) จาก กรดอมิโน และ กลีซอรอล และสลายไขมันที่สะสมออกมา เป็นกรดไขมัน (fatty acid) และ ketone เพื่อให้อวัยวะอื่นๆ ใช้เป็นเชื้อเพลิงแทนน้ำตาล

หากการขาดอาหารยังดำเนินต่อไปหลายสัปดาห์ และเมื่อไขมันที่สะสมเริ่มหมด ร่างกายก็ต้องหันมาสลายโปรตีนจากอวัยวะต่างๆ มากขึ้น ซึ่งจะมีผลทำให้การทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ เริ่มทำงานผิดปกติ

ช่วงนี้ ระบบการเผาผลาญพลังงานลดลงเพื่ออนุรักษ์พลังงาน อัตราการเต้นของหัวใจจะลดลง ความดันโลหิตลดลง

ปรากฏการณ์นี้ไม่ต่างกับ กระท่อมไม้ในเมืองหนาวที่เมื่อไม้ฟืนหมด ผู้อาศัยก็ไปเอาโต๊ะ ตู้ เก้าอี้ไม้ มาใส่เตาผิงเพื่อสร้างความอบอุ่น และพอเฟอร์นิเจอร์หมดก็เริ่มเอาประตู หน้าต่างไม้มาเผา และในที่สุดก็ต้องเอาเสาบ้านมาเผา ก่อนที่บ้านทั้งหลังจะพังครืนลงมา

อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ การปรับตัวแผนสุดท้ายของร่างกายคือ สมองที่ปกติจะไม่ยอมใช้เชื้อเพลิงอื่นใดนอกจากน้ำตาลกลูโคส ก็จะยอมหันมาใช้ ketone แทน น้ำตาล ช่วยชะลอการสลายของโปรตีนทั่วร่างกาย ทำให้ยืดชีวิตออกไปได้อีกระยะหนึ่ง

ส่วนคำถามที่ว่า มนุษย์เราอดอาหาร (โดยมีน้ำดื่ม) จะมีชีวิตอยู่ได้นานเพียงใดนั้น

เราอาจดูจากสถิติการอดอาหารประท้วงที่ผ่านมา

มหาตมะ คานธี ซึ่งตอนนั้นท่านอายุ 74 ปี มีร่างกายผอมอยู่แล้ว ท่านอดอาหารประท้วงนาน 21 วัน ท่านยังมีชีวิตรอด

Bobby Sands นักโทษชาวไอร์แลนด์เหนือ อดอาหารประท้วงรัฐบาลอังกฤษ มีชีวิตอยู่ถึง 66 วัน

โดยทั่วไปเราเชื่อว่ามนุษย์มีชีวิตรอดโดยไม่กินอาหารได้ราวเกือบ 2 เดือน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขนี้ก็ขึ้นกับปัจจัยอีกหลายอย่าง ตั้งแต่ลักษณะพันธุกรรม ปริมาณไขมันสะสม การเจ็บป่วยโดยเฉพาะการติดเชื้อที่จะเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงาน
ปัจจัยอีกอย่าง ก็คือ สภาพจิตใจ หากยังมีความหวัง ไม่ท้อแท้ โอกาสมีชีวิตรอดก็มีมาก

ร่างกายมนุษย์ มันสุดยอดมาก
แต่สำคัญที่สุด ก็คือสภาพจิตใจครับ”

นอกจากนี้ คุณหมอยังได้อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า อัตราลดลงของน้ำหนักตัว ช่วงแรกจะลดเร็วมาก เกือบ 1 กก. ต่อวัน ช่วงหลังลดลงเหลือประมาณ 300 กรัมต่อวัน

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก Rungsrit Kanjanavanit

 

อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์ : workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว   
ยูทูบ: workpoint news   
ทวิตเตอร์: workpoint news   
อินสตาแกรม: workpointnews

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า