SHARE

คัดลอกแล้ว

[et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.47″ custom_padding=”0px|0px|17px|0px”][et_pb_row _builder_version=”3.0.47″ background_size=”initial” background_position=”top_left” background_repeat=”repeat”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ลืมความเชื่อเก่า ๆ ไปได้เลยเพราะอาหารรสจัดนอกจากไม่มีผลต่อทารกที่กินนมแม่แล้วยังทำให้โตขึ้นเป็นคนกินง่ายด้วย

ตามความเชื่อที่พูดต่อกันมา อาหารรสจัดจึงเป็นหนึ่งในอาหารที่แม่ลูกอ่อนควรหลีกเลี่ยงเพราะกลัวลูกไม่ยอมดูดนม แต่ผู้เชี่ยวชาญไม่คิดอย่างนั้นโดยชี้ว่าการกินอาหารที่มีรสชาติหลากหลายรวมทั้งรสเผ็ดช่วยกระตุ้นปุ่มรับรสช่วยให้เด็กเป็นคนทานง่ายเมื่อโตขึ้น

พญ. Jennifer Wider ที่ปรึกษาด้านการแพทย์ประจำสมาคมวิจัยสุขภาพผู้หญิง กล่าวว่าไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชิ้นใดระบุว่าอาหารรสจัดส่งผลเสียต่อทารกที่กินนมแม่ แม่ลูกอ่อนสามารถให้นมลูกได้ทันทีหลังทานอาหารรสจัด “ต้องบอกก่อนว่านมแม่ไม่ได้มาจากทางเดินอาหารโดยตรงแต่มาจากเลือด”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/03/1521810492_61585_544069-breast-feeding-afp-relax-news.jpg” mobile_src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/03/1521810492_61585_544069-breast-feeding-afp-relax-news.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”54px|0px|15px|0px”][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”16px|0px|12px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

สารอาหารจากอาหารที่แม่กินจะแตกตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ซึ่งจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดต่อไปยังหลอดเลือดของต่อมน้ำนมและนมแม่ แน่นอนว่ารสชาติรวมถึงโมเลกุลที่นำพากลิ่นของอาหารไปที่กระแสเลือดและเข้าสู่นมแม่ แต่กระบวนการที่ว่ามาเป็นกระบวนการเดียวกับที่เกิดขึ้นตอนที่เด็กยังอยู่ในท้องและได้รับสารอาหารผ่านน้ำคร่ำ ดร. Paula Meier จากสถาบันการแพทย์มหาวิทยาลัย Rush จึงสรุปว่า “ถ้าอาหารรสจัดเป็นอาหารโปรดที่ผู้หญิงหลายคนทานเป็นประจำระหว่างตั้งครรภ์ โอกาสที่ทารกจะคุ้นชินกับรสชาตินั้นในนมแม่ก็มีสูง”

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์กุมารเวชศาสตร์ในเกาหลีใต้เมื่อปีที่แล้วพบว่าแม่ลูกอ่อนทั่วไปหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดเพราะเชื่อด้วยว่าอาจทำให้ท้องเด็กมีแก๊ส เกิดผื่นผ้าอ้อม หรือทำให้เด็กงอแงเวลาดูดนม การศึกษาเดียวกันนี้สรุปว่าอาหารรสจัดเปลี่ยนกลิ่นและรสชาติของนมแม่ก็จริงแต่นอกจากจะไม่มีผลกระทบอะไรกับเด็กแล้ว ยังช่วยกระตุ้นจูงใจให้เด็กดูดนมได้มากขึ้นด้วย

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/03/1521810696_88196_20140512-35deee625f766430b157b_resized_637x350.jpg” _builder_version=”3.0.63″][/et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image][/et_pb_section][et_pb_section fb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”24px|0px|54px|0px”][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″ custom_padding=”6px|0px|27px|0px”][et_pb_column type=”4_4″ _builder_version=”3.0.63″ parallax=”off” parallax_method=”on”][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ผลการศึกษาปี 2534 ที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์กุมารเวชศาสตร์ เฝ้าสังเกตแม่ลูกอ่อนที่ทานกระเทียม พบว่าทารกดูดนมแม่นานขึ้นและมากขึ้นเพราะได้กลิ่นกระเทียม ถึงแม้ว่ากระเทียมจะไม่จัดเป็นอาหารรสจัดแต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าผลลัพธ์นี้อาจใช้ได้กับอาหารรสจัดประเภทพริกหรือพวกแกงด้วย

อีกผลการศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสารเดียวกันให้หลังจากนั้น 10 ปีพบว่าเมื่อเติบโตขึ้นทานอาหารเองได้ เด็กมีแนวโน้มชอบรสชาติแบบที่เคยสัมผัสจากนมแม่ พูดง่าย ๆ ว่าถ้าแม่กินอาหารหลากหลาย เด็กเมื่อโตขึ้นก็จะกินอาหารรสชาติหลากหลายนั่นเอง

Lucy Cooke ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเด็ก มหาวิทยาลัย London มองว่า “ทารกที่กินนมแม่เมื่อโตขึ้นมักเป็นคนกินง่ายเพราะมีประสบการณ์กับรสชาติหลากหลายตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิตในขณะที่เด็กที่โตด้วยนมวัวได้สัมผัสเพียงรสชาติเดียว ดังนั้นกุญแจสำคัญคือให้เด็กได้สัมผัสรสชาติหลากหลายเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า