SHARE

คัดลอกแล้ว

“เอเชียนเกมส์” ( Asian Games 2018) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 ส.ค. – 2 ก.ย.ปีนี้ ไม่เพียงเป็นมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับชาวเอเชีย แต่ยังมีความสำคัญต่ออินโดนีเซียในฐานะเจ้าภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาประเทศในอนาคต

เจ้าภาพเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 2 ในรอบ 56 ปี

แม้อินโดนีเซียจะมีประชากรกว่า 260 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียน แต่ประเทศซึ่งเต็มไปด้วยหมู่เกาะแห่งนี้ก็ว่างเว้นจากการเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์มาถึง 56 ปี โดยครั้งสุดท้ายที่อินโดนีเซียเคยเป็นเจ้าภาพต้องย้อนกลับไปถึงในปี พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ในสมัยที่ซูการ์โน ประธานาธิบดีคนแรกของอินโดนิเซียยังเรืองอำนาจ

 

ใช้มหกรรมกีฬาสร้างแบรนด์ประเทศ

ภายใต้สโลแกน “พลังของเอเชีย” (energy of Asia) รัฐบาลอินโดนีเซียจริงจังอย่างมากในการเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาในครั้งนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีซึ่งเท่ากับเป็น การสร้างแบรนด์ของประเทศ (National branding) ให้เป็นที่สนใจในเวทีนานาชาติ เพราะภาพของอินโดนีเซียในการเป็นเจ้าภาพต้อนรับชาวต่างชาติ 45 ประเทศสมาชิกทั้งในเอเชียประเทศใกล้เคียง โดยอินโดฯจะต้อนรับนักกีฬากว่า 9,500 คน เจ้าหน้าที่และสตาร์ฟจากคณะกรรมการโอลิมปิกเอเชีย เจ้าหน้าที่เทคนิคและผู้ชมจากประเทศต่างๆไม่น้อยกว่า 8,000 คน รวมถึงผู้สื่อข่าวอีก 3,500 คนจากสำนักข่าวทั่วโลกที่จะเดินทางไปรายงานข่าวมหกรรมกีฬานี้ที่อินโดนิเซีย

ก่อนหน้านี้นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนิเซีย ได้เชิญให้นายมุน แจอิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ และนายคิม จองอึน ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ มายังอินโดนีเซียในช่วงที่มีการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ซึ่งคำประกาศดังกล่าวทำให้อินโดนิเซียและการแข่งขันเอเชียนเกมส์ในปีนี้ได้รับความสนใจในเวทีโลกมากขึ้นแม้ผู้นำทั้งสองคนยังไม่ได้ตอบรับมาร่วมงานก็ตาม

 

ชี้ครั้งแรกจัดเอเชียนเกมส์ใน 2 เมือง

ในปีนี้อินโดนีเซียใช้ 2 เมืองเป็นสถานที่จัดแข่งขันมหกรรมกีฬา โดยเมืองแรกคือเมืองจาร์กาต้า เมืองหลวงซึ่งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตก ส่วนอีกเมืองคือเมืองปาเล็มบังซึ่งเป็นเมืองหลักของจังหวัดสุมาตราใต้ ซึ่งแม้สุมาตราใต้จะเคยเป็นสถานที่จัดกีฬาซีเกมส์ในปี 2011 แต่ก็ถือเป็นครั้งแรกของเอเชียนเกมส์ที่มีการแบ่งการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆออกเป็น 2 เมือง โดยทั้งสองเมืองมีระยะทางห่างกันถึง 604.1 กิโลเมตร หากใช้เวลาเดินทางโดยเครื่องบิน 1 ชั่วโมง แต่หากเดินทางโดยรถยนต์หรือรถโดยสารจะใช้เวลานานถึง 13 ชั่วโมง 34 นาที

 

ทุ่ม 7.6 หมื่นล้านเตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพ

Bappenas” หน่วยงานด้านการวางแผนการพัฒนาประเทศของอินโดนีเซีย รายงานว่ารัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการเตรียมการเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ในปีนี้กว่า 34 ล้านล้านรูเปียร์ หรือเท่ากับ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เทียบเท่าเงินไทยประมาณ 7.6 หมื่นล้านบาท) โดยงบประมาณส่วนใหญ่ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทั้งถนน ทางยกระดับ สะพาน อุโมงค์เพื่อรองรับและแก้ปัญหาการจราจรที่คับคั้งของเมืองจาร์กาต้า

 

ใช้ 2 หมื่นล้านสร้างรถไฟฟ้าปาเล็มบัง

ส่วนในเมืองปาเล็มบังรัฐบาลอินโดนีเซียตัดสินใจก่อสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแบบรางเบา (LRT) สายใหม่ในวงเงินลงทุนกว่า 676 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  (ประมาณ 22,300 ล้านบาท) รถไฟฟ้าเส้นนี้มีระยะทาง 23.5 กิโลเมตร มีทั้งหมด 13 สถานี โดยจะเชื่อมจากสนามบินปาเล็มบังไปยังศูนย์กีฬา Jakabaring Stadium Complex ซึ่งรถไฟฟ้าสายนี้และช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางลงถึง 50% จากปกติที่ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ 90 นาทีเหลือเพียง 45 นาที ซึ่งแน่นอนว่ารถไฟฟ้าสายนี้จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเมืองใหม่ที่จะขยายตัวเพิ่มหลังการจัดการแข่งขันกีฬาครั้งนี้เสร็จสิ้นลง

“การใช้ประโยชน์ของรถไฟฟ้าสายนี้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์เป็นเป้าหมายในการก่อสร้างระยะสั้น แต่ในระยะยาว เราจะใช้รถไฟฟ้าสายนี้รองรับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในปาเล็มบังและเมืองอื่นๆในจังหวัดสุมาตราใต้มากขึ้น ซึ่งระบบขนส่งมวลชนที่ดีจะสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว” นายอเล็กซ์ นอร์ดิน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุมาตราใต้ให้สัมภาษณ์ถึงโครงการนี้

 

เชื่อผลตอบแทนเศรษฐกิจทะลุ 1 แสนล้าน

แม้จะมีการลงทุนในวงเงินที่สูงมากเพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาครั้งนี้ แต่คณะกรรมการจัดงานเอเชียนเกมส์ของอินโดนีเซีย (Indonesia Asian Games Organising Committee) หรือ INASGOC” ระบุว่าแม้การเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาครั้งนี้จะมีการลงทุนด้านต่างๆด้วยเม็ดเงินมหาศาล แต่ผลดีที่จะเกิดต่อเศรษฐกิจของอินโดฯจะไม่น้อยกว่า 45.1 ล้านล้านรูเปียร์ หรือเท่ากับ 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เทียบเท่าเงินไทยประมาณ 1.02 แสนล้านบาท) ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนเศรษฐกิจในระยะสั้นเท่านั้นเพราะในระยะยาวการเป็นเจ้าภาพจัดเอเชียนเกมส์ในครั้งนี้จะส่งผลต่อการลงทุนที่เกี่ยวกับการสร้างพื้นที่สาธารณะ รวมทั้งการลงทุนในเรื่อง “คน” ที่จะสนับสนุนการพัฒนาประเทศในระยะยาว

 

เอเชียนเกมส์สร้างงาน 1.5 หมื่นตำแหน่ง

นอกจากนั้นในระยะยาวการเป็นเจ้าภาพเอเซียนเกมส์ยังเป็นการสร้างเศรษฐกิจของอินโดนีเซียให้เติบโตต่อเนื่องซึ่งนับว่ามีความจำเป็นสำหรับประเทศที่มีประชากรที่มีอายุเฉลี่ยเพียง 28 ปี จากข้อมูลของยูนิเซฟระบุว่าประชากรกว่า 65 ล้านคนในอินโดนีเซียอยู่ในช่วงอายุ 10 – 24 ปีเท่านั้น

แนวคิดของการเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาระดับชาติของอินโดนีเซียจึงยึดโยงอยู่กับแนวคิดการสร้างงานสำหรับประชากรในอนาคต ซึ่ง INASGOC คาดการณ์ว่าการเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ในครั้งนี้จะช่วยสร้างงานกว่า 15,000 ตำแหน่ง นอกจากนั้นจะมีการเทรนนิ่งให้กับเยาวชนและอาสาสมัครอีก 15,000 คนซึ่งถือเป็นโอกาสให้คนเหล่านี้มีทักษะรองรับการประกอบอาชีพในด้านต่างๆ

ใช้กีฬาเปิดพื้นที่สาธารณะสร้างพื้นที่สีเขียว

นอกจากเหตุผลในเรื่องเศรษฐกิจยังมีเหตุผลในเรื่องการสร้างพื้นที่สาธารณะใหม่ (public space) โดยใช้การเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาเป็นโอกาสในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และพื้นที่สาธารณะ อีริก ตอร์เฮอ ผู้อำนวยการ INASGOC ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมาว่าเขารู้สึกดีใจมากที่การจัดเอเชี่ยนเกมส์ขึ้นในอินโดนิเซียจะช่วยเปิดพื้นที่สาธารณะ ในอินโดนีเซีย สนามกีฬาที่มีการสร้างใหม่และปรับปรุงสนามเดิมเพื่อการฝึกซ้อมและแข่งขันกว่า 80 สนาม รวมไปถึงการสร้างสวนพักผ่อน ทางเท้าและเส้นทางจักรยานภายในเมืองขึ้นใหม่

ซึ่งแผนการสร้างพื้นที่สาธารณะเหล่านี้เพื่อแก้ปัญหาความแออัดของประชากรในเมืองใหญ่ของอินโดนีเซีย ซึ่งธนาคารโลก (world bank) เคยประเมินว่าความแออัดของประชากรในอินโดนิเซียโดยเฉพาะเมืองใหญ่ๆใกล้เคียงกับ 15,000 คนต่อตารางกิโลเมตรแต่มี “พื้นที่สีเขียว” น้อยกว่า 10% ต่ำกว่ามาตรฐานกฎหมายผังเมืองสากลที่ควรจะมีพื้นที่สีเขียวไม่ต่ำกว่า 30%

 

เตรียมแผนให้ประชาชนใช้สนามกีฬาฟรี

ทั้งนี้รัฐบาลเตรียมแผนที่จะให้ประชาชนเข้ามาใช้ออกกำลังกายและเล่นกีฬาได้ฟรี หลังการแข่งขันเอเชียนเกมส์รูดม่านปิดฉากลงในเดือน ก.ย. ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงสนาม Geolora Bung Karno (GBK) ซึ่งเป็นสนามกีฬาเก่าแก่ที่สร้างตั้งแต่ตอนที่อินโดนิเซียเป็นเจ้าภาพเอเชี่ยนเกมส์เมื่อ 56 ปีก่อน

“ผมรู้สึกภูมิใจที่การแข่งขันเอเชียนเกมส์ในปีนี้อินโดนีเซียวางแผนเรื่องการสร้างพื้นที่สาธารณะควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพแข่งขันกีฬา มันคงต่างไปจากตอนที่เราเป็นเจ้าภาพในปี 1962 ตอนนั้นเราคิดแต่เรื่องกีฬาแต่ปีนี้เราคิดเรื่องการสร้างเมืองขึ้นเป็นพื้นที่สาธารณะมากขึ้น” อีริกกล่าว

…หากการจัดเอเชียนเกมส์ในปีนี้สามารถดำเนินการเป็นไปได้ด้วยความสำเร็จเรียบร้อย “อินโดนิเซียในฐานะเจ้าภาพ” ย่อมจะได้รับความชื่นชมจากทั่วโลก และจะส่งผลต่อทั้งเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว โอกาสของภาคธุรกิจที่จะสร้างการลงทุนมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่สุมาตราใต้ ขณะที่ในภาพรวมก็จะช่วยให้การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ประชาคมโลกเห็นแง่มุมต่างๆของประเทศที่มีความโดดเด่นหลากหลาย ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายอย่างหนึ่งของการเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ในครั้งนี้

 

บทความโดย : รุจน์ รฐนนท์

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

  •  https://asiancorrespondent.com/2018/07/bigger-than-sport-indonesias-asian-games-to-leave-legacy-of-public-space/#sGxyfwRKazTyKUQJ.97
  • https://en.antaranews.com/news/114014/2018-asian-games-expected-to-have-long-term-economic-benefits
  • http:// www.globalindonesianvoices.com/32690/hosting-2018-asian-games-what-are-the-benefits-for-indonesia/
  • https:// https://theaseanpost.com/article/indonesia-bets-big-2018-asian-games

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า