SHARE

คัดลอกแล้ว
ข่าวเวิร์คพอยท์

 

ญี่ปุ่นกับปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวที่ฝ่ายกระทำมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา ขณะที่ฝ่ายถูกกระทำเลือกที่จะก้มหน้าทนรับชะตากรรม

ทุกสังคมมีปัญหารวมถึงญี่ปุ่น ประเทศในฝันของใครหลายคน หากพูดถึงปัญหาสังคมของญี่ปุ่น หลายคนมักนึกถึงปัญหาจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น อัตราการเกิดต่ำ ความเครียดจากการทำงาน การกลั่นแกล้งในโรงเรียน ฯลฯ แต่มีอีกหนึ่งปัญหาที่ไม่ค่อยมีใครรู้หรือพูดถึง นั่นคือปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว สาเหตุที่ปัญหานี้ไม่ได้รับความสนใจเป็นเพราะผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงเลือกที่จะเก็บงำเรื่องนี้เอาไว้กับตัวเอง

ผลการสำรวจของมหาวิทยาลัยริวโกะกุเมื่อปีที่แล้วพบว่า ร้อยละ 53 ของผู้หญิงที่ยอมรับว่าถูกคู่ครองซึ่งหมายรวมถึงสามีและเพื่อนชายทำร้ายร่างกายและกระทำรุนแรงทางเพศ เลือกที่จะไม่แจ้งความหรือบอกสิ่งที่เกิดขึ้นให้คนอื่นรู้ ศาสตราจารย์มะซะฮิโระ สึชิมะ ซึ่งมีส่วนร่วมในการสำรวจนี้บอกว่าอาจารย์ไม่ประหลาดใจกับตัวเลขที่ออกมาเลย “หลายคนหลีกเลี่ยงที่จะเอาเรื่องในบ้านไปบอกตำรวจ เพราะจะทำให้ครอบครัวได้รับความอับอาย ปัญหานี้จึงมักถูกเก็บซ่อนไว้ สังคมญี่ปุ่นยังขาดความเข้าใจว่าการใช้ความรุนแรงในครอบครัวจริง ๆ แล้วเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่ง ในเมื่อเหยื่อมักเลือกที่จะเก็บงำเรื่องนี้ไว้กับตัวเอง เพื่อนบ้านและคนรอบข้างควรช่วยแจ้งตำรวจหรือกลุ่มที่ให้ความช่วยเหลือ”

ทะนะกะเป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้ความรุนแรงในครอบครัวและเลือกเก็บสิ่งที่เกิดขึ้นไว้กับตัวเอง เธอเล่าว่าตลอด 7 ปีของการแต่งงาน เธอเหมือนเป็นนักโทษ ถูกสามีที่ตั้งตัวเป็นตำรวจประจำบ้านสอบปากคำเธอไม่เว้นแต่ละวัน และถ้าคำตอบของเธอไม่ถูกหูเขา เธอจะถูกทุบตีทันที

“เขาอารมณ์เสียง่ายมากแม้แต่กับเรื่องเล็กน้อยมาก ๆ อย่างเช่น ปลุกเขาเร็วไปนิดสายไปหน่อย เขาทำให้ฉันต้องคอยระวังตัวฝีก้าวที่จะไม่ทำให้เขาหงุดหงิด” ในที่สุดความอดทนของเธอก็ถึงขีดสุด เธอเลือกที่จะพาลูกสาวซึ่งตอนนั้นอายุ 4 ขวบที่เธอบอกว่าเป็นผลผลิตจากเหล้าและความรุนแรง หนีออกจากบ้าน เวลานี้เธอเปลี่ยนชื่อและต้องเข้ารับการบำบัดภาวะเครียดจากเหตุสะเทือนใจหรือ PTSD

ญี่ปุ่นเริ่มใช้กฎหมายต่อต้านการใช้ความรุนแรงในครอบครัวจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มสส.หญิงไม่สังกัดพรรคเมื่อปี 2544 คาดว่าก่อนหน้านั้น มีผู้หญิงถูกสามีฆาตกรรมปีละ 100-120 คน แต่กฎหมายนี้ก็ยังมีช่องโหว่หลายอย่าง เช่น ครอบคลุมแต่เฉพาะเหตุที่เกิดกับคู่สมรสไม่รวมถึงคนที่อยู่ด้วยกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและไม่มีข้อกำหนดเรื่องการให้ความคุ้มครอง ทำให้หลายคนหวั่นเกรงอันตรายจากการถูกแก้แค้นเอาคืน จึงเลือกที่จะไม่แจ้งความดำเนินคดี

โนะริโกะ ยะมะงุจิ ผู้ก่อตั้งกลุ่มรณรงค์ความเท่าเทียมทางเพศ AWARE กล่าวว่า “ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาสังคมที่สะท้อนสังคมผู้ชายเป็นใหญ่สังคมที่ผู้ชายมองว่าการใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงทั้งทางร่างกายและจิตใจนั้นเป็นเรื่อง “ปกติ” ของความสัมพันธ์ คนที่ชอบใช้ความรุนแรงหลายคนเคยถูกพ่อหรือแม่กระทำทารุณมาก่อน หรือไม่ก็เคยเห็นพ่อกระทำรุนแรงกับแม่เมื่อตอนเป็นเด็ก ทำให้เชื่อว่าการใช้ความรุนแรงกับเมียหรือลูกนอกจากจะเป็นธรรมดาที่ยอมรับได้แล้ว ยังเป็นอะไรที่เอาไปพูดอวดคนอื่นได้ด้วย ปัญหานี้จะไม่หมดไปถ้าผู้ชายยังคิดยังเชื่อแบบนี้อยู่”

 

ที่มา Japantimes

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า