SHARE

คัดลอกแล้ว

อียู ชี้แจงจะส่งผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งในประเทศใดต้องได้รับคำเชิญ ยืนยัน ไม่ได้เตรียมการลงพื้นที่สังเกตการณ์เลือกตั้งของไทย พร้อมเคารพต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศ แต่หากสนใจก็จะพิจารณาส่งทีมมาร่วม

วันที่ 11 พ.ย. เพจเฟซบุ๊ก คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (European Union in Thailand)  โพสต์ข้อความกรณีความเป็นไปได้ในการส่งคณะสังเกตการณ์การเลือกตั้งของสหภาพยุโรป หรือ อียู มาสังเกตการณ์การเลือกตั้งทั่วไปของไทยที่กำลังจะเกิดในปี 2562 ว่า

“สืบเนื่องจากการคาดคะเนในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการส่งคณะสังเกตการณ์การเลือกตั้งของสหภาพยุโรป คณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยมีความประสงค์ที่จะออกคำชี้แจงดังต่อไปนี้ : ตั้งแต่ปี 1993 สหภาพยุโรปได้สังเกตการณ์การเลือกตั้งใน 65 ประเทศเป็นอย่างน้อย ซึ่งรวมไปถึงประเทศในแถบอาเซียน (อินโดนีเซีย กัมพูชา เมียนมาร์) และ ติมอร์-เลสเต

การสังเกตการณ์การเลือกตั้งของสหภาพยุโรป (EOM) นั้น จะสามารถลงพื้นที่ได้ก็ต่อเมื่อได้รับการรับเชิญจากเจ้าหน้าที่ทางการให้มาสังเกตการณ์ นอกเหนือไปจากนั้น การสังเกตการณ์การเลือกตั้งของสหภาพยุโรปยังต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ ซึ่งมีความสอดคล้องตรงกันกับปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยหลักการในการสังเกตการณ์การเลือกตั้งสากล ซึ่งผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งของสหภาพยุโรปจะต้องปฏิบัติตาม โดยความเป็นธรรม การไม่แทรกแซง ความเคารพต่อกฎระเบียบและกฎหมายของประเทศ รวมไปถึงการสังเกตการณ์ที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและตรวจสอบได้ เป็นพลังในการทำงานการสังเกตการณ์ของสหภาพยุโรป

ในกรณีของประเทศไทย สหภาพยุโรปไม่ได้เตรียมการในการลงพื้นที่สังเกตการณ์การเลือกตั้ง แต่หากประเทศไทยมีความสนใจที่จะให้สหภาพยุโรปมาร่วมงานในด้านนี้ ทางสหภาพยุโรปสามารถที่จะพิจารณาส่งทีมภารกิจการสำรวจ เพื่อมาพบกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของไทย และประเมินว่าการส่งทีมการสังเกตการณ์การเลือกตั้งนั้นจะมีประโยชน์และสามารถทำได้หรือไม่ โดยที่ยังเคารพต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศ องค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งในการประเมินก็คือ ความพร้อมของเจ้าหน้าที่ทางการที่จะส่งจดหมายเชิญให้อียูสามารถดำเนินการสังเกตการณ์การเลือกตั้งได้อย่างทันท่วงที ซึ่งตอนนี้ทางสหภาพยุโรปยังไม่ได้รับจดหมายเชิญ นอกจากนี้ทีมภารกิจการสำรวจยังมีหน้าที่ในการประเมินจำนวนของผู้สังเกตการณ์ที่จะลงพื้นที่อีกด้วย”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต. เผย ‘อียู’ ขอส่งผู้สังเกตการณ์เลือกตั้ง พร้อมชี้แจงกรณียุบพรรคการเมืองหลัง 26 พ.ย.

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า