Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นอกจากพื้นที่จังหวัดขอนแก่นแล้ว น้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ ยังเป็นน้ำต้นทุนที่ใช้หล่อเลี้ยงแม่น้ำชี ตั้งแต่จังหวัดมหาสารคามลงไป และปีนี้ ปริมาณน้ำในเขื่อนแห่งนี้มีน้อยที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้แผนการบริการจัดการน้ำ จึงเน้นกักเก็บน้ำไว้สำหรับอุปโภคบริโภค

วันที่ 20 ก.พ. 2562 จากการสำรวจพื้นที่การเกษตรนอกแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งของชลประทานที่ 6 กลับพบว่า มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง กว่า 3 แสน 2 หมื่นไร่ ทำให้ขณะนี้ ปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ อาจไม่เพียงพอ

สภาพน้ำท้ายเขื่อนวังยาง จังหวัดมหาสารคาม ที่แห้งขอด จนเห็นสันดอนทราย สะท้อนให้เห็นว่าน้ำในแม่น้ำชี ช่วงไหลผ่านจังหวัดมหาสารคาม มีปริมาณน้อยและ ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ระดับน้ำหน้าเขื่อนพบว่า ต่ำกว่าหัวกระโหลก เครื่องสูบน้ำผลิตประปาเมืองมหาสารคาม มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 93 เซนติเมตรซึ่งตามหลักเกณฑ์ ห้ามต่ำกว่า 50เซนติเมตร แต่กลับพบว่าแต่ละวันน้ำลดลงไม่น้อยกว่าวัน1ถึง2เซนติเมตร

    

นั่นเท่ากับว่า ปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการผลิตน้ำประปาเมือง มหาสารคาม อย่างมีคุณภาพ จะเหลือใช้อีกเพียงประมาณ 1 เดือน ซึ่งหลังจากนั้นจะต้องต่อท่อน้ำเพื่อสูบน้ำลึกขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำได้

การปลูกข้าวนาปรัง ซึ่งอยู่นอกแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปีนี้ คือข้อกังวลใจของเจ้าหน้าที่ในการบริหารจัดการน้ำ ให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค

แสดงให้เห็นพื้นที่ทำนาปรัง โดยเฉพาะบริเวณ เขื่อนมหาสารคามไปจนถึง เขื่อน วังยาง เนื้อที่กว่า 4 หมื่น 4 พันไร่ ต้องใช้น้ำไม่น้อยกว่า 37 ล้านลูกบาศก์เมตร

รวมทั้งตลอดแนวริมฝั่งแม่น้ำชี ตั้งแต่เขื่องวังยางลงไปถึงเขื่อนร้อยเอ็ด และตามลุ่มน้ำยัง จนถึงบริเวณหน้าเขื่อนธาตุน้อย จะเห็นได้ว่ามีพื้นที่การเกษตรนอกแผน หรือปลูกข้าวนาปรัง ไม่น้อยกว่า 3 แสน 2 หมื่น 3 พันไร่ รวมแล้วทำให้ต้องใช้น้ำไม่น้อยกว่า 200 ล้านลูกบาศก์เมตร 

ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา ชลประทานที่ 6 บอกว่า วิธีการที่จะช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤติภัยแล้งปีนี้ คือเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรัง ควรประหยัดน้ำ โดยใช้วิธีการแกล้งข้าว ส่วนเกษตรกรที่วางแผนปลูกข้าวนาปรังเพิ่ม ขอให้งดการเพาะปลูก เพราะหากประสบปัญหาภัยแล้ง ก็จะไม่เข้าเกณฑ์รับเงินชดเชย

ส่วนพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการประสบปัญหาภัยแล้ง และอาจขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค คือ พื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด และยโสธร เนื่องจากอาจมีการดึงน้ำไปใช่ส่วนอื่นและอาจทำให้น้ำต้นทุนที่มีอยู่น้อยไม่เพียงพอ 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า