SHARE

คัดลอกแล้ว

อีสานโพล เผยผลสำรวจเรื่อง “คนอีสานกับโค้งสุดท้ายเลือกตั้ง ส.ส. 2562” พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีเเนวโน้มสนับสนุน ผู้สมัตรจากพรรคเพื่อไทย มากที่สุดถึง 43.6 %

วันที่ 13 มี.ค. 62 อีสานโพล (E-Saan Poll) ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยผลสำรวจเรื่อง “คนอีสานกับโค้งสุดท้ายเลือกตั้ง ส.ส. 2562” พบว่า ในการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562  กลุ่มตัวอย่างคนอีสานส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะสนับสนุน ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย และพรรคอนาคตใหม่ และบุคคลที่ต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดคือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ

ผศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลเปิดเผยว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นคนอีสานกับการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 เพื่อประเมินผลการเลือกตั้งในภาคอีสาน ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2562 จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,093 ราย กระจายตามสัดส่วนโครงสร้างประชากรในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด

เมื่อสอบถามว่าในการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ท่านมีแนวโน้มจะสนับสนุนผู้สมัครจากพรรคการเมืองใดมากที่สุด พบว่า อันดับหนึ่งร้อยละ 43.6 มีแนวโน้มจะสนับสนุนผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย รองลงมาร้อยละ 23.2 สนับสนุนผู้สมัครจากพรรคอนาคตใหม่

ตามมาด้วย ร้อยละ 11.7 พรรคพลังประชารัฐ , ร้อยละ 6.6 พรรคประชาธิปัตย์ , ร้อยละ 6.2 พรรคภูมิใจไทย , ร้อยละ 3.3  พรรคเสรีรวมไทย , ร้อยละ 2.2 พรรคอื่นๆ หรือกำลังตัดสินใจ , ร้อยละ 1.3 พรรคชาติพัฒนา , ร้อยละ 0.9 พรรคเพื่อชาติ และ พรรคชาติไทยพัฒนา

เมื่อสำรวจความคิดเห็นว่า ต้องการให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด พบว่า อันดับ 1 คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 31.1 คือ,  ร้อยละ 14.3 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ , ร้อยละ 24.9 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ , พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 11.9 , นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 7.0 , นายอนุทิน ชาญวีรกุล ร้อยละ 4.3 , พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ร้อยละ 2.5 และ อื่นๆ ร้อยละ 4.2

เมื่อสำรวจความคิดเห็นว่าพรรคใดมีนโยบายเศรษฐกิจที่โดนใจ และมีโอกาสทำเป็นจริงได้มากที่สุด พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 44.6 พรรคเพื่อไทย รองลงมาพรรคอนาคตใหม่ ร้อยละ 23.7 , พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 10.1 , พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 6.2 , ไม่มีหรือไม่ทราบ ร้อยละ 4.4 , พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 4.1 , พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 3.0 , พรรคชาติพัฒนา พรรคเพื่อชาติ ร้อยละ 1.0 และพรรคอื่นๆ ร้อยละ 1.8

เมื่อสอบถามว่า หลังการเลือกตั้ง ต้องการให้พรรคใดคุมกระทรวงด้านเศรษฐกิจและการเกษตรมากที่สุด พบว่า เกือบครึ่งหรือร้อยละ 49.6  ต้องการให้พรรคเพื่อไทยคุมกระทรวงด้านเศรษฐกิจและการเกษตร รองลงมา ร้อย ละ 24.4 พรรคอนาคตใหม่ , ร้อยละ 7.9 พรรคพลังประชารัฐ , ร้อยละ 6.4 พรรคประชาธิปัตย์ , ร้อยละ 4.6 พรรคภูมิใจไทย , ร้อยละ 2.0 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.5 , พรรคชาติพัฒนา ร้อยละ 1.4 , พรรคเพื่อชาติ และร้อยละ 1.9 พรรคอื่นๆ

สุดท้ายเมื่อสอบถามว่า หลังการเลือกตั้งต้องการให้พรรคใดคุมกระทรวงด้านการศึกษาและเทคโนโลยี มากที่สุด พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 39.2  ต้องการให้พรรคอนาคตใหม่ คุมกระทรวงด้านการศึกษาและเทคโนโลยี รองลงมาร้อยละ 32.3 พรรคเพื่อไทย , ร้อยละ 8.8 พรรคพลังประชารัฐ , ร้อยละ 7.0 พรรค ประชาธิปัตย์ , ร้อยละ 4.5 พรรคภูมิใจไทย , ร้อยละ 2.2 พรรคเสรีรวมไทย , ร้อยละ 2.1 พรรคเพื่อชาติ , ร้อยละ 1.4 พรรคชาติพัฒนา และร้อยละ 2.3 พรรคอื่นๆ

ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง มีความเชื่อมั่นในการพยากรณ์  99 % และคลาดเคลื่อนได้บวกลบ 4 % ประกอบด้วยเพศหญิงร้อยละ 51.1 เพศชายร้อยละ 48.9

ด้านอายุ ช่วงอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 10.2 , อายุ 26-30  ปี ร้อยละ 11.0  , อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 20.1 , อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 29.7 , อายุ 51-60 ปี ร้อยละ 22.5 และอายุตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไป ร้อยละ 6.6

ระดับการศึกษาที่สำเร็จ ระดับประถมศึกษา /ต่ำกว่า : ร้อยละ 35.4 , ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 18.3 , ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 15.8  , ระดับอนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 6.3 , ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20.3 และระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า ร้อยละ 3.9

ด้านอาชีพ ประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 38.2 , รองลงมารับจ้างทั่วไป/ใช้แรงงาน ร้อยละ 14.6 , พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.8 , รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.0 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 10.2 , นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 7.1 , พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 5.9 และอื่นๆ ร้อยละ 1.3

ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 17.4  , รายได้ 5,001-10,000 บาท ร้อยละ 38.3 , รายได้ 10,001-15,000 บาท ร้อยละ 15.9 , รายได้ 15,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.9 , รายได้ 20,00 – 140,000 ร้อยละ 13.3 และรายได้มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 5.2

หมายเหตุ : นอกเหนือจากผลส ารวจซึ่งน าเสนอข้อมูลตามวิธีทางสถิติแล้วความคิดเห็นอื่นๆ ในผลส ารวจนี้เป็น ความเห็นของผู้รับผิดชอบโครงการซึ่งไม่จ าเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจ อีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ที่มา อีสานโพล 13 มี.ค. 62

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า