SHARE

คัดลอกแล้ว

การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อัตราการเกิดที่ลดลง ค่าแรงที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ทำให้ศูนย์กลางความรู้ทางเศรษฐกิจและธุรกิจ  แห่งธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ Economic Intelligence Center (EIC) คาดการณ์ว่า หุ่นยนต์อาจเข้ามาทำงานแทนแรงงานไทยกว่า 6.5 แสนคน ภายในปี 2030

ด้วยประโยชน์ของหุ่นยนต์ที่ทำงานได้เร็วกว่าแรงงาน ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตถูกลง หุ่นยนต์ทำงานได้แม่นยำกว่า รวมทั้งปัญหาขาดแคลนแรงงาน ค่าแรงสูงขึ้น ราคาหุ่นยนต์ลดลง ฯลฯ ทำให้ความต้องการหุ่นยนต์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลไทยมีนโยบายส่งเสริมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robots: IR) ทั้งส่งเสริมกิจการที่ผลิตหุ่นยนต์ และส่งเสริมให้มีการใช้หุ่นยนต์ ในปี 2559 ไทยที่นำเข้ามากว่า 13,500 ตัวส่วนมากใช้ในโรงงานยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหารและเครื่องดื่ม

รายงานระบุว่า สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการลงทุนในหุ่นยนต์ ในงานเชื่อมสปอต (spot welding) สามารถทดแทนการใช้แรงงานได้ประมาณ 5 คนต่อตัว ซึ่งมีราคาอยู่ที่ประมาณตัวละ 3.5 – 4.5 ล้านบาท กับต้นทุนการจ้างแรงงานเชื่อมสปอตในปัจจุบันที่มีค่าแรง วันละ 400 – 480 บาท พบว่าระยะเวลาที่ผู้ประกอบการจะคุ้มทุนจากการลงทุนในหุ่นยนต์จะอยู่ที่ราว 8-10 ปี

ขณะที่การใช้งานหุ่นยนต์สำหรับงานทั่วไปในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุตสาหกรรม อื่นๆ ที่มีราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ตัวละ 1.2 ล้านบาทต่อตัว และสามารถทดแทนแรงงานได้ราว 2 คนต่อตัว ผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่จะคุ้มทุนภายในระยะเวลา 6-10 ปี จากอัตราค่าจ้างในปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 300 – 450 บาท ต่อวัน

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาคุ้มทุนกับอายุการ ใช้งานหุ่นยนต์ที่มีอายุประมาณ 8-12 ปี จึงสามารถสรุปได้ ว่า ณ ระดับค่าจ้างในปัจจุบัน การลงทุนในหุ่นยนต์เพื่อทดแทน การใช้แรงงานอยู่ในระดับที่คุ้มค่ากับการลงทุนแล้ว

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/571705219865427/

อีไอซีคาดว่าแนวโน้มการใช้หุ่นยนต์ที่มากขึ้นของไทย จะส่งผลให้แรงงานกว่า 6.5 แสนคน หรือราว 15% ของจำนวนแรงงานทั้งหมดในภาคการผลิตจะถูกแทนที่ภายในปี 2030 จากสถานการณ์ที่การใช้หุ่นยนต์เพื่อทดแทนแรงงานเริ่มมีความคุ้มค่ามากขึ้นในปัจจุบัน

ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมแรกๆ ที่แรงงานมีโอกาสถูกแทนที่ คือ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น (labor intensive) และมีลักษณะงานที่ทำซ้ำๆ กันอย่างต่อเนื่อง เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องดื่ม ที่มีการจ้างงานรวมกันราว 2 ล้านคน

โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะเมื่อพิจารณาสัดส่วนการใช้หุ่นยนต์ต่อการผลิตรถยนต์ของ ไทยที่อยู่ในระดับ 16 ตัวต่อการผลิตรถยนต์ 1,000 คัน มีค่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ในระดับ 40 ตัวต่อการผลิตรถยนต์ 1,000 คัน แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่ผู้ประกอบการจะลงทุนในหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากขึ้นในอนาคต

แม้ว่าหุ่นยนต์อาจทำให้แรงงานตกงาน แต่ก็สร้างงานใหม่เช่นกัน เช่น งานออกแบบระบบอัตโนมัติ งานเขียนโปรแกรม งานซ่อมบำรุ่งหุ่นยนต์ เป็นต้น แต่ท้ายที่สุดนี้ อีไอซีแนะนำว่า ภาครัฐบาล เอกชน หน่วยงานต่างๆ ควรส่งเสริมพัฒนาทักษะให้กับแรงงานเพื่อให้เหมาะสมต่อความต้องการที่เปลี่ยนไป

 

อ่านรายงานฉบับเต็ม เจาะลึกอุตสาหกรรมเด่นขานรับโครงการ EEC

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า