SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจาก www.sc.psu.ac.th

ประเด็นคือ – อาจารย์คณะคุรุศาสตร์ จุฬาฯ มองนโยบาย ตัดงบสนับสนุน สาขาวิชาที่ไม่มีงานทำ คิดแบบการตลาด “มนุษยศาสตร์” ต้องโดนก่อน หลังมีหนังสือจาก ยกคำสั่งนายกฯ ว่อน

กลายเป็นเรื่องถกเถียงในแวดวงการศึกษาไทย เมื่อมีหนังสือ ลงนามโดย นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)ในฐานะ กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา ระบุว่า มีข้อสั่งการจากนายกรัฐมนตรี เพิ่มเติม หลังจากได้นำเรื่องเสนอ โครงการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ ในอุดมศึกษา เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก (ทุนพัฒนาอาจารย์) พ.ศ.2561 – 2580 รวม 2 ข้อ คือ

  1. ให้ศึกษาในประเด็นการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนวัยเรียน ประถม มัธยม ให้ได้คนที่มีศักยภาพ ตรงความต้องการของประเทศอย่างไร ผู้ที่เข้าอุดมศึกษา สาขาที่ต้องการได้อย่างไร ส่วนหนึ่งไปอาชีวะได้ปริญญาอย่างไร เพื่อสร้างความชัดเจนให้สังคม ประชาชน ผู้ปกครองเข้าใจ
  2. กรณีการสนับสนุนงบประมาณในอุดมศึกษา ให้ควบคุมสาขาที่ไม่มีงานทำ ไม่ตรงความต้องการ การลดเงินอุดหนุน หรือไม่ให้ เช่น จีน ทำเหตุผล จบมาไม่มีงานทำ แต้ต้องใช้หนี้ กยศ. ปัญหาต่อเนื่อง

ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้าน ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ความเห็น ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า  นี่คือการคิดแบบเอาตลาด และโลกพังๆ ที่เป็นอยู่ เป็นตัวตั้งในการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง แนวคิดแบบเสรีนิยมใหม่สุดโต่งที่คิดอะไรเป็นตัวเลข ต้องการเห็นผลทันใจ มองประโยชน์ระยะสั้น ไม่เห็นการลงทุนระยะยาวในการพัฒนาสังคม และที่สำคัญนี่คือเรื่องการศึกษา ถ้าจะไม่สนับสนุนสาขาที่บัณฑิตจบไปไม่ตรงความต้องการตลาด สาขาวิชาทางมนุษยศาสตร์คงโดนหนักก่อน

สาขาวิชาอย่างปรัชญา วรรณคดี นั้นหากพิจารณาผิวเผิน อาจดูไม่มีมูลค่าทันทีเชิงการตลาด แต่เวลาสังคมต้องการการถกเถียงทางความคิด เราก็พบว่า เพราะตรรกะมันบิดเบี้ยว เพราะละเลยไม่ร่ำเรียนปรัชญา ไม่ฝึกตั้งคำถาม ไม่มีการฝึกวิเคราะห์กรอบคิด ไม่มีการฝึกการใช้เหตุผลในการถกเถียง ฯลฯ สาขาวิชาอย่างวรรณคดี คือ ต้นทุนทางวัฒนธรรม ไม่ได้เห็นผลทันทีทันใจ แบบว่าเรียนจบปุ๊ปเป็นนักเขียนดังปั๊บ แต่ภาพยนตร์ชุดอย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ลอร์ดออฟเดอะริง ซีรีส์ อย่าง เกม ออฟ โทรน ที่ทำรายได้ให้อุตสาหกรรมสื่อ สิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ละครเวที เป็นหมื่นๆ ล้านเหรียญ ก็มาจากการสั่งสมความรู้ทางวรรณคดีของสังคมที่ฟูมฟักให้เกิดนักเขียน คนเขียนบท ฯลฯ

สาขาวิชาเหล่านี้ยิ่งต้องการการพัฒนาบุคลากร เพราะเป็นสาขาที่จะหวังให้ผู้เรียนไปหาทุนจากแหล่งอื่นมาส่งตัวเองเรียนยิ่งหาได้ยากมากๆ สิ่งที่รัฐต้องพิจารณาให้รอบคอบ คือ มหาวิทยาลัยไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อผลิตแรงงาน แต่หน้าที่หลักของมหาวิทยาลัย คือ การเป็นกลไกสร้างต้นทุนทางปัญญา ต้นทุนมนุษย์ ต้นทุนทางวัฒนธรรม ฯลฯ อย่างไรเสียก็ต้องมีสาขาที่ถอยไม่ได้ รัฐต้องอุ้มชูไว้ ถ้าจะลดการสนับสนุนเพราะเรื่องตลาดงานก็ต้องพิจารณาดูสาขาที่มันลิงค์กับตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปแล้วจริงๆ ไม่ใช่เหมาเข่งไปเสียหมด

พูดอย่างนี้ไป คนที่เติบโตมาแบบ market-driven (ขับเคลื่อนด้วยการตลาด) ในสังคมที่มองอะไรแค่ผลตอบแทนระยะสั้นก็ไม่เข้าใจ และคงยากที่จะพยายามทำความเข้าใจ และที่น่าเศร้าไปกว่านั้นก็คือ มหาวิทยาลัยในทุกวันนี้ก็แทบจะสมยอมต่อหน้าที่โรงงานผลิตแรงงาน ไม่ได้ทุ่มเททำหน้าที่สั่งสมหรือสร้างสรรค์ปัญญาให้สังคมได้เห็นว่ามีมหาวิทยาลัยไว้เพื่ออะไรเสียด้วย”

ขอบคุณภาพ FB : Athapol Anunthavorasakul / www.sc.psu.ac.th

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า