SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วยกันหาทางให้แจกยากัญชารักษามะเร็งได้ถูกกฎหมาย ใช้เงื่อนไข อ.เดชา เคยศึกษาสมุนไพรรางจืด ให้จดทะเบียนเป็นหมอพื้นบ้านได้ก่อน เพราะกัญชายังไม่เข้าเกณฑ์รักษาต่อเนื่อง 10 ปี ส่วนการแจกยา ต้องใช้ระบบร่วมกับหน่วยงานรัฐที่มีการวิจัยผู้ป่วยถือเป็นผู้ร่วมวิจัย คาดเริ่มกลับมาแจกได้ภายในเดือนนี้ หลังคนไข้ขาดยาตั้งแต่ 3 เม.ย.

วันที่ 17 เม.ย. นายเดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ พร้อมด้วยนายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต และนางรสนา โตสิตระกูล ตัวแทนมูลนิธิสุขภาพไทย เดินทางมาเข้าพบนายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพื่อหารือแนวทางการจดทะเบียน ให้นายเดชาเป็นหมอพื้นบ้าน หลังก่อนหน้านี้นายเดชาเคยยื่นจดทะเบียนเป็นแพทย์แผนไทยแต่คุณสมบัติไม่ตรง ทางสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีจึงไม่อนุญาต

นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ

หลังการหารือนานกว่า 3 ชั่วโมง นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า คุณสมบัติของนายเดชาเข้าตามระเบียบกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555 ที่กำหนดคุณสมบัติ 8 ประการในการขอหนังสือรับรองเป็นหมอพื้นบ้าน เช่น ต้องดูแลสุขภาพชุมชนไม่น้อยกว่า 10 ปี มีความสามารถในการบำบัดโรค ไม่หวงวิชา ไม่เรียกร้องค่ารักษามากเกินไป มีคุณธรรม มีการถ่ายทอดความรู้ และได้รับการยอมรับจากคนในชุมชน ขณะที่วันนี้ ทีมงานที่ได้รับมอบอำนาจจากนายเดชาได้ไปยื่นขอใบอนุญาตที่สาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี คาดว่า จะใช้กระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการออกใบอนุญาตภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยยื่นเงื่อนไขการใช้สมุนไพรรางจืดที่นายเดชาได้คิดค้นใช้รักษาผู้ป่วยตั้งแต่ปี 2530

เดชา ศิริภัทร

ด้านนายเดชา ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ ระบุว่า ตนห่วงคนไข้ 5,000 กว่ารายที่ขาดยามาตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. ถึงวันนี้กว่าครึ่งเดือนแล้ว จะทำอย่างไรให้สามารถแจกยาให้คนไข้ได้เร็วที่สุด โดยไม่ผิดกฎหมาย หลังจากเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด (ปปส.)จับเจ้าหน้าที่ของตนไป เพราะมองว่าไม่ได้จดแจ้งก่อน แม้จะเป็นช่วงนิรโทษกรรม ทาง ปปส.แนะนำว่า ถ้าจะทำต่อต้องทำ 2 อย่าง คือ ตนต้องยื่นขอใบอนุญาตเป็นแพทย์พื้นบ้าน และจะแจกได้ถูกกฎหมายต้องไปร่วมกับหน่วยงานรัฐที่มีการวิจัย โดยนำคนไข้เป็นผู้ร่วมวิจัย

อย่างไรก็ตาม ภาคประชาชนจะช่วยกันผลักดันข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในตอนนี้ให้เปิดกว้างให้ได้ต่อไป ซึ่งวันที่ 17 เม.ย.จะมีการประชุมร่วมกับ 10 องค์กรประกอบด้วย 3 มหาวิทยาลัย 5 มูลนิธิ และหน่วยงานรัฐ เพื่อหาทางออกโดยผลักดันให้น้ำมันกัญชาเป็นงานวิจัย

ทั้งนี้ นายเดชาจะเป็นผู้วิจัยร่วมซึ่งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ขั้นตอนหลังจากนี้จะต้องทดสอบความปลอดภัยน้ำมันกัญชาของนายเดชา ต้องไม่มีเชื้อโรค เชื้อรา ยาฆ่าแมลง ต้องใช้เวลาพิสูจน์ และเก็บตัวอย่างผู้ป่วยที่ขอรับน้ำมันกัญชา 5,000 ราย จะต้องบันทึกประวัติผู้ใช้อย่างชัดเจน เพื่อสำรวจผลการรักษาก่อนขึ้นทะเบียนรับรองก่อนแจกให้ผู้ป่วยได้ คาดการณ์ว่าจะสามารถเร่งดำเนินการให้ทันภายใน 30 เม.ย.นี้

ส่วนการลงทะเบียนนิรโทษกรรมกัญชา ภายใน 90 วัน วัน ผู้ได้รับมอบอำนาจจากนายเดชาได้ขอลงทะเบียนไปพร้อมกับขออนุญาตใบรับรองหมอพื้นบ้านกับสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี โดยลงทะเบียนในประเภทที่ 3

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า