SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ- ที่ จ.เชียงใหม่ ตรวจสอบพบผู้บุกรุกที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ท่าช้าง และป่าแม่ขนิน ซึ่งต่อมาที่ดินทำเลนี้ ถูกขนานนามว่าเป็น ‘หุบเขาไฮโซ’ โดยถูกบุกรุกมานานกว่า 10 ปี เรื่องมาแดงเพราะนักลงทุนขัดแย้งกันเอง จนเกิดการร้องเรียนนำไปสู่การตรวจสอบ ขณะราคาที่ดินยังพุ่งสูง ติดป้าย แห่ขายคึกคัก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากอธิบดีกรมป่าไม้และชุดพยัคฆ์ไพร  ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่า ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ท่าช้าง และป่าแม่ขนิน ต.น้ำแพร่ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็น ‘หุบเขาไฮโซ’ เนื่องจากมีกลุ่มนักธุรกิจ และนักลงทุนเข้ามากว้านซื้อที่ดินเพื่อสร้างบ้านพักตากอากาศ รีสอร์ตหรู จำนวนมาก เพราะพื้นที่ดังกล่าวภูมิประเทศเป็นป่าธรรมชาติที่ตั้งอยู่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่มากที่สุด ระยะห่างเพียง 30 กิโลเมตร

เบื้องต้นจากการตรวจสอบ พบมีสิ่งปลูกสร้างรุกพื้นที่ป่า จำนวน 18 ราย เนื้อที่รวมประมาณ 144 ไร่ 2 งาน 60 ตรว. ซึ่งมีรีสอร์ตที่มีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดิน จำนวน 11 แปลง เนื้อที่ 47 ไร่ 3 งาน 5 ตรว., เป็น นส.3 จำนวน 1 แปลง 2 ไร่ 1 งาน 19 ตรว. และเป็นพื้นที่ที่เคยสำรวจการถือครองตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 41 จำนวน 8 แปลง เนื้อที่ 41 ไร่ 2 งาน 47 ตรว. และพื้นที่ประเภทอื่นๆ อีก 8 แปลง

ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สำรวจในทำเลหุบเขาไฮโซ พบว่า มีการติดป้ายประกาศขายที่ดินกันอย่างคึกคัก แม้บางแปลงมีเอกสารสิทธิ์ นส.3 แต่ก็มีราคาสูงถึง ตรว.ละ 5,000 – 10,000 บาท หรือไร่ละ 3 – 5 ล้านบาท เมื่อเทียบกับราคาประเมินที่ดินอยู่ที่ ตรว.ละ 2,000 – 3,000 บาท โดยราคาขายจะเพิ่มขึ้นตามมูลค่าของทำเล เช่น ตั้งอยู่ติดเชิงเขา หรือติดถนนสายหลักภายในหมู่บ้าน มีระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า เข้าถึง และส่วนใหญ่เจ้าของที่ดินจะขายยกแปลง แต่ละแปลงมีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 10 – 50 ไร่

แหล่งข่าวในวงการที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ใน จ.เชียงใหม่ รายหนึ่ง ระบุว่า  นอกจากทำเลที่ตั้งจะเป็นป่าธรรมชาติอุดมสมบูรณ์แล้ว ยังอยู่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่มากที่สุด ที่ดินซึ่งมีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดินซึ่งมีจำนวนไม่มาก แต่ด้วยความต้องการที่มีสูง ทำให้มีการบุกรุกและขยายแนวเขตรุกล้ำเข้าไปในเขตป่าสงวนและอุทยานอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

“ก่อนหน้านี้เมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมา มีนักลงทุนเข้าไปบุกเบิกพื้นที่สร้างรีสอร์ตเพียงไม่กี่ราย จนบูมขึ้นมา ยิ่งทำให้ราคาที่ดินในพื้นที่หุบเขาไฮโซมีมูลค่าสูงขึ้นมาก และมีการบุกรุกพื้นที่กันอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความขัดแย้ง นำไปสู่การร้องเรียนให้มีการตรวจสอบ กระทั่งหน่วยงานรัฐเข้ามาสำรวจพื้นที่ครั้งใหญ่ และดำเนินการกับผู้บุกรุกป่า ทั้งที่ก่อนหน้านี้เป็นที่รู้กันดีกว่ามีการซื้อขายที่ดินและรุกล้ำเข้าไปในเขตป่ากันอย่างโจ่งแจ้ง โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐรู้เห็น”

หนึ่งในผู้ที่ถูกตรวจสอบจากกรมป่าไม้ ระบุว่า เข้ามาซื้อที่ดินในหุบเขาไฮโซ ตั้งแต่ปี 55 จากสามีชาวต่างชาติที่มีภรรยาเป็นคนไทย ซึ่งได้ประกาศขายที่ดินผ่านเว็บไซต์ โดยก่อนหน้านี้มีชาวต่างชายในวัยเกษียณเข้ามาซื้อที่ดินและสร้างบ้านเพื่อหวังใช้ชีวิตบั้นปลายที่นี่ จากนั้นจึงชักชวนให้เพื่อนชาวต่างชาติเข้ามาซื้ออีก 5 – 6 ราย  โดยแต่ละรายเสียเงินซื้อที่ดินและสร้างบ้านไม่ต่ำกว่าหลังละ 5 – 12 ล้านบาท รวมมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 38 – 39 ล้านบาท

ต่อมาเจ้าหน้าที่จากกรมป่าไม้เข้ามาตรวจสอบและรังวัดที่ดินจึงทราบว่า มีที่ดินบางส่วนรุกเข้าไปในเขตป่าสงวน ทางกลุ่มผู้ซื้อจึงรวมตัวกันฟ้องร้องสองสามีภรรยาที่หลอกขายที่ดินให้ รวม 5 คดี เป็นคดีฉ้อโกง 4 คดี และยักยอกทรัพย์ 1 คดี

ล่าสุดมี 1 คดีที่ศาลยกฟ้องเพราะฟ้องผิดแปลง และอีกฝ่ายก็มีข้อได้เปรียบเนื่องจากมีรายชื่ออยู่ในการสำรวจการถือครองที่ดิน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า