SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ชัชชาติ’ ดูปัญหาน้ำท่วม กทม. หลังฝนถล่มดอนเมือง-หลักสี่ ท่วมซ้ำซาก 10 ปี เสนอลอกท่อ-ลงทุนปั๊มทั้งระบบใหม่

วันที่ 10 พ.ค. 2565 เวลา 10.30 น. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 8 ใส่บู๊ตลุยน้ำลุยฝน ลงพื้นที่เขตดอนเมือง และเขตหลักสี่ สำรวจปัญหาน้ำท่วมขัง จากกรณีฝนตกหนักพื้นที่กรุงเทพฯ โซนเหนือ ตั้งแต่เวลาประมาณ 16.00 น. เมื่อวานนี้ (9 พ.ค.) โดยพบว่า ปริมาณน้ำฝนสูงสุดเขตหลักสี่ 73.5 มิลลิเมตร มากกว่าประสิทธิภาพการระบายน้ำของกรุงเทพมหานครทั้งระบบเพียงเล็กน้อย ซึ่งมีประสิทธิภาพการระบายเฉลี่ยที่ 60 มิลลิเมตร

โดยเริ่มสำรวจจากถนนช่างอากาศอุทิศ หมู่บ้านศิริสุข และซอยปิ่นเงิน พบว่า ถนนช่างอากาศอุทิศ เขตดอนเมือง มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดแนว โดยพื้นที่ที่เป็นแอ่งกระทะที่มีปริมาณน้ำท่วมสูงสุดอยู่ระหว่างซอยช่างอากาศอุทิศ 12-16 ความสูงของระดับน้ำประมาณ 20 เซนติเมตร จากพื้นผิวถนนและในบางพื้นที่ยังไม่ถูกสำรวจว่ามีปัญหาน้ำท่วมขัง ทำให้ยังไม่มีมาตรการช่วยเหลือหรือมาตรการแก้ไขปัญหา

นายชัชชาติ กล่าวว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมในภาพใหญ่ของ กทม. มีทิศทางที่ดีขึ้น ภายหลังก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ อย่างไรก็ตามยังพบปัญหาน้ำท่วมตามตรอกซอยย่อย กระทบต่อประชาชนที่อาศัยในพื้นที่จำนวนมาก หลายพื้นที่เป็นจุดที่พบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากจำเป็นต้องเร่งแก้ไขทันที เสนอนโยบายตั้งเป้าหมายลอกทำความสะอาดท่อระบายน้ำให้ไม่น้อยกว่า 3,000 กิโลเมตรต่อปี เชื่อมโยงโครงข่ายในการระบายน้ำจากพื้นที่เส้นเลือดฝอย ตรอก ซอย ชุมชนต่างๆ ให้สามารถระบายไปสู่ระบบเส้นเลือดใหญ่อย่างอุโมงค์ระบายน้ำ รวมถึงทบทวนศึกษา เตรียมแผนรับมือ และจัดสรรงบประมาณเร่งรัดให้ดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงน้ำท่วม 9 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วมในถนนสายหลักอีกกว่า 48 จุด ซึ่งใช้งบประมาณไม่สูงมาก แต่สามารถแก้ไขปัญหาเส้นเลือดฝอย และสามารถทำให้พี่น้องประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้”

“ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาที่คนกรุงเทพฯ ต้องพบเจอ เป็นปัญหาแก้ไขไม่ได้ง่าย ต้องเริ่มแก้จากจุดที่มีน้ำท่วมซ้ำซ้อน สำหรับพื้นที่เขตดอนเมือง-หลักสี่ ต้องมีการลงทุนเรื่องท่อ ทำท่อใหม่ ติดตั้งปั๊มน้ำเพิ่ม ผลักดันน้ำลงคลองเปรมประชากร ต้องเอาจริงเอาจังทั้งระบบ เพราะชาวบ้านต้องเจอปัญหามาเป็นสิบปีแล้ว” นายชัชชาติ ระบุ

นายชัชชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในระยะยาวต้องมีการปรับระดับความสูงถนน และซอยอีกหลายจุดในกทม. พร้อมขยายขนาดท่อระบายน้ำให้สอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองที่ขยายขึ้น ตลอดจนเปิดพื้นที่ที่เป็นบ่อน้ำในสวนสาธารณะและสถานที่ราชการให้เป็นแก้มลิงรับน้ำจากพื้นที่ท่วมขังชั่วคราว ก่อนจะผ่องถ่ายน้ำเข้าระบบระบายน้ำหลักของ กทม.ต่อไป เท่านี้ก็พอจะช่วยให้การระบายน้ำเร็วขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ หากประชาชนในพื้นที่ใดที่พบเจอปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำซาก สามารถแจ้งเข้ามาทางทีมงานได้ทันที เพื่อนำปัญหาเหล่านั้นเข้าสู่ระบบ นโยบายรายเขต บนเว็บไซต์ chadchart.com และนำไปสู่การนำนโยบาย หรือมาตรการต่างๆ มาใช้แก้ไขปัญหาโดยทันที

 

 

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า