SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – มีข้อกังขาว่าโครงการ 9101 ภายใต้ร่มพระบารมี จ.สุรินทร์ ส่อทุจริต เกษตรจังหวัดจึงสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ และตอบข้อกังขาชัดเจนว่าไม่มีทุจริต เพราะตนลงพื้นที่ตรวจสอบด้วยตัวเอง

วันที่ 27 ก.ย. 60 เวลา 11.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ นายเอนก รัตน์รองใต้ เกษตรจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ 9101 ภายใต้ร่มพระบารมี และได้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ การทำข่าวประชาสัมพันธ์ ระหว่างเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ระดับอำเภอทุกแห่งในพื้นที่ จ.สุรินทร์ กับสื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ ที่ทำงานข่าวในพื้นที่ จ.สุรินทร์ พร้อมลงพื้นที่จริง เพื่อทำข่าวประชาสัมพันธ์โครงการเด่นของโครงการ 9101 ภายใต้ร่มพระบารมี

นายเอนก รัตน์รองใต้ เกษตรจังหวัดสุรินทร์

โดยแบ่งลงพื้นที่เป็น 4 สาย (4 โครงการเด่น) ออกเดินทางจากสำนักงานเกษตรจังหวัดสุรินทร์ สายที่ 1 โครงการปลูกพืชปลอดสารพิษ ชุมชนนาดี ชุมชนที่ 1 ณ บ้านประทัดบุ ม.5 ต.นาดี อ.เมือง จ.สุรินทร์ สายที่ 2 โครงการทอผ้าไหมสืบสานหัตถกรรมท้องถิ่น (ทอผ้าไหม) ชุมชนปราสาททนง ณ บ้านสะเดา ม.5 ต.ปราสาททนง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ สายที่ 3 โครงการธนาคารต้นไม้เพื่อสร้างป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ชุมชน ต.สังขะ 1 ตามรอยพ่อสู่วิถีพอเพียง ณ บ้านแบกจาน อ.6 ต.สังขะ อ.สังขะ จ.สุรินทร์ และสายที่ 4 โครงการส่งเสริมอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้า ชุมชนหนองเทพ ณ บ้านอีโสด ม.6 ต.หนองเทพ อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์

นายเอนก รัตน์รองใต้ เกษตรจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า จังหวัดสุรินทร์ได้มีการอนุมัติโครงการ 9101 ภายใต้ร่มพระบารมี จำนวนทั้งสิ้น 199 ชุมชน 216 โครงการ งบประมาณจำนวน 497.5 ล้านบาท ตอนนี้จบในวาระแรกแล้ว ต่อไปอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการต่อเนื่อง ซึ่งในวันนี้จะได้นำเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการได้มาสรุปผลการดำเนินการโครงการ ซึ่งหลังจากดำเนินการและออกสำรวจความพึงพอใจของโครงการแล้ว พบว่าเกษตรกรกว่า 96% มีความพึงพอใจซึ่งถือว่าสูงมาก เพราะโครงการทุกโครงการคงจะไม่มีความพึงพอใจถึง 100%

และวันนี้จะนำสื่อมวลชนลงพื้นที่โครงการตามกิจกรรมของโครงการฯ ในชุมชนต่างๆ ที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จและเป็นที่น่าพอใจ ในพื้นที่ จ.สุรินทร์ เพื่อประชาสัมพันธ์ถึงความสำเร็จของแต่ละชุมชน และเนื่องจากระยะเวลาที่กระชั้นชิด ทำให้เกษตรกรเลือกทำโครงการเกี่ยวกับปุ๋ยประมาณ 80% รองลงมาเป็นผ้าไหม การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์และการประมง ซึ่งกลุ่มทอผ้าไหมค่อนข้างยั่งยืน เกษตรกรทุกคนมีรายได้เพิ่มขึ้นมาเป็นที่น่าพอใจมาก

ส่วนการทำปุ๋ยอินทรีย์ที่มีปริมาณค่อนข้างเยอะ ในชุมชนชาวบ้านเห็นปุ๋ยที่ตนเองร่วมทำนั้นมีคุณภาพ ต่างก็ซื้อไปใช้เอง  ซึ่งถ้าจะไปดูเรื่องการทำปุ๋ยตอนนี้ส่วนใหญ่ก็จะไม่ค่อยมีแล้ว เพราะทุกคนต่างเอาไปใส่ที่นาหมด

สำหรับกรณีการร้องเรียนเรื่องไม่โปร่งใส นายเอนก รัตน์รองใต้ เกษตรจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า มีอยู่ไม่มาก ทั้งส่งจดหมายมาและโทรศัพท์มาแจ้ง ตนก็ได้ลงพื้นที่ไปดูด้วยตนเอง โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.ศีขรภูมิ มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบโดยผู้ว่าราชการ จ.สุรินทร์ คณะกรรมการมาจากส่วนกลาง คือ กรมส่งเสริมการเกษตร ก็ได้มีการลงไปตรวจสอบ ซึ่งผลการตรวจสอบก็แจ้งมาแล้ว มีข้อร้องเรียนอยู่ 3 ข้อ ได้แก่

ข้อที่ 1 เรื่องเจ้าหน้าที่มีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องในการจัดซื้อจัดหาวัสดุ ซึ่งก็ได้ตรวจสอบกับชุมชนนั้นๆ แล้ว โดยบทบาทและภารกิจของชุมชนจะเป็นคนติดต่อประสานงานเองกับผู้ที่ขายวัตถุดิบต่างๆ โดยตรง

ข้อที่ 2 คือ วัสดุที่จัดซื้อไม่มีคุณภาพ ตนเองก็ลงไปตรวจสอบด้วย พบว่าเป็นวัสดุที่มีกรวดปนมา แต่ชุมชนไม่รับ ผู้ที่ขายก็เอาวัตถุดิบที่ไม่มีกรวดปนมาให้แทน ส่วนวัตถุดิบที่มีกรวดปน ผู้ขายก็ไม่ได้ขนกลับไป ยังอยู่ที่เดิม ซึ่งเป็นของเหลือ ชาวบ้านไม่ได้มาเอา และคนขายก็ไม่เอากลับไป หลายคนไปเห็นวัตถุดิบก็คิดว่าเป็นวัตถุดิบที่มีการจัดซื้อ จึงเกิดการร้องเรียน

ข้อที่ 3 มีการสวมชื่อ คือไม่มาทำงาน แต่เอาชื่อมาเบิกเงิน ตนก็ลงไปตรวจสอบรายชื่อเองอย่างละเอียด พบอยู่ 1 ราย ระบุว่ามาลงชื่อแล้วขอตัวกลับเพราะรู้สึกไม่สบาย ขอตัวไปพบหมอ ซึ่งรายนี้ก็ตัดชื่อออก ไม่ให้เบิกงบประมาณ ถ้าเขาหายดีมาทำงานก็เบิกได้ปกติ

เกษตรจังหวัดสุรินทร์ กล่าวด้วยว่า โครงการนี้ชุมชนต้องทำอย่างต่อเนื่อง อย่างยั่งยืนตามชื่อของโครงการ แล้วแต่ว่าชุมชนนั้นจะทำอะไร ซึ่งข้อผิดพลาดต่างๆ ประธานชุมชน กรรมการชุมชน และสมาชิกชุมชนจะต้องรับผิดชอบเอง เกษตรฯ จะไม่เกี่ยวข้อง หรือมีหน้าที่ไปกำกับดูแล และหากเกิดกรณีอย่างข้างต้น ต้องไม่ให้เบิกเงิน ถ้าชุมชนให้เบิก ตนก็จะไปแจ้งความดำเนินคดี

นอกจาก อ.ศีขรภูมิแล้ว ยังมีในพื้นที่ อ.ท่าตูม และ อ.รัตนบุรี ที่มีการร้องเรียน ซึ่งที่ อ.ท่าตูม ก็เป็นเรื่องวัสดุไม่มีคุณภาพ คือเรื่องวัตถุดิบที่มีกรวดปนดังที่ว่าในข้างต้น ซึ่งยืนยันได้ว่าไม่พบการทุจริตเกิดขึ้นตามที่ร้องเรียน แต่มีคนที่กังขาว่าการจัดซื้อวัสดุแพงไปหรือไม่นั้น ตนตรวจสอบแล้ว เป็นวัสดุที่มีการสอบราคามาก่อนแล้ว ไม่ใช่เฉพาะ จ.สุรินทร์ ที่ซื้อราคานี้ จังหวัดอื่นก็ซื้อในราคาเท่ากัน ซึ่งการตรวจบัญชีต่างๆ จะเป็นหน้าที่ของ สนง.ตรวจบัญชีสหกรณ์ ซึ่งก็ลงไปตรวจสอบด้วยกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า