SHARE

คัดลอกแล้ว

สปป.ลาวต้องอพยพชาวบ้าน 6 หมู่บ้านออกจากเมืองสะหนามไช แขวงอัตตะปือ หลังอิทธิพลของพายุเซินติญทำให้ฝนตกหนักในเขตลาวใต้ ปริมาณน้ำฝนไหลสู่อ่างเก็บน้ำแห่งที่ 2 ของเขื่อนเซเปียน-เขื่อนเซน้ำน้อย มากกว่าปกติ เป็นเหตุให้สันเขื่อนแตกในช่วงเย็นของวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา

มวลน้ำกว่า 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) จากเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ไหลทะลักลงแม่น้ำเซเปียน และเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในแขวงอัตตะปือทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศลาว เจ้าหน้าที่เร่งหาทางปิดรอยแตกและซ่อมแซมจนสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ ควบคู่ไปกับการเข้าช่วยเหลือประชาชน

สำหรับเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ตั้งอยู่ในเขตที่ราบสูงโบโวเลน รอยต่อเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก กับเมืองสะหนามไช แขวงอัตตะปือ เริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2556 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในต้นปี 2562 ด้วยภูมิประเทศที่เป็นป่าเขาและเป็นจุดผ่านสำคัญของแม่น้ำโขง รัฐบาลลาวชูนโยบายการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าขายเพื่อนบ้าน ภายใต้คำขวัญ “แหล่งพลังงานของเอเชีย” จึงมีบริษัทต่างประเทศร่วมลงทุนระหว่างรัฐบาลลาว จำนวน 4 บริษัท คือ

1. บริษัท SK Engineering and Construction จำกัด ถือหุ้น 26%
2. บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้น 25%
3. บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 25%
4. บริษัท Lao Holding State Enterprise ถือหุ้น 24%

บริษัท ไฟฟ้าราชบุรีโอลดิ้งของไทย ร่วมลงทุนเป็นเงินกว่า 1,200 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 40,000 ล้านบาท หากโครงการสำเร็จคาดว่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ราว 410 เมกกะวัตต์ และประมาณ 90% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้จะส่งมาขายให้กับประเทศไทย ส่วนที่เหลืออีก 10% ทางการลาวจะเก็บไว้ใช้เอง

งานก่อสร้างโครงการเซเปียน-เซน้ำน้อย จะใช้เวลารวม 64 เดือน กำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 ณ เดือน พ.ค. การก่อสร้างก้าวหน้าถึง 89% โดยเฉพาะงานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 3 แห่งตั้งอยู่ในแขวงจำปาสัก ประกอบด้วย ฝายห้วยหมากจัน เขื่อนเซเปียน และเขื่อนเซน้ำน้อย ได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์และเริ่มเก็บน้ำแล้วเมื่อปี 2560 จนถึงปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 71% ส่วนงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ในแขวงอัตตะปือ อยู่ระหว่างติดตั้งกังหันพลังน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจำนวน 4 ชุด

โครงการนี้นับเป็นความท้าทายของงานออกแบบและก่อสร้างทางวิศวกรรมของโรงไฟฟ้าพลังน้ำแห่งหนึ่งของภูมิภาคนี้ เนื่องจากเป็นการออกแบบอ่างเก็บน้ำถึง 3 ระดับ โดยมีการขุดเจาะอุโมงค์ผันน้ำในแนวราบยาวรวม 13.59 กิโลเมตร ด้วยเทคโลโนยี (Tunnel Boring Machine: TBM) และแนวดิ่งสูง 458 เมตร ทำให้เพิ่มระดับความสูงของน้ำถึง 650 เมตร เพื่อสร้างแรงดันน้ำในการหมุนกังหันผลิตไฟฟ้าโดยใช้ปริมาณน้ำน้อยมาก

ปัจจุบัน สปป.ลาว มีเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ จำนวน 39 เขื่อน และอีก 53 โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้างและอยู่ในแผน ซึ่งภายในปี 2020 ลาววางแผนสร้างสายส่งไฟฟ้า 54 แนว และ สถานีย่อย 16 แห่ง ทำให้มีรายได้จากการขายไฟฟ้าถือเป็น 2/3 ของ มูลค่าการส่งออกรวมของประเทศ

ขอบคุณข้อมูลจาก www.hydroworld.com และ PhenluangPhenlao

อ่านข่าวอื่นได้ที่
เว็บไซต์ : workpointnews.com
เฟซบุ๊ก: ข่าวเวิร์คพอยท์ ตลาดข่าว   
ยูทูบ: workpoint news   
ทวิตเตอร์: workpoint news   
อินสตาแกรม: workpointnews

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า