SHARE

คัดลอกแล้ว

ครม. อนุมัติหลักการ ร่างกฎกระทรวงกำหนดความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ห้ามมั่วสุม-ชูสาว ทุกที่ทุกเวลา ด้าน กทม. เรียกผู้ดูแลสวนสาธารณะทั่วกรุงขันน๊อตดูแลห้ามประชาชนมั่วเซ็กซ์

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (14 ส.ค. 61) อนุมัติหลักการ ร่างกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ  เสนอและให้ส่ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

โดยกระทรวงศึกษาธิการ เสนอว่า เนื่องจากมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 บัญญัติให้ นักเรียนและนักศึกษาต้องประพฤติตนตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษา และตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อเป็นการส่งเสริมความประพฤติของนักเรียน และนักศึกษาให้มีความเหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และคำนึงถึงความปลอดภัยแก่นักเรียน และนักศึกษา จึงได้มีกฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียน และนักศึกษา  พ.ศ. 2548 มีผลใช้บังคับ

ต่อมา กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายตามพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ. 2548 เห็นสมควร มีการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และคำนึงถึงความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา ทั้งนี้ ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียด้วยแล้ว ประกอบกับคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2561  วันที่ 9 เมษายน 2561 มีมติเห็นชอบด้วยกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงแก้ไขเพิ่มเติม กฎกระทรวงกำหนดความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548 เกี่ยวกับลักษณะความประพฤติต้องห้ามของนักเรียนและนักศึกษา ดังนี้

  1. กำหนดเพิ่มเติม ห้ามการรวมกลุ่ม มั่วสุม อันน่าจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
  2. แก้ไขลักษณะความประพฤติที่ ห้ามกระทำเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวอันไม่เหมาะสม จากเดิมที่ห้ามเฉพาะการแสดงพฤติกรรมทางชู้สาวซึ่งไม่เหมาะสมในที่สาธารณะ เป็นการห้ามไม่จำกัดสถานที่ โดยตัดคำว่า “ในที่สาธารณะ” ออก และกำหนดเพิ่มเติมห้ามกระทำการลามกอนาจารด้วย
  3. แก้ไขลักษณะความประพฤติที่ห้ามกระทำเกี่ยวกับการออกนอกสถานที่พัก เพื่อเที่ยวเตร่หรือรวมกลุ่มอันเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น จากเดิมห้ามเฉพาะเวลากลางคืน เป็นการห้ามไม่จำกัดเวลา โดยตัดคำว่า “เวลากลางคืน” ออก

( สวนลุมพินี 15 ส.ค. 61 )

ด้าน นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกระแสสังคมออนไลน์ติงพฤติกรรมไม่เหมาะสมในสวมลุมพินีว่า เมื่อวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม กทม. ได้ประชุมเจ้าหน้าที่และผู้ดูแลสวนสาธารณะพื้นที่ กทม. รวม 7,814 แห่ง โดยสวนสาธารณะและสวนหย่อมขนาดเล็ก อยู่ในความดูแลของสำนักงานเขตแต่ละพื้นที่ ส่วนสวนสาธารณะขนาดใหญ่ 37 แห่ง อยู่ในความดูแลของสำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม โดยนอกจากวิธีการและแนวทางปฏิบัติปกติแล้ว ต้องมีการตรวจสอบพื้นที่สวนสาธารณะทุกแห่งว่ามีจุดอ่อน หรือจุดบกพร่องตรงไหน

“กรณีสวนสาธารณะได้จ้างเอกชน หรือหน่วยงานภายนอกเข้ามาดูแลเรื่องความปลอดภัยแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการ โดยที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จะเดินดู หรือตรวจตราภายในสวนสาธารณะทุกครึ่งชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมง แต่รอบการตรวจยังมีช่องว่าง ก็ต้องเพิ่มรอบการตรวจให้ถี่มากขึ้น พร้อมให้เจ้าหน้าที่ดูแลสวนทุกแห่งลงบันทึกรายการตรวจในทุกๆ รอบ และรายงานหัวหน้าสวนสาธารณะทราบ”

ทั้งนี้ มีรายงานว่า สำนักสิ่งแวดล้อม มีเจ้าหน้าที่ดูแลสวนทั้งหมด 507 คน ในจำนวนนี้ดูแลพื้นที่สวนลุมพินี 50 คน

สวนลุมพินี หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า สวนลุม เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 4 ล้อมรอบด้วยถนนวิทยุ ถนนราชดำริ และซอยสารสิน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 7 ในที่ดินเดิมเนื้อที่ 360 ไร่ ณ ทุ่งศาลาแดง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสำหรับสร้าง “สยามรัฐพิพิธภัณฑ์” เพื่อจัดแสดงสินค้าไทยเป็นครั้งแรก และจัดให้เป็น “สวนสาธารณะ” สำหรับประชาชน พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “สวนลุมพินี” ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าในประเทศเนปาล แต่พระองค์เสด็จสวรรคตก่อนจึงไม่แล้วเสร็จ โดยในปี พ.ศ. 2568 สวนลุมพินีจะมีอายุครบ 100 ปี กรุงเทพมหานครจึงมีการปรับภูมิทัศน์และปรับปรุงทัศนียภาพต่าง ๆ ภายในสวนให้ทันวาระครบรอบ

ขอบคุณภาพ edtguide

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

พนง.สวนสาธารณะเมืองอุดรฯ เอือมระอา ‘ถุงยาง’ เกลื่อน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า