SHARE

คัดลอกแล้ว

 


ชาวบ้านบ้านลาด จ.เลย รับไม่รู้โครงการโอทอปนวัตวิถีคืออะไร เขาพาทำก็ทำตามไป ส่วนซุ้มและกระท่อมไม้ไผ่ที่จัดมาให้สงสัยอยู่แล้วว่าจะคงทนหรือไม่ ตอนนี้ตั้งทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ แถมมอดเริ่มกินแล้ว ด้านพัฒนาการจังหวัดยืนยันยังไม่เซ็นรับกระท่อม-ซุ้มไม้ไผ่เพราะผิดสเป็ค 

กรณีงบประมาณโครงการโอทอปนวัตวิถี ของกรมพัฒนาชุมชน ที่จัดสรรให้ จ.เลย 129 ล้าน กระจายไปยังหมู่บ้านใน 14 อำเภอ หมู่บ้านละประมาณ 2,500,000 บาท เพื่อใช้พัฒนาสินค้าโอทอปและปรับปรุงภูมิทัศน์หมู่บ้านให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว แต่มีชาวบ้านใน อ.นาแห้ว ร้องเรียนผู้สื่อข่าวว่า กระท่อมไม้ไผ่ที่รวมอยู่ในงบปรับปรุงภูมิทัศน์ 750,000 บาทที่ได้รับ ยังไม่ได้ใช้งานแต่มอดกินแล้ว และซุ้มไม้ไผ่ที่ได้รับมาก็ถูกทิ้งไว้ เพราะชาวบ้านไม่รู้จะนำไปทำอะไรนั้น

วันที่ 24 ม.ค. ผู้สื่อข่าว ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงการโอทอปนวัตวิถีของบ้านลาด หมู่ 6 ต.นาพึง อ.นาแห้ว ซึ่งเป็น 1 ใน 5 หมู่บ้าน ในอำเภอที่ได้รับงบประมาณโครงการโอทอปนวัตวิถี พบกระท่อมจำนวน 3 หลัง ซุ้มใหญ่ 8 หลัง ซุ้มเล็กขายของ 10 หลัง ถูกทิ้งไว้ตากแดด ตากฝน บริเวณจุดชมวิวของหมู่บ้าน โดยชาวบ้านไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างไร และซุ้มไม้ไผ่มอดเริ่มกัดกินแล้ว จนชาวบ้านบ่นความคงทนไม่มีเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์

นายทรัพย์ ศรีหวงค์ อายุ 64 ปี ชาวบ้านลาด เปิดเผยว่า โครงการโอทอปนวัตวิถี ทราบเพียงแต่ว่ามีงบประมาณมาให้ประมาณ 7 แสนกว่าบาท ส่วนเงินงบ 1,000,000 -2,000,000 บาท เรื่องนี้ไม่ทราบเลยว่าไปซื้อหรือทำอะไรอะไร รู้แต่ว่าวันเปิดงานมีการแสดงดนตรี มีงานเลี้ยงชาวบ้านที่หน้าโรงเรียนและมีการไปทำจุดชมวิว มีกระท่อม 3 หลัง แคร่ซุ้มใหญ่ 8 หลัง แคร่นั่งเล่นจำนวน 8 หลัง แล้วมีซุ้มเล็กขายของ 8 หลัง ศาลาที่พักทำด้วยไม้ตั้งอยู่หน้าหมู่บ้าน จำนวน 2 หลัง และมีถังขยะจำนวนหนึ่ง

ครั้งแรกที่ทราบว่าจะทำแคร่ไม้ก็นึกอยู่ว่าจะใช้ไม้อะไร จนมาทราบว่าเป็นไม้ไผ่ จะดีไม่ดีไม่รู้ ตัวชาวบ้านเองก็ไม่รู้ว่ามันมาแบบไหน ถ้านำวัสดุที่ใช้แล้วมีความแข็งแรงและอยู่หลายปีก็ดี แต่นี่เป็นไม้ไผ่จะใช้งานได้กี่ปี รวมทั้งหญ้าแฝกเพราะความคงทนไม่มี มันผุพังก่อน ส่วนการทำประชาคมโครงการดังกล่าว ชาวบ้านก็ไม่รู้ว่าโครงการนวัตวิถีคืออะไรเขาพาทำชาวบ้านก็ทำไป

ด้านนางชะตา ธุลีจันทร์ พัฒนาการ จ.เลย กล่าวถึงความคืบหน้าในการตรวจสอบโครงการนี้ว่า ทำถูกต้องทุกขั้นตอน มีตั้งคณะกรรมการจากอำเภอ และคณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมกันตรวจสอบตรวจรับ โครงการไหนที่ไม่ผิดแบบก็เซ็นรับ จะมีเฉพาะวัสดุที่ทำจากไม้ไผ่ เช่น กระท่อม แคร่ ซุ้มขายของ และอื่นๆ ที่ผู้รับเหมาทำแล้วไม่ตรงสเป็คก็ต้องให้กลับไปแก้ไขให้ถูกต้อง ยืนยันว่าทางคณะกรรมการคงไม่มีใครกล้าที่จะเซ็นรับงานทั้งที่ไม่ถูกต้อง

ส่วนประเด็นที่ชาวบ้านบอกว่างบโครงการดังกล่าว สิ่งที่ชาวบ้านเสนอแต่กลับไม่ได้นั้น ต้องดูว่าว่าเข้าเงื่อนไขของโครงการหรือไม่ เช่น ที่บ้านหนองสิม หมู่ 7 ชาวบ้านต้องการสร้างบ้านตั้งหินแบบโบราณซึ่งเป็นบ้านเก่าที่ชาวบ้านจะขายให้ แต่ไม่ตรงตามโครงการเพราะของเก่า จะต้องแสดงเจ้าของใบรื้อถอน ใบซื้อขายและการเสียภาษี จึงไม่ผ่านหลักเกณฑ์ของโครงการนี้ ขณะเดียวกันได้ให้ เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการหมู่บ้านแต่ละแห่งทำความเข้าใจกับชาวบ้าน และติดตามประเมินโครงการอย่างต่อเนื่อง

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า