SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจาก www.kickthemachine.com

นับว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวดีๆ ที่น่าภาคภูมิใจ สำหรับการคว้ารางวัลศิลปะร่วมสมัยระดับโลก Artes Mundi Prize ครั้งที่ 8 ของสหราชอาณาจักร จากฝีมือผู้กำกับภาพยนตร์สายอาร์ตชาวไทย เจ้ย – อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ที่ก่อนหน้านั้น ผลงานภาพยนตร์ของเขาเคยคว้ารางวัลใหญ่ๆ มาแล้วมากมาย จนชื่อชั้นเป็นที่รู้จัก และได้รับการยกย่องเป็นอย่างมากในวงการภาพยนตร์โลก

โดยเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 62 สำนักข่าว BBC ได้รายงานว่า อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย วัย 48 ปี สามารถคว้ารางวัล Artes Mundi Prize ครั้งที่ 8 ได้รับเงินจำนวน 4 หมื่นปอนด์ หรือประมาณ 1.6 ล้านบาท จากผลงานที่ชื่อว่า Invisibility

ซึ่งคณะกรรมการได้กล่าวถึงผลงานของอภิชาติพงศ์ว่า “เป็นอาวุธอันทรงพลัง ในยุคสมัยแห่งความปั่นป่วน”

และ “โลกตะวันตกรู้จักเขาเป็นอย่างดีในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ พวกเราขอคารวะต่อการตั้งคำถามอย่างมุ่งมั่นผ่านผลงานศิลปะ เรื่องเล่า และจุดยืนทางสังคมและการเมืองของศิลปิน โดยเขาได้สร้างสะพานเพื่อให้ผู้ชมเดินทางไปมาระหว่างความจริงกับเรื่องเล่าในตำนาน ผ่านการจัดการกับแสง และเวลา” คณะกรรมการกล่าว

ภาพจาก เพจ Artes Mundi

อภิชาติพงศ์เป็นศิลปินต่างประเทศ 1 ในจำนวน 5 คน ที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมแสดงผลงานศิลปะในครั้งนี้ที่ National Museum Cardiff โดยเขาได้นำเสนอผลงานผ่านห้วงแห่งความฝัน บนจอภาพ 2 จอ ที่มีชาย 2 คน อยู่บนเตียงนอนในห้องตน

โดยอภิชาติพงศ์กล่าวว่า “วันนี้เป็นวันพิเศษ และผมรู้สึกเป็นเกียรติมาก การได้รับรางวัลในครั้งนี้ กระตุ้นให้ผมทำงานต่อไป และตั้งคำถามเกี่ยวกับโลกที่เราอยู่ร่วมกันให้มากขึ้น”

ส่วน Karen Mackinnon ผู้อำนวยการ Artes Mundi กล่าวว่า “ผลงานที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมแสดงทั้งหมดมีมาตรฐานที่สูงมาก อีกทั้งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างยิ่ง อย่างมีสีสัน และอย่างเหลือเชื่อ

“ผมคิดว่านิทรรศการในครั้งนี้ มีประเด็นที่เชื่อมโยงกันมากมาย และมากกว่าครั้งก่อนๆ ทั้งภูมิประเทศ , นิเวศวิทยา และปัญหาทางการเมือง ที่เกี่ยวกับโครงสร้างทางอำนาจชาตินิยม ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเรา”

ภาพจาก www.kickthemachine.com

อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ระดับโลก

“อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล” ชื่อนี้อาจเป็นรู้จักอย่างจำกัดในวงการภาพยนตร์และศิลปะของบ้านเรา แต่ในวงการศิลปะและภาพยนตร์โลกนั้น ชื่อของเขาโดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะผู้กำกับที่มีสไตล์การเล่าเรื่องอย่างมีเอกลักษณ์ ผ่านความจริง ความฝัน จินตนาการ และตำนานต่างๆ กลายเป็นภาพยนตร์ที่สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ให้กับผู้ชม

อภิชาติพงศ์ เกิดที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2513 ก่อนไปเติบโตที่ขอนแก่น สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (เอกภาพยนตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น และปริญญาโท สาขาภาพยนตร์ จาก Art Institute of Chicago

ชื่อของเขาเริ่มเป็นที่รู้จักในวงการภาพยนตร์นานาชาติ จากผลงานที่ชื่อว่า “ดอกฟ้าในมือมาร” หรือ “Mysterious Object at Noon” เมื่อปี 2543 โดยได้รับรางวัลจากเวทีประกวดภาพยนตร์ในต่างประเทศมากมาย

ก่อนจะขึ้นแท่นเป็นผู้กำกับที่น่าจับตามอง เมื่อผลงานที่ชื่อ “สุดเสน่หา” หรือ “Blissfully Yours” สามารถคว้ารางวัล Le Prix Un Certain Regard จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส มาครองได้ในปี 2545

ต่อมาในปี 2547 ผลงานที่ว่า “สัตว์ประหลาด !” หรือ “Tropical Malady” ก็คว้ารางวัล Prix du Jury จากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส ทำให้ชื่อของเขาโดดเด่นยิ่งขึ้นไปอีก

แต่แล้วใน ปี 2549 ภาพยนตร์เรื่อง “แสงศตวรรษ” หรือ “Syndromes and A Century” ได้ก่อให้เกิดการตั้งคำถามกับระบบเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ในเมืองไทย เมื่อทางคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ สั่งให้เขาตัด 4 ฉากในภาพยนตร์ออก แต่อภิชาติพงศ์ไม่ยินยอมทำตาม และได้ขอฟิล์มคืน แต่คณะกรรมการกลับแจ้งว่า จะคืนให้ต่อเมื่อมีการตัดฉากที่ระบุออกเสียก่อน จึงก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากมาย

ต่อมาในปี 2551 อภิชาติพงศ์ได้นำแสงศตวรรษ เข้ารับการพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวถูกสั่งตัดฉากเพิ่มขึ้น รวมเป็น 6 ฉาก อภิชาติพงศ์จึงใส่ฟิล์มดำแทนฉากที่ถูกสั่งให้ตัด เพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาถูกบังคับ โดยแสงศตวรรษ ในเวอร์ชั่นไทยแลนด์อิดิชั่น ได้ฉายที่พารากอนซีนีเพล็กซ์

ส่วนในเวทีภายนตร์โลกนั้น แสงศตวรรษ ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเทศกาลภาพยนตร์เวนิช ประเทศอิตาลี และได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม Lotus du Meuilleur Film-Grand Prix ในงานเทศกาลภาพยนตร์จากเอเชีย ครั้งที่ 9 ประเทศฝรั่งเศส

ภาพจาก www.kickthemachine.com

และแล้วในปี 2553 ผลงานที่ชื่อว่า “ลุงบุญมีระลึกชาติ” หรือ Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives ก็ได้รางวัลปาล์มทองคำ หรือ Palme d’Or ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นเทศกาลการประกวดภาพยนตร์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

ต่อมาในปี 2558 อภิชาติพงศ์ก็มีผลงานที่ชื่อว่า “รักที่ขอนแก่น” หรือ Cemetery of Splendour แต่ไม่ได้ฉายในเมืองไทย และในปี 2561 ภาพยนตร์ Ten Years Thailand ที่เขาเป็น 1 ใน 4 ผู้กำกับ ได้เข้าฉายในเมืองไทยเมื่อช่วงปลายปีที่เเล้ว

สำหรับผลงานเรื่องล่าสุดของเขา มีชื่อว่า Memoria ซึ่งจะถ่ายทำในประเทศโคลอมเบีย โดยได้นักแสดงหญิงมากฝีมือระดับโลกอย่าง Tilda Swinton มารับบทนำ

ภาพจาก www.kickthemachine.com

References

www.bbc.com

www.konmongnangetc.com

www.artesmundi.org

th.wikipedia.org/wiki/อภิชาติพงศ์_วีระเศรษฐกุล

th.wikipedia.org/wiki/แสงศตวรรษ

www.kickthemachine.com

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า