SHARE

คัดลอกแล้ว

นักเรียนชั้น ป.3 โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประดิษฐ์ “เครื่องแยกเหรียญอัจฉริยะ” จากสิ่งของเหลือใช้  

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 8 ต.ค. 61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Tanyarat Saimai ได้โพสต์คลิปสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 “เครื่องแยกเหรียญอัจฉริยะ” เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ที่ผ่านมา มีประชาชนชื่นชมและให้ความสนใจจำนวนมาก

โดยมีข้อความว่า “มาค่ะ รับแยกเหรียญ ร้อยละ 20 บาท โดย ด.ช.ภูรวิช ทองสุขศรี วิชาเทคโนโลยีและพลังงาน ป.3 โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตำบลคลองหก อำเภอ คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

https://www.facebook.com/NewsWorkpoint/videos/1979643082333288/

ซึ่งภายในคลิปเป็นภาพการใช้งานเครื่องแยกเหรียญอัจฉริยะ โดยประดิษฐ์ขึ้นมาจากกระดาษลังรีไซเคิล มีสวิตช์ควบคุมมอเตอร์ เป็นอุปกรณ์ขับเคลื่อนวงล้อนำเหรียญเลื่อยขึ้นไปยังราง จากนั้นเหรียญจะเคลื่อนที่ตามร่องไปยังช่องว่างที่มีขนาดแตกต่างกัน แยกเป็นขนาดเหรียญ 1 บาท 2 บาท 5 บาท และ 10 บาท เรียงจากเหรียญที่มีขนาดเล็กไปยังเหรียญที่มีขนาดใหญ่กว่า

เมื่อคัดแยกแล้วเหรียญจะตกไปยังกล่องรับเหรียญด้านล่าง สามารถเลื่อนเป็นลิ้นชักนำเหรียยออกมาได้ ซึ่งเครื่องแยกเหรียญอัจฉริยะใช้ถ่านไฟฉายอัลคาไลน์ ขนาด AA กำลังไฟ 1.5 โวลต์ จำนวน 2 ก้อน เพื่อเป็นพลังงานให้กับมอเตอร์

จากการสอบถาม ด.ช.ภูรวิช ทองสุขศรี หรือน้องภู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 กล่าวว่า เนื่องจาก อาจารย์ธัญญารัตน์ สายใหม่ อาจารย์ประจำวิชาเทคโนโลยีและพลังงาน ได้ให้คิดประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ โดยมีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ

ด.ช.ภูรวิช ได้เล่าถึงเเรงบันดาลใจว่า เนื่องจากได้เข้าไปในสหกรณ์เพื่อที่จะซื้อน้ำดื่ม และเห็นคุณครูกำลังคัดแยกเหรียญอยู่ จึงคิดประดิษฐ์ชิ้นงานนี้ขึ้นมา เพื่อช่วยเหลือคุณครู มีคุณพ่อช่วยเหลือ เมื่อประดิษฐ์มาแล้วครูชมว่าเยี่ยม

โดยส่วนตัวแล้วมีความชื่นชอบในสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมใหม่ๆ อนาคตอยากเป็นทหาร นอกจากช่วยปกป้องประเทศแล้วยังสามารถประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้อีกด้วย

ส่วน อาจารย์ธัญญารัตน์ สายใหม่ อาจารย์ประจำวิชาเทคโนโลยีและพลังงาน กล่าวว่า ชิ้นงานนี้มาจากการริเริ่มการประดิษฐ์เครื่องบินจากไม้ไอติมที่มีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ ต่อจากนั้นได้ประดิษฐ์ชิ้นงานจากวัสดุเหลือใช้คือเครื่องไมโครเวฟพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งทุกคนได้ทำ และประประดิษฐ์ขึ้นมาเหมือกันหมด

หลังจากนั้นคุณครูจึงให้โจทย์ว่า ต้องมีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบและใช้วัสดุเหลือใช้นำมาประดิษฐ์ชิ้นงาน โดยให้นักเรียนมีอิสระในการออกแบบ

ดร.รสริน เจิมไธสง ผอ.โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า เพื่อดึงความเป็นนวัตกรของเด็ก ทางโรงเรียนจึงมีรูปแบบการเรียนการสอนที่เรียกว่า ids stem model โดยมีสถานการณ์ให้นักเรียนได้สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ของแต่ละระดับชั้น

ในส่วนของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีโจทย์และสถานการณ์เพื่อให้เด็ ได้นำสิ่งของเหลือใช้ รวมกับความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ เเละวิศวกรรมศาสตร์ มาประดิษฐ์ชิ้นงานตามความความคิดสร้างสรรค์ของตน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า