ประเด็นคือ – ทีมนักศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี แกะสลักน้ำแข็งชนะเลิศ คว้าแชมป์ให้กับประเทศติดต่อกันเป็นสมัยที่ 9 ในชื่อผลงาน อาชา – ปักษา – มัจฉา – วารี
ผลการแข่งขันแกะสลักหิมะนานาชาติ (The 10 th International Collegiate Snow Sculpture Contest 2018) ณ มหาลัยวิศวกรรมฮาร์บิ้น เมืองฮาร์บิ้น มณฑลเฮย์หลงเจียง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 4 – 7 ม.ค. 2561 มีทีมที่เข้าแข่งขันทั้งหมด 55 ทีม จาก 12 ประเทศทั่วโลก
โดยประเทศไทย ส่งทีมที่เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 3 ทีม ได้แก่ ทีมจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี, วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี และวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ
ปรากฏว่าทีมของวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ได้รับรางวัลที่ 1 และ Best technique Award ในชื่อผลงาน อาชา-ปักษา-มัจฉา-วารี (Asha, Paksa and Mashawaree) ครูผู้ฝึกสอน ได้แก่ นายพิศิษฐ์ อู่ศิริกุลพาณิชย์ และ นายสุระชาติ พละศักดิ์ ซึ่งนักศึกษา 4 คน ประกอบด้วย นายธนากร ศักดิ์สิงห์ นายกฤษณะ คบสหาย นายธนศักดิ์ พิพัฒน์ และ นายอภิสิทธิ ศรไชย
สร้างสถิติรักษาแชมป์สมัยที่ 2 ให้กับทีม และสมัยที่ 9 ให้กับประเทศไทย ผลงานน้ำแข็งแกะสลัก อาชา-ปักษา-มัจฉา-วารี ด้วยการนำ ม้า-นก-ปลา และน้ำ จากป่าหิมพานต์มาแกะสลักลงบนก้อนหิมะ ซึ่ง
- อาชา คือ ม้า เป็นสัญลักษณ์ถึง ความเจริญก้าวหน้า มุมานะอดทน และขยันขันแข็งในการทำงานเพื่อเป้าหมายสู่ความสำเร็จในชีวิต
- ปักษา คือ นก หมายถึง ความอิสระของพลังแห่งความคิด การกระทำ มักมีความฉลาดหลักแหลมด้านสติปัญญา และทะยานบินไกลสู่ความสำเร็จ
- มัจฉา คือ ปลา หมายถึง สัญลักษณ์ของความมั่นคั่ง การมีเงินทองล้นหลาม ความอุดมสมบูรณ์ ร่ำรวย มีผลกำไร
- วารี คือ น้ำ หมายถึง ชีวิตแห่งการเริ่มต้นและสิ้นสุด เป็นสัญลักษณ์ถึงความอุดมสมบูรณ์ ความสุข ความชุ่มชื่นเย็นฉ่ำ และ เป็นศูนย์รวมของสรรพสิ่งบนโลกใบนี้
ส่วนทีมของวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ ได้รับรางวัลที่ 2 หรือรองชนะเลิศอันดับ 1 ในชื่อผลงาน เต่ามังกร (The image of Dragon turtle) เช่นเดียวกับ ทีมของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี ได้รับรางวัลที่ 2
หรือ รองชนะเลิศฯร่วมกัน ในชื่อผลงาน ภูมิปัญญากีฬาไก่ชน (The Knowledge of Fighting Cock) ทั้งนี้ คาดว่า ทีมแชมป์โลกแกะสลักน้ำแข็ง จะเดินทางถึงประเทศไทย ในวันพรุ่งนี้ ( 9 ม.ค.61 )
ขอบคุณภาพ