SHARE

คัดลอกแล้ว

ฝึกทำถ่งฮวง (หัววิญญาณ)ใช้ในพิธีกงเต๊ก

ที่ตึกแถวหลังหนึ่ง ในย่านวงเวียนใหญ่ มีครอบครัวหนึ่งอาศัยอยู่บนชั้น 3 ของตึก ทำอาชีพหาเช้ากินค่ำ รับผลิตเครื่องกระดาษกงเต๊กเพื่อส่งให้ลูกค้า หนึ่งในสมาชิกของครอบครัวนี้ มีอายุแค่ 10 ขวบ เป็นเด็กชายที่ช่วยพ่อแม่ทำมาหากิน ไม่ไปเล่นเหมือนเด็กคนอื่น  โดยจะนั่งฝึกทำเครื่องกระดาษกงเต็กเอง เพื่อเก็บเงินเป็นค่าขนม ค่าเล่าเรียน ช่วยลดภาระของพ่อแม่

ดช.ธีรวงศ์ หงษ์คำ หรือ กล้า วัย10 ขวบ นักเรียนชั้น ป.5  รร.โพธิ์นิมิตร จะใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนทำการบ้าน  พอทำเสร็จ จะนั่งฝึกทำเครื่องกระดาษกงเต๊ก อาทิเช่น ถ่งฮวง (หัววิญญาณ) สำหรับใช้ในพิธีกงเต๊ก ทำโครงม้ากระดาษ (ส่งสาส์น) สำหรับใช้ไหว้เจ้า ทำส่วนประกอบของภูเขาเงินภูเขาทอง  ทำส่วนประกอบของเจดีย์  เรือ (มังกร) กระดาษ และห้องน้ำ (กงเต๊ก)  ฝึกทำแบบนี้มานานนับปี จนเริ่มคล่องชำนาญ

แม้จะอยู่ในช่วงฝึกหัดทำแค่ส่วนประกอบ แต่สามารถหาเงินสร้างรายได้ให้กับตนเอง มีรายได้ประมาณวันละ 50 บาท พอทำเสร็จจะนำไปส่งให้กับป้าเจ้าของบ้านเพื่อรับเงิน เมื่อป้ารับงานไป จะนำไปประกอบกับส่วนอื่นๆ จนครบ จึงนำไปส่งให้ลูกค้าอีกทอด

ดูเหมือนว่างานกระดาษกงเต๊ก จะทำง่ายๆ มีแค่วัสดุเพียงโครงไม้ไผ่กับกระดาษ แต่มันไม่ง่ายเสมอไป เพราะถ้าทำผิด ทำไม่สวย ก็ใช้งานไม่ได้ กล้าจึงต้องค่อยๆ ฝึกอยู่นานนับปี โดยจะฝึกเองทำเอง ทั้งตัดกระดาษ ปะกระดาษด้วยกาวแป้งเปียก ช่วยลงสี ฝึกผูกโครงไม้ไผ่ โดยเห็นพ่อแม่ทำงานทุกวัน จึงนั่งดูพ่อแม่ทำงาน และค่อยๆ ซึมซับงานนี้ไปเอง  ต่างจากเด็กอื่นๆ ซึ่งไปเล่นเกมคอมพิวเตอร์ กล้าจึงใช้เวลาแต่ละวันไปกับงานฝีมือ ซึ่งแทบไม่มีเด็กคนไหน สนใจใจศาสตร์งานกระดาษกงเต๊กแบบนี้

ไกรวัลย์ หงษ์คำ (ไกร) พ่อของกล้า เล่าถึงลูกชายว่า “ผมไม่เคยสอน  คือเขาาคงเห็นเราทำทุกวัน ผูกโครงไม้ไผ่ ปะกระดาษ นั่งเล่นอยู่ใกล้ๆ ก็เลยเอากาวมาทากระดาษ ปะกระดาษ  ค่อยๆ เป็นไปเอง เห็นเขาเริ่มครั้งแรกจากปะกระดาษทำพวกตี๊ (เจดีย์) ก่อน ค่อยมาฝึกลงสี  มาติดหญ้าบนภูเขาเงินภูเขาทอง  บางครั้งก็มาฝึกพันดอกไม้บนภูเขาเงิน บางทีผมนั่งทำเรือมังกร (ใช้ในพิธีกรรมของศาลเจ้า) เขาก็มาช่วยเอง ระยะหลังมาฝึกทำถ่งฮวง (หัววิญญาณ) แต่ยังทำไม่ครบทั้งหมด  เอาไปส่งป้า (เจ้าของบ้าน) ได้หัวละ 5 บาท ทำได้วันละ 5 – 10 หัว

อย่างช่วงนี้เริ่มฝึกผูกโครงไม้ตัวม้า (ส่งสาส์น)  บางวันเห็นผมนั่งทำเก้าอี้โยก(กงเต๊ก) เค้าก็สนใจ มาช่วยทำ เค้าฝึกของเค้าเอง พอได้เงินมาก็เอาไปหยอดกระปุกออมสิน” ผู้เป็นพ่อ เล่าถึงลูกชาย

สำหรับผู้เป็นพ่อนั้น คลุกคลีอยู่กับวงการกระดาษมานานกว่ายี่สิบปี ทำอาชีพนี้มาตั้งแต่เด็ก ผลิตสินค้าต่างๆ เกี่ยวกับเครื่องกระดาษส่งให้ตามศาลเจ้าและร้านขายกระดาษไหว้เจ้า ดูเหมือนว่าลูกชายวัยสิบขวบ กำลังเจริญรอยตามพ่อ เลือกใช้เวลาจากการเล่นมาฝึกงานแทน

ในยุคที่คนทำงานเครื่องกระดาษกงเต๊กกำลังขาดแคลน หาคนทำยากขึ้น ในภายภาคหน้าเด็กชายวัยสิบขวบอาจกลายเป็นกำลังสำคัญของวงการกระดาษกงเต๊ก อย่าลืมเอาใจช่วยเด็กน้อย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า