Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้ว่าฯ ลำปาง เตรียมฟื้นฟูสะพานดำข้ามรถไฟน้ำวังเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยตัวสะพานเป็นสะพานเก่าแก่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันรกร้างและชำรุด เตรียมฟื้นฟูเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชนเก๊าจาว

วันนี้ (20 พ.ค. 61) นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าฯ ลำปาง เปิดเผยว่า ที่บริเวณกาดเก๊าจาว หรือตลาดเก๊าจาว ต.สบตุ๋ย อ.เมือง เขตเทศบาลนครลำปาง เป็นพื้นที่ใกล้กับบริเวณสะพานดำ ซึ่งเป็นสะพานเส้นทางรถไฟข้ามแม่น้ำวัง อยู่ระหว่างสถานีรถไฟนครลำปาง กับสถานีรถไฟบ่อแฮ้ว

ตัวสะพานรถไฟนั้นเก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสะพานเหล็กที่ทาด้วยสีดำมาตั้งแต่อดีต จึงกลายเป็นที่มาของชื่อสะพาน

ทั้งนี้ผู้ว่าฯ ลำปางได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพ่อค้าแม่ค้า ประชาชนในตลาดเก๊าจาว และประชาชนบ้านเรือนใกล้เคียงเพื่อปรึกษาหารือ รับฟังความคิดเห็นจากผู้นำชุมชนและประชาชน ตลอดจนสำรวจพื้นที่เพื่อเตรียมดำเนินโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมถึงสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมในการวาดภาพสตรีทอาร์ต เรื่องเล่าล้านนา

โดยทางผู้ว่าฯ จะฟื้นฟูสะพานดำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดเพราะมีประวัติความเป็นมายาวนาน ความสำคัญคือเป็นสะพานที่สร้างขึ้นในช่วงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวญี่ปุ่นยกทัพเคลื่อนพลผ่านประเทศไทย และได้ตั้งกองบัญชาการที่ จ.ลำปาง เข้าทำการยึดอาคารสถานที่ในกิจการของทั้งชาวอังกฤษ อเมริกัน และชนชาติอื่นๆ ทำให้คนเหล่านั้นลี้ภัยออกไป

ขณะที่ประเทศไทยสมัยนั้นเป็นคู่สงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร จึงถูกฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีเมือง ด้วยการทิ้งระเบิดในพื้นที่ต่างๆ หลายๆ ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเมือง ได้ทำการย้ายไปอยู่นอกเมืองชั่วคราวเพื่อหลบภัยสงคราม บางร้านที่อยู่ในเมืองก็ต้องพรางอาคารด้วยยอดมะพร้าว หรือเอาสีดำมาทาตัวตึก สะพานก็อาจจะมีที่มาแบบนั้น จึงมีสีดำ

ตัวสะพานทำด้วยเหล็กทาสีดำ บริเวณพื้นทางเดินเป็นไม้ ซึ่งผุพังแล้ว ทางสถานีรถไฟจึงได้ขึ้นป้ายเตือน “สะพานชำรุด”

จากการพูดคุยกับชาวบ้านละแวกนั้น อดีตสะพานดำนอกจากจะเป็นสะพานสำหรับการเดินทางโดยรถไฟแล้ว ยังเป็นที่สัญจรเท้าของชาวบ้านที่อาศัยบริเวณนี้ ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยฝั่งนาก่วมเหนือ (ทางฝั่งสถานีรถไฟนครลำปาง) มักจะเดินทางข้ามไปยังบ้านบ่อแฮ้ว บ้านทับหมาก บ้านดง และจะมีชาวบ้านที่อยู่บริเวณฝั่งบ่อแฮ้ว นำพืชผักสวนครัว หรือข้าวของต่างๆ มาวางขายที่ตลาดเก๊าจาว (ตลาดรัตน์) ซึ่งเป็นตลาดตอนเช้า อยู่ติดกับทางรถไฟและสะพานดำ

โดยชาวบ้านจะเดินเลาะด้านข้างของสะพานดำ แต่ในเวลาที่รถไฟผ่านมา ก็จะต้องเกาะราวเหล็กด้านข้างให้แน่นที่สุด ทำให้การสัญจรนั้นอันตรายอย่างยิ่ง

แต่ในปัจจุบันมีการสร้างสะพานปูนข้ามแม่น้ำใกล้ๆ กับสะพานดำ ชื่อว่าสะพานสบตุย จึงทำให้ชาวบ้านไม่ได้ใช้สะพานดำสัญจรแล้ว เนื่องจากมีเส้นทางสะพานสัญจรแห่งใหม่ที่สะดวกกว่า ทำให้สะพานดำในแง่ของชาวบ้านหมดประโยชน์ไป แต่ก็ยังมีความสำคัญต่อการเดินทางโดยรถไฟ ซึ่งเป็นเส้นทางติดต่อค้าขาย และการเดินทางไปมาระหว่างผู้คนที่ขึ้นรถไฟสถานีเชียงใหม่มุ่งสู่สถานีหัวลำโพง

ถึงแม้สะพานดำในวันนี้จะยังไม่ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ก็มีผู้คนมากมายเห็นถึงความสวยงามของสถาปัตยกรรม เดินทางไปถ่ายรูปกันเป็นจำนวนมาก ไม่เว้นแม้แต่ถ่ายภาพพรีเว็ดดิ้ง

ทว่าประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกลับสร้างเสน่ห์ให้สะพานแห่งนี้ดูมีมนต์ขลัง และหากพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้จริง ก็นับว่าเป็นการอนุรักษ์โบราณสถานที่คุ้มค่ายิ่ง แถมยังเอื้อประโยชน์ต่อชุมชน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า