SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ-หากใครยังไม่รู้ ถ้ากินยาลดความอ้วนที่มีสารไซบูทรามีน อยู่นอกจากตัวเองจะได้รับอันตรายแล้ว ถ้าไปบริจาคเลือด ผู้ป่วยที่ได้รับเลือดอาจเสียงเป็นอันตรายถึงชีวิต

นายภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ชื่อดัง เจ้าของเพจ หมอแล็บแพนด้า ได้ให้ความรู้ หลังมีแม่ค้าขายยาลดความอ้วน รายหนึ่ง โพสต์ว่า “แม่ค้ากรุ๊ปเลือด AB กินแล้วน้ำหนักลดมาเกือบ 10 กิโลกรัม แต่ก็สามารถบริจาคเลือดได้ เลือดไม่ลอย ความดันปกติ ไม่เป็นลม เลือดเต็มถุง

ซึ่ง หมอแล็บแพนด้า ได้เตือนว่า “ถ้าผู้ป่วยได้รับเลือดจากคุณ ซึ่งในเลือดของคุณอาจจะมี สารไซบูทรามีน จากการกินยาลดความอ้วน หากผู้ป่วยตายขึ้นมา คุณอาจจะเป็นฆาตกรทางอ้อมนะครับ”

https://www.facebook.com/MTlikesara/posts/770097899863063

เว็บไซต์ หาหมอ.com ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ยาไซบูทรามีน ดังนี้

ยาไซบูทรามีน (Sibutramine) ถูกใช้เป็นยาลดน้ำหนักแบบรับประทาน สามารถดูดซึมผ่านจากระบบทางเดินอาหารได้ประมาณ 77% เมื่อยานี้เข้าสู่กระแสเลือด จะจับกับพลาสมาโปรตีนถึงประมาณ 97% และถูกลำเลียงไปที่ตับ เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีได้เป็นสารประเภทเมทาบอไลต์ (Metabo lites) การกำจัดยาไซบูทรามีนออกจากร่างกาย ใช้เวลาเพียงประมาณ 1 ชั่วโมง แต่สำหรับสารเมทาบอไลต์ของยาไซบูทรามีนต้องใช้เวลาประมาณ 14 – 16 ชั่วโมงขึ้นไป

ในปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) คณะกรรมการอาหารและยาของประเทศในแถบอเมริกาได้ผลักดันให้ยาไซบูทรามีน เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ใช้ลดน้ำหนัก แต่ต่อมาตรวจพบว่ายานี้มีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงเช่น ทำให้ระบบการทำงานของหัวใจผิดปกติ มีความดันโลหิตสูง แรงดันโลหิตในปอดเพิ่มมากขึ้น เจ็บหน้าอก ตาพร่า หายใจไม่ออก หายใจลำบาก หัวใจล้มเหลว ไตวาย จนถึงมีรายงานว่าผู้ป่วยบางรายถึงกับเสียชีวิต (ตาย) ดังนั้นในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) ยาไซบูทรามีน จึงถูกเพิกถอนออกจากตลาดยาของสหรัฐอเมริกา

มีข้อห้ามการใช้ของยาไซบูทรามีนอีกมากมายที่ผู้บริโภคควรทราบ อาทิ

  • ห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคจิต ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า ผู้ที่มีประวัติติดสุรา ผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี หรือผู้ชรา/ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 65 ปี
  • ผู้ที่ใช้ยาในกลุ่ม MAOIs ยาต้านอาการซึมเศร้ารวมถึงกลุ่มยาต่างๆที่ออกฤทธิ์ต่อสมอง
  • ห้ามใช้ยานี้กับกลุ่มผู้ป่วยดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยด้วยโรคของหลอดเลือดฝอย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตในปอดสูง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงในสมองแตก ผู้ป่วยไทรอยด์ฮอร์โมนสูง/ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ผู้ป่วยโรคต้อหิน ผู้ป่วยโรคลมชัก ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโต สตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร

ในประเทศไทยไม่มียานี้จำหน่ายเช่นเดียวกับหลายประเทศทั้งนี้ก็ด้วยฤทธิ์ของอาการข้างเคียง (ผลข้างเคียง) ที่ค่อนข้างรุนแรงนั่นเอง

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า