SHARE

คัดลอกแล้ว

มุมหนึ่งที่ทำให้หลายคนหวั่นไหวกับการก่อเกิดของพรรค “อนาคตใหม่” ภายใต้การนำของ “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” นั่นเพราะหลายคนเห็นถึงความคล้ายของเขากับ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้สร้างตำนานให้กับการเมืองไทย

 

เพราะเพียงการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้พรรคที่จัดตั้งขึ้นโดย “ทักษิณ” เขาก็พลิกหน้าประวัติศาสตร์การเมืองโดยกวาดที่นั่งเกือบครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร คือ 248 ที่นั่งจาก 500 ที่นั่ง หลายคนสงสัยว่า “ธนาธร” จะเป็นอย่าง “ทักษิณ” ได้หรือไม่ และเนื้อแท้แล้วมีความละม้ายหรือไม่ เพราะส่วนหนึ่งทั้งความหนุ่มและความกล้า ทำให้อดที่จะนำทั้งสองมาเทียบกันไม่ได้

 

แต่ต้องบอกว่า หากนับ ณ วันตั้งพรรคการเมือง “ธนาธร” ยังห่างชั้นจาก “ทักษิณ” ตอนตั้งพรรค “ไทยรักไทย” อยู่พอสมควร จริงอยู่ที่ทั้งสองเป็นนักธุรกิจหนุ่มเหมือนกัน อยู่ในวัยที่ไม่ห่างกันตอนเข้าสู่การเมือง

 

โดยวันที่ “ทักษิณ” ก้าวสู่การเมือง เขาอายุ 45 ปี ส่วน “ธนาธร” ในวันนี้อายุ 39 ปี จะว่าห่างก็ห่าง จะว่าใกล้ก็ใกล้

 

แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าก่อนที่นักธุรกิจหนุ่มที่ชื่อ “ทักษิณ” จะเข้าสู่การเมืองนั้น เขาอยู่ในฐานะเจ้าของธุรกิจสื่อสาร เป็นนักธุรกิจหนุ่มที่ประสบความสำเร็จด้วยตัวเอง ความร่ำรวยของเขาสร้างและเริ่มต้นจากตัวเขาในฐานะเบอร์หนึ่ง ส่วน “ธนาธร” นั้นเป็นลูกหลานของตระกูล “จึงรุ่งเรืองกิจ” เจ้าของกลุ่มบริษัท “ไทยซัมมิท” ความมั่งคั่งของเขานั้นมาจากตระกูล มิใช่ตัวของเขาแต่เพียงผู้เดียว หรือเขาเป็นผู้สร้างให้ยิ่งใหญ่แต่อย่างใด ที่สำคัญเขาไม่ใช่เบอร์หนึ่ง

 

และวันที่ “ทักษิณ” เริ่มเข้าสู่การเมืองนั้นเขาไม่ได้ตั้งพรรค “ไทยรักไทย” ขึ้นมาในทันที แต่เข้ามาสู่พรรค “พลังธรรม” ตามคำเชิญของ “มหาจำลอง” พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และก็พา ส.ส. เข้าสภาได้ 23 คน แต่ก็ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวและการเรียนรู้ทางการเมืองตั้งแต่ครั้งนั้น

 

“ทักษิณ” เข้าร่วมรัฐบาล “บรรหาร ศิลปอาชา” ในขณะนั้นและทำให้ภาพนักการเมืองรุ่นใหม่ของเขาแทบจะจบลง โดยในการเลือกตั้งครั้งถัดมาในปี 2539  “ทักษิณ” และพลังธรรมอยู่ในสภาวะขาลงเหลือ ส.ส. เพียง 1 คนเท่านั้น

 

ถึงวันนั้น “ทักษิณ” เรียนรู้การเมืองอย่างเต็มตัวแล้ว จากการปฏิบัติจริง เขาได้กลายเป็น “นักการเมือง” ที่เชี่ยวชาญการเมืองแบบเต็มตัว รู้จักการเมืองทั้งในและนอกระบบ และรู้จักสภาวะการเมืองไทยจริงๆ

 

จนเมื่อเกิดรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่เรียกว่าปฏิรูปการเมือง เขาจึงคิดก่อตั้ง พรรค “ไทยรักไทย” และจัดตั้งขึ้นใน วันที่ 14 ก.ค. 2541 ยิ่งทำให้ความต่างเห็นชัดว่า การตั้งพรรคของ “ทักษิณ” ณ วันนั้นเต็มไปด้วยประสบการณ์ทางการเมือง ขณะที่ “ธนาธร” ในวันนี้ยังไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองในระบบแม้แต่ครั้งเดียว

 

และหากนับอายุ ณ ขณะที่ “ทักษิณ” ตั้งพรรคไทยรักไทย เขากำลังจะเข้าวัย 50 ปี ขณะที่ “ธนาธร” วันนี้ยังอายุเพียง 39 ปี เท่านั้น

 

และเมื่อมาดูผู้ร่วมจดทะเบียนตั้งพรรค จะเห็นความแตกต่างอยู่พอสมควร โดยพรรค “อนาคตใหม่” มีผู้จดทะเบียน 26 คน และคนที่จดตั้งนั้นเป็นคนรุ่นใหม่ เป็นผู้นำทางความคิดของคนในกลุ่มตัวเอง เรียกว่ามีความหลากหลาย และเป็นตัวแทนกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยที่ไม่มีคนจากภาครัฐหรือภาคการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องเลย

 

กลุ่มคนที่ร่วมจัดตั้งกับเขาก็อาทิ “ปิยบุตร แสงกนกกุล” นักวิชาการรุ่นใหม่ หัวก้าวหน้าหนึ่งในสมาชิกกลุ่มนิติราษฎร์  “คริส โปตระนันทน์” นักธุรกิจ นักกฎหมายที่วิพากษ์วิจารณ์ด้านการเมืองในเชิงวิชาการ “เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร” หนุ่มนักนิติศาสตร์ ผู้หลงใหลในการทำคราฟท์เบียร์ และหาญสู้กับเจ้าตลาด นลัทพร ไกรฤกษ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ของผู้พิการ Thisable.me  เคท ครั้งพิบูลย์ นักวิชาการผู้ปกป้องสิทธิเพื่อความหลากหลายทางเพศ

 

จะเห็นได้ว่ากลุ่มที่มาจดตั้งนี้เป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์รุ่นใหม่ เรียกได้ว่ามีความเป็นอิสระทางความคิดของตัวเอง และต้องการอนาคตใหม่ที่ดีกว่า บางคนถึงขั้นกระทบกระเทียบว่าเป็น “พรรคเด็กแนว”

 

แต่หากเทียบตัวบุคคลที่ร่วมตั้งพรรคไทยรักไทยที่มี 23 คน แล้วยิ่งเห็นชัด  ที่มีองค์ประกอบซึ่งหลากหลายมากกว่าแค่คำว่า “คนรุ่นใหม่” หรือเป็นแค่ตัวแทนของกลุ่มคนเล็กๆ ทางการเมือง เราจะเห็นกลุ่มคนต่างๆ ที่มากกว่า และที่สำคัญมีบทบาททางสังคมที่มากกว่าผู้ก่อตั้งพรรค “อนาคตใหม่” เช่นกัน

 

อย่างแรก เราเห็นนักธุรกิจระดับท็อปเข้ามาร่วมกับไทยรักไทย ไม่ว่าจะเป็น “พันธุเลิศ  ใบหยก” ประธานกรรมการเครือโรงแรมใบหยก หรือ  “ดร.สิริกร มณีรินทร์” (สกุลเดิม ลีนุตพงษ์)  ผู้บริหารบริษัทยนตรกิจ ในอุตสาหกรรมยานยนต์  และ “วีระชัย วีระเมธีกุล” นักธุรกิจและผู้บริหารมืออาชีพ

 

นอกจากนักธุรกิจแล้วยังมีนักเคลื่อนไหว นักคิด และนักกิจกรรมอย่าง  “สุธรรม แสงประทุม”  อดีตเลขา สนนท. “พันธ์ศักดิ์ วิญญรัตน์” หนึ่งในทีมที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก ของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ  “ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์”  นักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ

 

และสิ่งที่ “พรรคอนาคตใหม่” ไม่มีคือ ข้าราชการ  เพราะครั้งนั้น “ทักษิณ” มีทั้ง “คณิต ณ นคร” อดีตอัยการสูงสุด “ประชา คุณะเกษม” อดีตเอกอัครราชทูต และที่สำคัญยังมีอดีตทหารอย่าง “พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา”

 

เมื่อนำกลุ่มจัดตั้งมาจับวางจะยังเห็นความแตกต่างอยู่ค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องทุน อำนาจ และหลักคิด

 

แม้ว่าที่ทั้งสองจะคล้ายกันคือเรื่องการตลาด เรื่องการควบคุมข่าวสารและข้อมูลที่จะออกไปจากฝั่งตน แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องดูอีก สิ่งที่เหมือนกันคือการตลาดที่เขาวางไว้จะมีประสิทธิภาพขนาดไหน และที่สำคัญต้องดูว่าคนที่จะมาร่วมในอนาคตจะมีความหลากหลายมากกว่านี้หรือไม่ หากดึงกลุ่มอื่นนอกจากคนรุ่นใหม่และนักคิดหัวก้าวหน้ามาร่วมไม่ได้  พรรคนี้ก็อาจจะไม่ใหญ่โตและยืนยาวอย่างที่ใครหลายๆ คนอยากให้เป็น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า