SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีที่มีรายงานข่าวว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เตรียมประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต ในวันที่ 7 พ.ค. และจะรับรอง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อวันที่ 8 พ.ค.

ทำให้หลายฝ่ายจับตามองว่า กกต.จะประกาศรับรอง ส.ส.จำนวนเท่าใด และจะ “กัก” ไว้ตรวจสอบ ยังไม่รับรองผลกี่คน

เมื่อเปิดดูตามข้อกฎหมาย มาตรา 85 วรรคท้าย ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 บัญญัติไว้ว่า “ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้งเมื่อตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว มีเหตุอันควรเชื่อว่าผลการเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของเขตเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องตรวจสอบเบื้องต้นและประกาศผลการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ต้องไม่ช้ากว่าหกสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง

เช่นเดียวกับ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2561 (พ.ร.ป. ส.ส.) มาตรา 127 ที่มีเนื้อหาไปในทางเดียวกัน

จากการที่มีการแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 350 เขต การประกาศผลให้ได้ร้อยละเก้าสิบห้าเท่ากับ ต้องประกาศผลอย่างน้อย 333 เขต และจะยังไม่ประกาศผลตามกฎหมายได้ 17 เขต

การคำนวณจำนวน ส.ส.ที่ กกต.ต้องประกาศ (จัดทำโดยนายนำถะ ดวงวิชัย ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานประธานรัฐสภา)

 

ส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อที่ใช้ฐานคะแนนเดียวกันกับ ส.ส.เขต พ.ร.ป. เลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 129 ได้กำหนดวิธีคำนวณ จำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อไว้ให้ได้สัดส่วนสอดคล้องกัน คือ ให้นำจำนวนที่ประกาศ หารด้วย 350 (จำนวนเต็ม ส.ส.เขต) คูณด้วย 500 (จำนวนเต็ม ส.ส.ทั้ง 2 ระบบรวมกัน) เช่น

ประกาศผล 333 คน หาร 350 คูณ 500 จะได้ 475.7143 คิดเฉพาะจำนวณเต็มคือ 475 (ดูช่อง A-D)

เมื่อประกาศเขตไปแล้ว 333 เท่ากับจะต้องประกาศบัญชีรายชื่ออีก 142 คน เพื่อรวมได้ 475 คน  (ดูช่อง E และ D)

ส่วนเขตที่ยังระงับการประกาศผล หรือที่ กกต.ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ เช่น ที่เขตเลือกตั้งที่ 8 จ.เชียงใหม่ ที่ สุรพล เกียรติไชยากร ว่าที่ ส.ส. พรรคเพื่อไทยถูกใบส้ม จะไม่นำคะแนนมาคำนวณ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่หรือ กกต.สรุปผลแล้ว

ดังนั้น ขั้นต่ำของการประกาศผล ส.ส.เขต คือ 333 คน และ กักไว้ได้ 17 คน ซึ่ง ชัดเจนไปแล้ว คือกรณีของ นายสุรพล เกียรติไชยากร

เบื้องต้นจึงต้องติดตามว่า ใครคืออีก 16 คนที่เหลือที่จะถูกกักไว้ ยังไม่รับรองผล

ส่วนระยะต่อไป หลังประกาศผลการเลือกตั้ง แม้ กกต.รับรองผลแล้ว แต่ ส.ส.เหล่านั้นก็ยังมีโอกาสจะถูก “สอย” ได้ในภายหลัง หาก กกต.มีหลักฐานว่าทุจริตเลือกตั้ง โดยจะเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาให้ พิจารณาให้ ใบส้ม (ตัดสิทธิ์ 1 ปี) ใบแดง (ตัดสิทธิ์เลือกตั้ง 10 ปี) หรือ ใบดำ (ตัดสิทธิ์รับสมัครเลือกตั้งตลอดชีวิต)

ซึ่งหาก “สอย” ส.ส.เขต แล้วคะแนนที่จะคำนวณบัญชีรายชื่อของพรรคจะหายไปด้วย ซึ่ง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 129 ระบุว่า “กรณีที่การคํานวณใหม่ตามมาตรานี้ทําให้จํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใดลดลง ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นในลําดับท้ายตามลําดับพ้นจากตําแหน่ง”

เท่ากับว่าปาร์ตี้ลิสต์คนสุดท้ายของแต่ละพรรคมีโอกาสจะถูกสั่งให้เก็บของพ้นจากตำแหน่ง ส.ส.ได้ทุกเมื่อ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งปี ที่กฎหมายเปิดช่องให้มีการคำนวณใหม่เมื่อผลเลือกตั้งมีความเปลี่ยนแปลง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า